การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลต่อกฎหมายไทย อย่างไร ??


มาเป็นการทำคำสั่งการโอนเงินให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วทำการส่งข้อมูลคำสั่งโอนเงินดังกล่าวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเรียกวิธีการโอนเงินในรูปแบบนี้ว่า "การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfers)"

                ในปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการค้าและบริการอย่างกว้างขวาง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณการค้ากับต่างประเทศสูงขึ้น จนทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านการค้าใหม่ๆ ตลอดจนเกิดความ เปลี่ยนแปลงในรูปแบบธุรกรรมที่มีอยู่เดิม โดยจะพบว่ากฎหมายพาณิชย์ของไทยยังไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ จนทำสิทธิหน้าที่ของคู้สัญญาไม่มีความชัดเจนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทย                 ปัจจุบันการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนามากขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้               

                (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
    
           (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
    
           (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
    
           (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
    
           (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้                

                   ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นอกจากประเด็นในเรื่องข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังมีประเด็นที่สำคัญคือ การชำระเงิน โดยในปัจจุบันมีพัฒนาการของสภาพสังคมและเศรษฐกิจประกอบกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระเงินจากการทำคำสั่งโอนเงินในรูปของกระดาษ (ในเรื่องของตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็คนั้นเป็นคำสั่งโอนเงินที่อยู่ในรูปของตราสาร) มาเป็นการทำคำสั่งการโอนเงินให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วทำการส่งข้อมูลคำสั่งโอนเงินดังกล่าวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเรียกวิธีการโอนเงินในรูปแบบนี้ว่า "การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfers)"             

                  การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic funds transfers) หมายถึง การโอนเงินจากบัญชีเงินฝากหนึ่งเข้าบัญชีเงินฝากอื่น โดยอาจเป็นบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารก็ได้ และคำสั่งเพื่อการโอนเงินดังกล่าวต้องสามารถสื่อสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้  การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
                - ผู้โอน (Transferor)
                - ผู้รับโอน (Transferee)
                - ธนาคารของผู้โอน (Transferor bank)
                - ธนาคารของผู้รับโอน (Transferee bank)
                - บางกรณีอาจมีธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินและธนาคารของผู้รับโอนเงินซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งธนาคารในกรณีที่ทั้งสองธนาคารดังกล่าวไม่มีบัญชีเงินฝากระหว่างกัน (Intermediary Bank(s))
                - คำสั่งโอนเงิน (Payment Order)
                - ระบบการโอนเงิน (Funds-transfer System) ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบรับส่งข้อมูลคำสั่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารของผู้โอนเงินกับธนาคารของผู้รับโอนเงิน ตัวอย่างเช่น ในระดับระหว่างประเทศ เช่น Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications (S.W.I.F.T.) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Automated Clearing House, Fed wire, Clearing House Interbank Payment System และสำหรับในประเทศไทย ได้แก่ Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network (BAHTNET)         

                     ในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเห็นความสำคัญในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จึงมีความพยายามร่างกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อที่มีบทบัญญัติมารองรับการทำธุรกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้น สืบเนื่องจากในธนาคารต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำธุรกรรมป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการให้บริการทางอิเล็คทรอนิกส์   ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล  ซึ่งในอดีตนั้นธนาคารจะมีภาระการเก็บข้อมูลและหลักฐานที่เป็นกระดาษจากการทำธุรกรรมเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง โดยต้องเก็บรักษานานถึง 10 ปี   ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำธุรกรรมจึงตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ต้องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของธนาคารได้อย่างตรงจุด                      

                      รวมถึงปัจจุบันมีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตซึ่งก่อให้เกิดเงินตราแบบใหม่ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมารองรับการดำเนินการต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอินเทอร์เน็ตช่วยให้การทำธุรกรรมข้ามประเทศได้ง่ายมาก ทำให้การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงสามารถเกิดได้กับทุกระดับชั้น จึงยากต่อการดูแล หากไม่มีกฎหมายระดับชาติคอยควบคุม         

                        ในปัจจุบันประเทศไทยมีการผลักดันจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำเนินการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิคส์   ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณายกร่างกฎหมายแล้วเสร็จภายในปี 2545 และสามารถนำเสนอให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาต่อไปประมาณไตรมาสที่ 1 ปี 2546  แต่ร่างดังกล่าวถูกระงับไว้เนื่องจากมีส่วนคล้ายคลึงกับร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่างพ.ร.ฏ. นี้เกิดจาก พ.ร.บ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 หมวด 3 มาตรา 32 ที่สนับสนุนให้ ผู้ประกอบการให้บริการธุรกิจธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการรักษาความมั่นคง ทางการเงินและธุรกิจ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น          

                     อีกทั้งมีการผลักดันกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น 6   ฉบับแต่มีเพียงสองฉบับเท่านั้นที่ออกเป็นพระราชบัญญัติ   แต่กฎหมายการโอนเงินทางเทคโนโลยีนั้นมีความสำคัญมากเพราะมีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ ดังนั้นจึงควรที่จะผลักดันให้กฎหมายตัวนี้ออกมาเพื่อรองรับการทำธุรกรรมต่างๆโดยเฉพาะการทำธุรกรรมระหว่างระเทศ เนื่องจากหากว่าเราทำการค้ากับประเทศที่มีกฎหมายเรื่องการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์รองรับในขณะเดียวกันประเทศของเรายังไม่มี อาจส่งผลให้เกิดความลังเลใจที่จะทำการค้าร่วมกันเพราะยังไม่มีกฎหมายที่จะคุ้มครองดูแลในเรื่องการโอนเงิน และเป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตนั้นการใช้จ่ายของคนทั่วไปจะเป็นการใช้จ่ายโดยเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นอย่างมากที่ประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายมารองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิคส์ที่ดีและครบถ้วน

อ้างอิง   :   http://www.ecommerce.or.th/index.html


ความเห็น (3)

เรียนท่านผู้รู้

ช่วยวิจารณืขอ้ความด้านล่างนี้ให้ด้วย เป็นข้อความประเภทใหน และมีผลกระทบอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

รณกฤต

Dear Friend,

Thank you for the reply. I want to begin by assuring you that we can consummate this transaction within 14 working days from the date of commencement. As the procedures relating to the transaction mentioned is not a complex one. And good enough it's going to be a bank-to-bank transfer therefore the issue of inherent risks are negated. I also would like to asure here that its my responsibility to settle any payment such as you had mentioned in you previous mail message.

All it will take for you to commence this transaction is to write a letter accompanied by your details in the form as I will stated it as soon as I hear from you, this you will forward to my Bank's Legal Adviser/Attorney. It will serve to introduce you to the bank, and of course trigger the processing of your transfer request.

The bank will then carry out some verification procedures; example, they will demand for the deposit and death certificate of the deceased every document that the bank attorney shall demand from you, I shall provide.

Therefore, after making the request through the Bank Attorney by completing and forwarding the form which i will send to you, he would naturally be expected to contact you via you email or phone. Please ensure you utilize an email that only you have access to, and I will also need to stress the fact that the foregoing must be kept strictly between the two of us.

Your email to the Attorney should also serve to request from the department the procedure(s) involved in claiming the funds entitled to you vis-à-vis the documents I shall make available to you to forward to him when he demands for such. I need to again stres the need for the two of us to work together to achieve success.

Please gently read this message and see if the mode of ratio based on the percentage 60% for me and 40% for you is acceptable by you, then i want you to assure me in confident. and I need to be able to trust you, and have a complete feel of confidence that my share will also accrue to me when we conclude this transaction The attorney that representing the bank will take care of everything therefore once I hear from you I will send to you form and the bank attorney contact.

Right now you are advice to fill below data for more details.

1. Full names.

2. Phone number.

3. Fax number.

4. Occupation.

5. Sex.

6. Age.

7. Nationality

Thank you,

Mohammad.

ขอโทษค่ะมีเรื่องร้อนใจมากๆ คือดิฉันและสามีชาวอเมริกา ทำธุรกิจขายตรงด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ แม้จะไม่รู้จักกันมาก่อน แต่เค้าก็บอกสามีดิฉันให้ไว้ใจและเชื่อใจเค้า แล้วสามีดิฉันก็เชื่อเค้าและหลายคน มากกว่าพันคน แต่ดิฉันแย่หน่อย ตอนนี้ฉันจ่ายให้เค้าเกือบล้านแล้วแต่เค้าบอกสามีดิฉันว่าเค้าจะไม่ร่วมทีมดิฉันแล้วเพราะสามีฉันมีเงินม่พอช่วยทีมเค้า เช่นนี้ฉันคสรทำอย่างไรดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท