ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.วังเหนือ


เมื่อตั้งครรภ์ดูแลตนเองอย่างไรให้ลูกฟันดี

     การดูแลเพื่อให้เด็กมีฟันดีควรเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมมีการสร้างตัวตั้งแต่ อายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ การสร้างตัวของฟันต้องการสารอาหารหลายชนิด เช่นเดียวกับการ เจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผล ให้ชั้นเคลือบฟัน และเนื้อฟันมีความแข็ง 
             

                        
     ดังนั้น หญิงมีครรภ์จึงควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพิ่มการรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัสมากๆ เช่น นม ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย การดูแลอนามัยในช่องปาก อย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหญิงตั้งครรภ์มักจะมีพฤติกรรมการรับประทานจุบจิบ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาส เสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุ หรือโรคเหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ดังนั้น จึงควรแปรง ฟันหลังการรับประทานอาหารมื้อหลักทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้ช่องปากสะอาด ไม่เป็นโรค 
                      
     ในขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจสภาพช่องปากด้วย เพื่อรับคำแนะนำการดูแลรักษา ความสะอาดในช่องปากอย่างถูกต้อง และรับการตรวจวินิจฉัยโรคเหงือก  อักเสบ หรือโรค ฟันผุ ซึ่งหากพบการเป็นโรคจะได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรก เช่น การอุดฟัน การขูด หินปูน ซึ่งควรไปรับบริการ เมื่ออายุครรภ์ได้ 4 - 6 เดือน นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ควรหลีก เลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะชนิด เตตร้าไซคลินซึ่งจะมีผลให้กาสร้างฟันในทารกผิดปกติไป

สำนักงานสาธารณสุขลำปาง

 

หมายเลขบันทึก: 440469เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท