มหกรรม KM DM-HT ภาคอีสาน : วันที่สาม (๑)


นโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

วันที่สอง

วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔

การประชุมในวันสุดท้าย มีการจัดห้องประชุมใหญ่ใหม่เพื่อรองรับกิจกรรม “ใจอัศจรรย์” โดยจัดโต๊ะกลมพร้อมเก้าอี้เป็นชุดๆ เราจึงเริ่มกิจกรรมด้วยการทักทายผู้เข้าประชุมว่าเชิญมางานเลี้ยงแต่งงาน 

คุณเอนกให้เตรียมโต๊ะไว้ถึง ๒๗ ชุด แต่เรากลัวผู้เข้าประชุมจะมาน้อยจึงให้ทีมของโรงแรมเอาโต๊ะออกไปบ้าง ปรากฏว่าผิดคาด เพราะผู้เข้าประชุมยังมากันพร้อมหน้าพร้อมตา ต้องยกโต๊ะเข้ามาเพิ่มใหม่

 

ในห้องประชุม เตรียมฟังการบรรยาย

เมื่อได้เวลา ๐๘.๓๐ น. กว่าเล็กน้อย คุณหมอปอ พญ. ขจีรัตน์ ปรักเอโก รอง ผอ.สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น มาบรรยายเรื่องนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ด้วยท่าทีสบายๆ เว้าภาษาถิ่นเป็นช่วงๆ สำหรับสไลด์ประกอบการบรรยายในหัวข้อนี้ คุณน้องนุช บ่อคำ ทีมงานของ สปสช.บอกว่าจะนำขึ้นเว็บไซด์ของกองทุนบริหารจัดการโรคเรื้อรัง สปสช.ให้ Download กันได้

 

ซ้าย-พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก

น้องมด ภญ.ปราณี ลัคนาจันทโชติ ช่วยบันทึกเนื้อหาการบรรยายไว้ได้บ้าง ...แนวคิดและการบริหารจัดการ สปสช  งานประกันในการดำเนินการระยะยาว เสนอเข้าบอร์ด ได้รับการอนุมัติได้เงินเพิ่ม จะเน้นคุณภาพงานรักษา ให้เห็นภาพใหญ่ทั้งหมด primary prevention, verbal screening ,early detection, chronic care clinic, secondary prevention, tertiary prevention,  rehabilitation... ในการทำงานแม้ รพสต. รพช. ไม่ได้สั่งการรักษาเอง แต่ต้องรู้ว่าต้องส่งอย่างไร

ทฤษฎีที่ใช้จัดการมีมากมาย เช่น Chronic Care Model ต้องดำเนินการอย่างไร สหสาขาวิชาชีพต้องมองผู้ป่วยเป็นคนเดียวกัน เน้นการจัดการโปรแกรม เป็นชุดข้อมูลพื้นฐานเหมือนกัน (dataset) ...งบประมาณ ส่วนหนึ่งกันไว้ ๑๐% เพื่อความแข็งแรงของระบบ ลงพื้นที่ ๙๐ [๘๐ (register) ๒๐ ให้ตามคุณภาพการบริการ มี CRCN สุ่ม เวชระบียน แล้วจัดสรรงบประมาณให้จังหวัด] 

มีงบที่ส่วนกลางกันไว้สำหรับจัดหลักสูตรพยาบาล 4 เดือน พัฒนาคนที่เป็นผู้บริหารจัดการระบบ มีโควต้า การส่งไปเรียน การทบทวน CPG การประยุกต์ CCM ไปใช้ การสร้างความเข้มแข็งให้ อสม. ไปเจาะเลือดรอ ท้องถิ่น อบต. อสม. ชี้ได้ว่าคนไหนมีภาวะสุขภาพ ชุมชนรู้สภาพพื้นที่ สามารถประสานกับเราให้ไปพัฒนาเขา สนับสนุนความร่วมมือในการดำเนินงานของ อปท.

คุณหมอปอเว้าอีสานให้ฟังว่ามีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้อย่างไร...บ่ ได้ กินหยังเลย กินแต่หม่องบักม่วง”(?? มะม่วงใส้ข้าวเหนียว??) “บ่ได้กินเค็ม กินแต่ปลาแดก” “ลูกมายามเอาบักทุเรียนมาฝาก กินไปคึงหน่วย ขึ้นแน่ๆ บ่ต้องเจาะเลือดก็ฮู่” ถ้าผู้ป่วยกล้าบอกว่า อดมา หรือ ควบคุมมา แสดงว่าท่านทำงานได้ดี ถ้าแบบนี้ “เป็นหยังบ่ น้ำตาลขึ้น ไปเอ็ดหยังมา” ผู้ป่วยจะก้มหน้าตอบ “บ่อได้กินหยังเล้ยย.. แม่ก็อด”

ตอนนี้ฐานข้อมูล DM HTใกล้จะเสร็จแล้ว  ต้องเอาจากพื้นที่เอาไป pool รวมกัน ต่อไปจะเป็น electronic มากขึ้น ดูจากพื้นที่ได้เลย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 442226เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันจนวินาทีสุดท้าย ." อย่างอบอุ่น" เลยค่ะ ทีมผู้จัด ดีใจค่ะที่ผู้เข้ารับการอบรม "บริโภคสิ่งที่ทีมงานจัดให้จนหมดจาน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท