การรู้จักตัวเอง (Self actualization) สำคัญจริงๆ


การทำความรู้จักตนเองนั้น ต้องพยายามทำความเข้าใจตนเอง อย่างเป็นตัวเอง มิใช่การนำความดี หรือไม่ดีของตัวเองไปเทียบกับคนอื่น

ผมได้ประเด็นเริ่มต้นวิเคราะห์เรื่องนี้ มาจากการศึกษา “แผนชีวิต” และการออกแบบชีวิตของเครือข่ายปราชญ์

ที่มักใช้คำว่า "ดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น"

ที่บางครั้งฟังดูทั้งเป็นธรรมดาๆ และบางทีก็น่าทึ่ง

เพราะ

  • บางครั้งเราไม่ได้พิจารณาอย่างชัดเจนถึงที่ไปที่มาของแผน
    เราก็ดูเป็น “ธรรมดาๆ”
  • แต่เมื่อพยายามทำความเข้าใจตามระบบคิดของผู้วางแผนจนสำเร็จแล้ว จะเห็นความน่าทึ่งของ “กระบวนการวางแผนชีวิต” ได้อย่างลึกซึ้ง
  • จนสามารถดำเนินชีวิตของตัวเอง และครอบครัวให้ผ่านเกณฑ์ "คุณภาพชีวิตทั้ง ๘ ประการ" ได้อย่างครบถ้วน และแยบยล


และโดยเฉพาะเมื่อ

ลองวิเคราะห์ตามแผนที่ผ่านการคิดอย่างละเอียดแล้ว
จะยิ่งเห็นความลึกซึ้งมากขึ้น


ดังนั้นในปัจจุบัน


ก่อนการเริ่มพัฒนาตัวเองในด้านใดๆก็ตาม เราจะต้องหันกลับมาทบทวน ว่า

 

  • เราคือใคร
  • มีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแบบไหน อะไรบ้าง
  • มีความรู้ความสามารถในด้านใดบ้าง
  • มีตัวช่วยด้านใด มากน้อย ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และความยั่งยืน มากน้อยเพียงใด

แล้วก็กลับไปพิจารณาเป้าหมาย ว่า

  • ชีวิตนี้เราต้องการอะไร หรือ ต้องการทำอะไร
  • เส้นทางนั้นเราพร้อมแค่ไหน
  • เราจะก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้โดยวิธีใด มีตัวช่วยหรือไม่
  • เป้าหมายหลัก เป้าหมายรองๆ มีอะไรบ้าง
  • ทางเลือกและทางออกในแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง

จุดสำคัญที่สุดคือ

  • จะต้องมีความชัดเจนและไม่หลอกตัวเอง
  • ใช้ความรู้ที่เป็นจริงและเป็นธรรมชาติ ปกติธรรมดา
  • เป้าหมายนั้นต้องเป็นธรรมชาติ เป็นจริงได้ ไม่เพ้อฝัน

ที่มีหลักการคล้ายๆกับ ตำราพิชัยสงครามของ “ซุนวู” “รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้ง ชนะร้อยครา”

ตัวอย่างที่ผิดพลาดในเครือข่ายปราชญ์ที่พบมา

  • ก็มักทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่ว่ามาทั้งหมด
  • บางท่านก็พลาดบางเรือง บางช่วง บางเวลา มากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกัน
  • จนทำให้มีตัวอย่างหลากหลายมาก

ที่น่าสนใจมาก ก็คิอ

การพลาดในการวางแผนแม้เพียงประเด็นเดียว ก็อาจทำให้ล้มเหลวของแผนทั้งระบบได้

บางคนที่ผิดพลาดก็สืบเนื่องมาจาก “ไม่กล้า” ทำความรู้จักตนเอง รับไม่ได้ ทุกครั้งที่ทำความรู้จักตนเอง ทำให้รู้สึกว่าตัวเอง “มีปัญหา ต่ำต้อย”

ซึ่งน่าจะมาจากการนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
มากกว่าการทำความรู้จัก “ตัวเอง” อย่างแท้จริง

ดังนั้น การทำความรู้จักตนเองนั้น ต้องพยายามทำความเข้าใจตนเอง อย่างเป็นตัวเอง มิใช่การนำความดี หรือไม่ดีของตัวเองไปเทียบกับคนอื่น

เพราะเรามีแนวโน้มจะไปเทียบกับคนที่เก่งกว่า และดีกว่า ทำให้รู้สึก “ด้อย” ต้อยต่ำ แต่ถ้าไปเทียบกับคนที่ต่ำกว่าก็กลับทำให้ “เหลิง”

จึงไม่ควรทำทั้งสองอย่าง

แต่เป็นการทำความเข้าใจตัวเองโดยไม่ต้องไปเทียบกับใคร จึงจะชัดเจนที่สุด

ผมเห็นตัวอย่างที่ดีๆมาแล้ว และเห็นความผิดพลาดมาก็มาก

จึงขอนำข้อสรุปบทเรียน มาบันทึกเตือนใจไว้ ณ ที่นี้

เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 438788เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2011 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณแนวคิดที่มีให้อ่านถูกใจมากเลยคะ

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมอายุ 24

กำลังเริ่มจะทำความรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างจริงจังครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ที่เป็นแนวทางในการค้นพบตัวเอง

ให้รู้จักตัวเองได้ดีขึ้นครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ผมอายุ 24

กำลังเริ่มจะทำความรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างจริงจังครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ที่เป็นแนวทางในการค้นพบตัวเอง

ให้รู้จักตัวเองได้ดีขึ้นครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท