kroothong
นาย วีระวัฒน์ ต๋อง แก้วบัวสา

สรุปรายงานเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๒


เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพนักงาน

นายวีระวัฒน์  แก้วบัวสา  เลขที่  26  รหัสนักศึกษา  532306013  นักศึกษา ป.โท บริหารการศึกษา ม.นอร์ทกรุงแทพ

หัวข้อ   การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ๒   เลขที่  ๒๒ – ๒๘

สรุปการศึกษาค้นคว้าอิสระ

เรื่อง    การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด  (The Development of Computer-assisted Instruction on Information Technology Security  Awareness for Staff of United Overseas Bank Company Limited)

ความสำคัญของปัญหา

ในการศึกษา ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งจำเป็นที่พนักงานธนาคารทุกคนต้องศึกษา เนื่องจากธนาคารมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รวมถึงระบบงานคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงานของธนาคาร ทั้งในส่วนการให้บริการลูกค้า ผ่านเครือข่ายinternet และการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานที่ธนาคารผ่าน intranet อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด ตามเกณฑ์80/80

2. เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด

3. หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. สามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ มาใช้กับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด

2. ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเรื่องอื่นๆ และรูปแบบอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

ขอบเขตของการวิจัย

     1. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมี  3 แผนก คือแผนกพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 57 คน แผนกบริการระบบข้อมูล จำนวน 42 คน แผนกความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 30 คน รวมทั้งสิ้น 129 คน

     2. กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) จากการจับสลากเพื่อเลือกมา 1 แผนก คือ แผนกความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 30 คน

     3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเนื้อหา (tutorial) เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบี จำกัด

สมมติฐานการวิจัย

คะแนนหลังเรียนของพนักงานที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย       ผู้วิจัยได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง              3. การดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย                  4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร    ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมี 3 แผนก คือแผนกพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 57 คน แผนกบริการระบบข้อมูล จำนวน 42 คน แผนกความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 30 คน รวมทั้งสิ้น 129 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย    ประกอบด้วย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเนื้อหา (tutorial) เรื่อง ความปลอดภัยด้าน

เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด

2. แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน แต่มีการสลับข้อ

3. แบบสอบถามประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัย

     1. จากการวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำไปทดลองกับผู้เรียนจำนวน 30 คน ได้ค่าเฉลี่ยผลการเรียนร้อยละ 86.67

     2. เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคาร50  ยูโอบีจำกัด โดยผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05 กล่าวไว้พอสรุปได้ว่า การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้เรียนจะมีการตอบสนองหรือไม่และมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับสื่อที่นำมาใช้สรุปได้ว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน เนื่องจากว่าผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำหรือทบทวนเนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อนที่จะทำการทดสอบหลังเรียน จึงทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น และเมื่อผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหลังเรียน จึงทำให้คะแนนมีความก้าวหน้าขึ้นกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน

     3. ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีประสิทธิผลของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพนักงาน ธนาคารยูโอบีจำกัด โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว พนักงานมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.00 แสดงว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมา มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ

1.ในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ก่อนเรียนผู้สอนควรมีการแนะนำให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์วิธีการใช้บทเรียน ขั้นตอนในการศึกษาบทเรียน เพราะผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 442277เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เชียร์ ให้กำลังใจให้ทำงานต่อไปนะคะ

โชคดี

Kroo Jim

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท