หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด ส่งการบ้านให้ครู


เราควรทำงานความคิดและกระบวนการกับหน่วยงานเหล่านี้ โดยมีพื้นที่เรียนรู้ทั้งระบบอยู่จำนวนหนึ่ง อาจเป็นพื้นที่ตำบลจำนวนหนึ่ง และรูปแบบอื่นๆอีก ไม่ควรขยายไปทำเองทั้งจังหวัด

ดีใจที่ได้เจอพี่หมอชาตรีและอ.ฉัตรนภาที่ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ ได้ถ่ายรูปร่วมกับพี่หมอชาตรี ถือโอกาสเปลี่ยนรูปใหม่ล่าสุด(ผมยิ้มสยาม เสียดายที่ตาปิด)

ขอชื่นชมการทำงานของม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ที่สามารถแปลงโครงการขับเคลื่อนสุขภาวะตำบลเชื่อมโยงกับปณิธานมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น ทำได้ดีมากครับ การนำเสนอจิตวิญญาณ/วิสัยทัศน์ของคณะทำงานในวันแรกและรูปธรรมของการบริหารจัดการเชิงระบบในวันที่2เพื่อให้ฝันเป็นจริงทำให้เห็นภาพครบถ้วน ทีมงานบริหารเวลาได้เยี่ยมมาก มีทั้งสาระบันเทิงพอดีในเวลาจำกัด

ผมได้เสนอความเห็นในเวทีเรียนรู้กลุ่มย่อย2-3ประเด็นเพื่อต่อยอดงานที่ทำได้ดีมากให้ขยายผลกว้างขวางขึ้นอีก คือ 1.ระบบสนับสนุนของสกอ.ในส่วนของวิชาการรับใช้สังคม 2.การทำงานกับหน่วยพัฒนาที่รับผิดชอบหลักและหลากหลายครอบคลุม"จังหวัด" และ3.การขับเคลื่อนนโยบายเชิงโครงสร้าง

ข้อ1เป็นแรงเสริมจากภายนอก ท่านรองวิจัยได้เสนอที่ประชุมใหญ่ซึ่งรองเลขาฯสกอ.บอกว่าต้องทำจากต้นทาง(ทราบว่าสถาบันคลังสมองกำลังดำเนินการอยู่)

ข้อ2และ3เป็นเนื้องานที่ยังไม่ครอบคลุมและยังขาดการทำงานกับตัวคูณ

ไม่ครอบคลุมคือคำว่า "ชุมชนสังคม" ในเนื้องานที่นำเสนอมุ่งผลที่กิจกรรมในชุมชนและ    ท้องถิ่นเป็นหลัก ผมเห็นว่า "ชุมชนสังคม" คือภาคส่วนต่างๆ ผมวางระบบฐานข้อมูลงานบริการวิชาการออกเป็น 7 กลุ่มเป้าหมาย คือ ภาครัฐ อปท. สถาบันการศึกษา องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรชุมชน องค์กรธุรกิจเอกชน และประชาชนทั่วไป ระบบนี้อาจจะหารือกันเพื่อพัฒนาความชัดเจนร่วมกันในวิชาการสายรับใช้สังคมต่อไป

สำหรับการทำงานกับตัวคูณ ผมเห็นว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยคือผลิตบัณฑิตที่ดีและเก่งสร้างความรู้ต่อยอดหรือประยุกต์วิชาการสู่เทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอด สำหรับงานบริการวิชาการเป็นเพียงบทเรียนเพื่อการผลิตบัณฑิตและสร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ตอบสนองความต้องการของสังคมและโลก มิใช่งานหลัก งานหลักสำหรับเรื่องเหล่านี้อยู่ในหน่วยงานสนับสนุนต่างๆของจังหวัด เราควรทำงานความคิดและกระบวนการกับหน่วยงานเหล่านี้ โดยมีพื้นที่เรียนรู้ทั้งระบบอยู่จำนวนหนึ่ง อาจเป็นพื้นที่ตำบลจำนวนหนึ่ง และรูปแบบอื่นๆอีก ไม่ควรขยายไปทำเองทั้งจังหวัด เช่นวิทยาลัยวัววิทยา เป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ สาธารณสุข ส่งเสริมเกษตร กศน. อบต.นำไปขยายผลในที่อื่นๆ คนเหล่านี้ต่อไปจะมาจากนักศึกษาที่เราผลิตออกมานั่นเอง เขาเหล่านี้จะเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาและร่วมเรียนรู้ไปกับมหาวิทยาลัยด้วย

อ.ฉัตรนภาให้การบ้านผมช่วยแสดงความคิดเห็น ขอส่งความเห็นนี้ถึงอาจารย์ด้วยความเคารพรักครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #1x1y
หมายเลขบันทึก: 441637เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเป็นกำลังแก่กันและกันครับผม

หายไปนานเหมือนกับนะครับอาจารย์  วงการการจัดการความรู้บ้านเราดูเงียบ ๆ ไป  ...อาจารย๋สร้างสถาบันการจัดการความรู้เพื่อชุมชน ผมไปร่วมกับ สถาบันการเรียนรู้เพื่อการจัดการตนเอง หนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ยังไม่รู้้ครับ การจัดการความรู้ในบ้านเรา ดูเหมือนไม่ไปหน้ามาหลัง เพราะติดกับดักการจัดการความรู้หรือเปล่าครับ เหมือนที่ท่านพุทธทาสว่า พระพุทธเจ้าคืออุปสรรคของการเข้าถึงพุทธธรรม หรือเปล่าครับ?......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท