BEST PRACTICE


แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

BEST PRACTICE

ชื่อ BP            ภาษาไทยกับการแบ่งปัน(แหล่งเรียนรู้จากภายในสู่โลกกว้างทางเว็บไซต์)

ชื่อเจ้าของชิ้นงาน  นายสมเกียรติ  คำแหง  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

ช่วงชั้นที่     โรงเรียนสตรีทุ่งสง

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑๒  

 

๑.       ความเป็นมา 

การแบ่งปันแหล่งเรียนรู้ทางภาษาไทยของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ทางอินเตอร์เน็ต นั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน  เว็บไซต์

http://www.gotoknow.org/blog/som-kiat http://www.gotoknow.org/blog/som-kiat/441191

เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้านต่างๆการสอน.เป็นการพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้านเนื้อหา  รูปแบบ    ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและกว้างขวางขึ้นไปตามลำดับตามของความต้องการของผู้สนใจ จากประสบการณ์ของผู้จัดทำ อย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดนิ่ง    โดยมีมูลเหตุแรงจูงต่าง ๆ ดังนี้

               ๑.๑  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษาผู้เรียนสำคัญที่สุด 

 มาตรา ๒๔ ...ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   ...ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย    

 มาตรา ๒๕ : บทบาทของรัฐในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ โดยการส่งเสริมดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พระราชบัญญัติได้กำหนดไว้เช่นนั้น   แต่ในขณะนั้น  ทั้งครูและนักเรียนไม่มีแหล่งเรียนรู้ที่จะมานำจัดกระบวน การเรียนรู้ได้เลย   อินเตอร์เน็ตในช่วงนั้นยังเป็นการใช้เพื่อความบันเทิง  เพื่อสนทนาพูดคุยมากกว่าจะที่เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเนื้อหาด้านการเรียน

 

๑.๒ ความพร้อมด้านโครงสร้างด้านพื้นฐาน และการให้โอกาสของผู้บริหาร   ในปีการศึกษา ๒๕๕๔    มีนโยบายในการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการบริหารจัดการและการเรียนการสอน  จึงได้จัดพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขึ้น

  ด้านการเรียนการสอนในเบื้องต้นเป็นการนำไปใช้เพื่อสอนวิชาคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่คุ้มค่าและไม่ทั่วถึง  เพื่อให้เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดย นายสมเกียรติ  คำแหงจึงได้จัดทำ

เว็บไซต์ภาษาไทย เพื่อนักเรียนเข้าสืบค้น  เนื้อหาความรู้จากใบความรู้ ใบงาน   แบบฝึกหัด   แบบทดสอบเพิ่มขึ้นใช้ชื่อว่า”การศึกษา” http://www.gotoknow.org/blog/som-kiat

๑.๓ ความต้องการของกลุ่มผู้สนใจ อันได้แก่  นักเรียน  เพื่อนครู  ผู้ปกครอง  ผู้สนใจภาษาไทยทั้งในและนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย  ได้ติดต่อผ่าน e mail  และสมุดเยี่ยม มาเพื่อขอความรู้  คำแนะนำ  คำปรึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาไทยตั้งแต่ช่วงชั้นที่ ๒ – ระดับอุดมศึกษา

เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผู้สนใจ จึงได้เปิBlogที่ gotoKnow  ชื่อ การศึกษาภาษาไทยนำเสนอข้อค้นพบจากห้องสอน การออกแบบการสอนที่http://www.gotoknow.org/blog/som-kiat และ

บริการตอบคำถามที่ http://www.gotoknow.org/blog/users/som-kiat/view

๒.       ผลงานความสำเร็จ

ด้านปริมาณ

๑)                      มีเว็บแสดงจำนวนเรื่องเนื้อหาภาษาไทย และมีผู้เข้าศึกษาดังนี้

สารบัญหน้า 1 : 26 บันทึก

ชื่อบันทึก

อ่าน/คน

ความเห็น/คน

หลักสูรภาษาไทย ม.๔

49

0

เสียงวรรณยุกต์

72

0

เสียงพยัญชนะ

56

0

เสียงสระ

70

0

ธรรมชาติของภาษาไทย

168

1

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี

294

1

การฟังและการดูเพื่อพินิจสาร

96

0

ร้อยคำถิ่นใต้

75

0

ทำนองกาพย์กลอนถิ่นใต้

108

0

สำนวนภาษาถิ่นใต้

206

0

ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๓ วิชาภาษาไทย ๑ (ต่อ)

231

2

ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๓ วิชาภาษาไทย ๑ ตอนที่ ๑

389

4

อินทรวิเชียรฉันท์ ครูดำ

440

3

ข้อสอบกลางภาค ท ๓๑๑๐๑

165

0

โคลงสี่สุภาพ

143

0

การเขียนคำประพันธ์ประเภทกาพท์

332

0

หลักสูตร ภาษาไทย ชั้น ม๔

145

0

สอบแก้ตัว ภาษาไทย ๒ ท. ๓๑๑๐๒

220

0

สอบปลายภาคนอกตาราง วิชาวรรณกรรมก้องถิ่น ม๕

374

2

สอบปลายภาคภาษาไทย ๒

176

0

การเขียนทัศนเชิญชวน

3678

3

การเขียนคำประพัน

2030

7

กลอน

1439

1

ข้อสอบวรรณกรรมท้องถิ่น

1451

0

คำราชาศัพท์

4504

5

ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทยชั้นม.๔ โรงเรียนสตริทุ่งสง

412

9

 

       ด้านคุณภาพ

๑)      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนสตรีทุ่งสงมีแหล่งเรียนรู้ทางเว็บไซต์ที่สามารถบริการแก่นักเรียน ครู ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์และทั่วถึง

๒)    เว็บไซต์ http://www.gotoknow.org/blog/som-kiat ที่จัดทำสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการเชิงประจักษ์ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ

      ๓. วิธีการ / ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

       ๓.๑   จุดเริ่มต้นเป็นการทำงานที่สนองตามพระราชบัญญัติ “เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่จำกัดด้วเวลาและสถานที่”

       ๓.๒ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  บนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้วยแนวคิด "ถ้าครูคิดผลิตสื่อ ๑ ชิ้น  แล้วไม่เผยแพร่  สื่อชิ้นนั้นสอนเด็กได้เพียงปีละ ๑๐๐ คน  แต่หากครู นำสื่อชิ้นนั้นมาเผยแพร่สามารถสอนเด็กได้ทั่วประเทศ  ทั้งได้ช่วยเหลือครูภาษาไทยรุ่นใหม่ ๆ อีกด้วย"

      ๓.๓ สนองความต้องการของผู้ใช้บริการ   เมื่อไม่มีเนื้อหาคำอธิบาย  ก็ทำให้มี   เมื่อไม่มีแบบฝึกหัดเว็บเพจที่นำเสนอแต่เนื้อหาขาดความน่าสนใจ      ทบทวนความรู้ไม่ได้   ไม่มีแบบทดสอบ      ครูมือใหม่ไม่มีแนวทางในการสอน  ทำแผนการสอนไม่เป็น      เด็กทำการบ้านไม่ได้  หาแหล่งเรียนรู้ที่ครูสั่งไม่ได้   ให้แนวทาง   ผู้ปกครองอยากจะช่วยอธิบายลูกแต่ไม่เข้าใจวิธีการ    องค์กรทางการศึกษา ต้องการสร้าง

เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นสื่อกลางของครู นักเรียนและบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเว็บ

ระดับประเทศ    ก็จัดทำให้มีขึ้นเพื่อสนองความต้องการของใช้บริการ

       ผลงานทั้งหมดที่เกิดขึ้น  เติบโตและขยายอย่างต่อเนื่องล้วนแต่เกิดจากความเป็น “ผู้ให้”   โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนในรูปแบบใดๆ 

   เงื่อนไขความสำเร็จ

        ๔.๑ ด้วยใจที่มุ่งมั่นปรารถนาให้มีเว็บภาษาไทยที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ของคนไทย

        ๔.๒ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานมีทรัพยากรด้านเทคโนโลยี  และบุคลากรที่มีความชำนาญเสียสละคอยช่วยเหลือแก้ปัญหาในการจัดการข้อมูล

              ๔.๓ การเปิดกว้างและให้โอกาสของผู้บริหารที่อนุญาตให้ครูได้ทำในสิ่งที่รัก  ตรงกับความถนัดตลอดจนการให้ขวัญและกำลังใจ

              ๔.๔ ความต้องการของผู้ใช้บริการที่เข้ามาใช้บริการไม่สิ้นสุด มีมารยาทและรู้จักการให้กำลังใจผู้จัดทำ

              ๔.๔ นโยบายขององค์กรระดับประเทศคือสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ของ สพฐ.ที่ต้องการ

จัดทำเว็บภาษาไทยที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู   ช่วยเหลือนักเรียน ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองและผู้สนใจในภาษาไทย

๕.     ข้อจำกัดในการนำไปใช้

        ๕.๑ ความสะดวกรวดเร็วของการเข้าถึงข้อมูล

๕.๒ ความเหมาะสมของการออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้

๕.๓ ความพร้อมของการบริการอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน

๕.๔ ทักษะการสืบค้นการใช้งานอินเตอร์เน็ตของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจ

๖.       บทเรียนที่ได้รับ / ความภาคภูมิใจ

๖.๑ นักเรียน นักศึกษา เพื่อนครู ผู้ปกครอง และผู้สนใจภาษาไทยมีแหล่งเรียนรู้ให้สืบค้น

 ๖.๒ เว็บไซต์ และบล็อกที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยในความรับผิดชอบ พัฒนา เติบโต  ขยาย  ทั้ง

ด้านปริมาณและคุณภาพ

๖.๓ ความพึงพอใจ  กำลังใจ  คำชมเชย  คำอวยพรจากผู้ใช้บริการที่เขียนส่งมาวันละหลาย ๆ คน

๖.๔ การยอมรับความเชื่อถือจากเพื่อนครูทั่วประเทศ และการยอมรับจากองค์กรระดับประเทศที่

ผู้แบ่งปันแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยของโรงเรียนสตรีทุ่งสงซึ่งมีความสุขในการแบ่งปันอย่างต่อเนื่องและยาวนาน     มีความความคาดหวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายของการขยายพันธุ์แห่งการแบ่งปันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

BEST PRACTICE

 

 

 

 

ชื่อ BP            ภาษาไทยกับการแบ่งปัน

(แหล่งเรียนรู้จากภายในสู่โลกกว้างทางเว็บไซต์)

 

 

 

ชื่อเจ้าของชิ้นงาน  นายสมเกียรติ  คำแหง 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 

 

ช่วงชั้นที่   

 

 

 

โรงเรียนสตรีทุ่งสง

 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑๒

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 441191เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นแบบให้ครูได้ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนรู้อึกวิธหนึ่ง ที่ดีมากค่ะ

เป็นแบบให้ครูได้ส่งเสริมนักเรียนให้เรียนรู้อึกวิธหนึ่ง ที่ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท