พระสมเด็จ ว่าด้วยเรื่อง บันทึกของ “หลวงปู่ดำ” ตอนที่ ๒


พระสมเด็จพิมพ์ที่นิยมมีมากถึง ๘๑ พิมพ์ ที่ไม่นิยมก็ยังมีอีก ๘๓ พิมพ์ ขนาดพระที่ แตก ๆ หักๆ ยังเก็บไว้ให้เห็นอีก ๘ ถาดทองเหลืองใหญ่ๆ คุณว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย สมเด็จโต จะมีกี่องค์กัน..

ในตอนนี้เรามาว่ากันด้วยเนื้อใหญ่ใจความใน “บันทึกของหลวงปู่ดำ” กันตามสัญญา ครับ เนื่องจากบันทึกมีการคัดลอกมาหลายทอดตามที่ “เก๋าสยาม” แจงที่มาที่ไปกันในตอนที่แล้ว ข้อความในบันทึกฉบับสุดท้ายก็ค่อนข้างกระท่อนกระแท่น แต่ก็พอจับใจความได้ดังนี้ครับ

 “..พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒..

 และ ข้อความที่ว่า..

 “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก

พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่

พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโรป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอร์ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอร์ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอร์ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอร์ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอร์องค์พระนั่งบนบัว.

 บันทึกของหลวงปู่ดำ เป็นบันทึกที่มีคุณค่าจริงๆ ครับ ทำให้เรารู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพระสมเด็จ เช่น แบบพิมพ์ที่มีอยู่หลากหลาย แถมยังมีพิมพ์คะแนนอีกด้วย ทำให้จินตนาการต่อไปว่า ที่ว่า “พิมพ์คะแนน” มันเล็กกว่า หรือ ใหญ่กว่าพิมพ์ปกติ  นี่ก็เรื่องหนึ่ง ส่วนที่ยังถกเถียงกันอยู่เรื่องพิมพ์ไกเซอร์ ก็มีปรากฏในบันทึกนี้ด้วย “เป็นรูปพระนั่งอยู่บนบัว” ไม่ใช่พิมพ์เศียรบาตร ตามที่เข้าใจกัน

  และ..ที่สำคัญ ข้อความที่ว่า..

  “เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ”  

 พระสมเด็จพิมพ์ที่นิยมมีมากถึง ๘๑ พิมพ์ ที่ไม่นิยมก็ยังมีอีก ๘๓ พิมพ์ ขนาดพระที่ แตก ๆ หักๆ ยังเก็บไว้ให้เห็นอีก ๘ ถาดทองเหลืองใหญ่ๆ คุณว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย สมเด็จโต จะมีกี่องค์กัน..

 ร้อยองค์..

 พันองค์..

 หมื่นองค์..

 แสนองค์...

 หรือ..จะมีแค่สองร้อยองค์อย่างที่บางคนเขาว่ากัน..?

 สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 441020เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พิจารณาแล้ว..มีข้อสงสัยว่าตามบันทึกของหลวงปู่คำท่านจะรู้จักพิมพ์ไกเซอร์ล่วงหน้าได้อย่างไรในเมื่อ ร.5 ทรงโปรดให้เรียกพิมพ์ไกเซอร์นี้ภายหลังที่ทรงเสด็จกลับจากประพาสยุโรป(เยอรมันนี)ราวปี พ.ศ.2444 แต่ที่หลวงปู่คำบันทึกไว้คือปี2415-2421ชึ่งก่อนหน้าเกือบ23ปี..สรุป..สมเด็จไกเซอร์มีจริงแน่แต่จะไม่ใช่พิมพ์ที่มีฐานรองรับเป็นดอกบัว5กลีบตามที่หลวงปู่คำบันทึกไว้แน่นอนหากแต่จะต้องเป็นพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรมีพระเกศพิมพ์เขื่องเท่ากลักไม้ขีดขนาดประมาณ3.75×5.50ซม.เนื้อโปร่งเหลืองโหรดาลมวลสารจัดจ้านและมีคราบรักสีดำหลังพระลัญจกรตามแบบฉบับสกุลช่างหลวงวัดระฆังที่สมเด็จโตฯท่านมีดำริให้นำพิมพ์เก่าเมื่อปี2390มาปรับแก้ไขแล้วกดพิมพ์ใหม่ในปี2413(ที่ไม่ใช่พิมพ์แบบของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีขนาดปกติและเล็กกว่าพิมพ์เขื่อง)..นั่นเอง

พิจารณาแล้ว..มีข้อสงสัยว่าตามบันทึกของหลวงปู่คำท่านจะรู้จักพิมพ์ไกเซอร์ล่วงหน้าได้อย่างไรในเมื่อ ร.5 ทรงโปรดให้เรียกพิมพ์ไกเซอร์นี้ภายหลังที่ทรงเสด็จกลับจากประพาสยุโรป(เยอรมันนี)ราวปี พ.ศ.2444 แต่ที่หลวงปู่คำบันทึกไว้คือปี2415-2421ชึ่งก่อนหน้าเกือบ23ปี..สรุป..สมเด็จไกเซอร์มีจริงแน่แต่จะไม่ใช่พิมพ์ที่มีฐานรองรับเป็นดอกบัว5กลีบตามที่หลวงปู่คำบันทึกไว้แน่นอนหากแต่จะต้องเป็นพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรมีพระเกศพิมพ์เขื่องเท่ากลักไม้ขีดขนาดประมาณ3.75×5.50ซม.เนื้อโปร่งเหลืองโหรดาลมวลสารจัดจ้านและมีคราบรักสีดำหลังพระลัญจกรตามแบบฉบับสกุลช่างหลวงวัดระฆังที่สมเด็จโตฯท่านมีดำริให้นำพิมพ์เก่าเมื่อปี2390มาปรับแก้ไขแล้วกดพิมพ์ใหม่ในปี2413(ที่ไม่ใช่พิมพ์แบบของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีขนาดปกติและเล็กกว่าพิมพ์เขื่อง)..นั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท