ใบความรู้ที่ 6 เรื่องการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน (ตอนที่ 3)


วิชาการใช้ห้องสมุด

 

                            9.2.2.4  ตาราง  (Table) คือการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบของตาราง อาจเป็นตัวเลขซึ่งสามารถบอกความหมายต่าง ๆ ได้  เช่น อ่านค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย               หรืออาจเป็นการรวบรวมสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปที่ย่อ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ง่าย          และเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เส้นบนสุดของตารางนิยมใช้เส้นคู่หรือเส้นหนา พิมพ์หมายเลขกำกับ          และมีชื่อตารางไว้บนตาราง ส่วนการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของตารางให้ระบุไว้ด้านล่างของตาราง

                               9.2.2.5  บทสรุป เป็นการสรุปเรื่องราวเนื้อหาทั้งหมด โดยการกล่าวถึงจุดเน้นสำคัญของเรื่องโดยการเขียนย้ำเฉพาะประเด็นสำคัญของเรื่อง เขียนให้สั้นกะทัดรัด  ได้ความชัดเจน              ตรงตามเนื้อเรื่อง อาจกล่าวรวม ๆ  หรือกล่าวเป็นข้อ ๆ ก็ได้

                  ต่อจากบทสรุปท้ายสุดอาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาค้นคว้าในโอกาส              ต่อ ๆ ไปไว้ได้อีกด้วย

           9.3  ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ดังนี้

                   9.3.1  หน้าบอกตอน เป็นหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกให้ทราบว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร เช่น  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  เป็นต้น

                   9.3.2  บรรณานุกรม คือส่วนที่รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภททั้งหมด             ที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงประกอบการทำรายงาน นำมาจัดเรียงไว้ตามลำดับอักษรและบันทึก                รายการต่าง ๆ ตามแบบแผนการเขียนบรรณานุกรม 

                    9.3.3  ภาคผนวก คือส่วนที่มิใช่เนื้อหาที่แท้จริง แต่มีความเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาจึงเพิ่มเติมไว้เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น  ตารางที่มีรายละเอียดมาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  (แบบสอบถาม  ตัวเลข สถิติ)  สำเนาเอกสารหายาก  ภาพ  แผนที่ขนาดใหญ่ รายละเอียด ข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ยาวจนไม่สามารถบรรจุไว้ในเนื้อหาจึงได้จัดเรียงไว้ต่อจากบรรณานุกรม หน้าแรก      ของภาคผนวกให้เขียนว่า ภาคผนวก  อยู่ตรงกลางหน้ากระดาษ หน้าถัดไปเป็นเนื้อหาของภาคผนวก            ถ้ามีมากกว่าหนึ่งภาคผนวก  หน้าแรกของภาคผนวกให้เขียนคำว่า ภาคผนวก  ตรงกลางหน้ากระดาษเช่นเดียวกัน หน้าถัดไปเขียนคำว่า  ภาคผนวก  ก กลางหน้ากระดาษ  หน้าถัดไปเป็นเนื้อหาของภาคผนวก ก และให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยใช้หัวข้อตามลำดับอักษร เช่นภาคผนวก ข  ภาคผนวก ค  ตามลำดับ รายงานไม่จำเป็นต้องมีภาคผนวกเสมอไป

                   9.3.4  อภิธานศัพท์ คือบัญชีคำศัพท์ยาก  ศัพท์เฉพาะที่กล่าวไว้ในเนื้อเรื่อง เรียงตามลำดับอักษร  ก-ฮ  A-Z หากมีคำศัพท์น้อยอาจใช้วิธีอธิบายไว้ในรูปของเชิงอรรถอธิบายความตอนล่างสุดของหน้ากระดาษก็ได้

                   9.3.5  ดรรชนี คือบัญชีคำ  หรือหัวข้อย่อย ๆ  จากเนื้อเรื่อง จัดเรียงตามลำดับอักษร     พร้อมระบุเลขหน้าที่ที่คำคำนั้นปรากฏในเนื้อหาเอาไว้ด้วย ดรรชนีจึงช่วยให้ผู้อ่านค้นคำ                  หรือหัวข้อย่อยที่ต้องการได้โดยสะดวกรวดเร็ว

                   9.3.6 ประวัติผู้เขียน  คือประวัติ  และผลงาน หรือประสบการณ์ของผู้เขียน                          ให้ระบุตามลำดับ  ดังนี้

                               ชื่อ  นามสกุล  (ใส่คำนำหน้านามว่า  นาย นางสาว  นาง  ยศ)

                               วัน  เดือน  ปีเกิด

                               สถานที่เกิด  (ให้บอกชื่ออำเภอ  และจังหวัดที่เกิด)

                               สถานที่อยู่ปัจจุบัน

                               ผลงาน

                   9.3.7  ใบรองปก เป็นกระดาษสีขาวว่างเปล่าใส่ไว้ก่อนถึงปกหลัง

                   9.3.8  ปกหลัง ใช้กระดาษลักษณะเดียวกับปกหน้า  แต่ไม่มีข้อความใด ๆ

                   บรรณานุกรม 

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  คณะอักษรศาสตร์. ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์.  การค้นคว้าและ

               เขียนรายงาน.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

ธาดาศักดิ์  วชิรปรีชาพงษ์. บรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น,ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ :

               มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  บางเขน, 2518.

น้ำทิพย์  วิภาวิน. การใช้ห้องสมุดยุคใหม่.  กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2524.

นิพนธ์  อินสิน  และสมาน  ลอยฟ้า. การค้นคว้าและการเขียนรายงาน.  สกลนคร :สกลนครการพิมพ์,

               2521.

ประทีป  จรัสรุ่งรวีวร. ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ :บริษัทต้นอ้อ  1999 จำกัด, 2542.

พวา  พันธุ์เมฆา. สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่  4.  กรุงเทพฯ : ภาควิชา

บรรณารักษศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2541.

พูลสุข  เอกไทยเจริญ. การเขียนรายงานการค้นคว้า.  กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น, 2551.

รัญจวน  อินทรกำแหง.  การใช้ห้องสมุด (หส.011).  กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2520.

ราชบัณฑิตยสถาน.  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.  กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน,

               2546.

วันเพ็ญ  สาลีผลิน. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2549.

สมมารถ  มีศรี  สุทธาริณี  วาคาบาซิ และนฤมล  เทพชู. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :

               โรงพิมพ์ ก. วิวรรธน์, 2547.

สุกัญญา  กุลนิติ. ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2549.

สุนี  เลิศแสวงกิจ  และพิศิษฐ์  กาญจนพิมาย. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :

               โสภณการพิมพ์, 2546.

สุปรียา  ไชยสมคุณ. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :ประสานมิตร, 2546.

อำไพวรรณ  ทัพเป็นไทย. การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด.  กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์, 2549.

 

หมายเลขบันทึก: 440953เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้วจะมาเติมใบความรู้ให้นักเรียน

ให้ครบ 8 เรื่องนะคะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท