ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๔๕. ไปเรียนรู้อุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา (๑๑) การทำหน้าที่กรรมการย่อยของ บอร์ด


 
          ผมจับความหรือย่อมาจากการประชุม Preconference Workshop ของ AGB 90 เรื่อง Leading Board Committees ตอนบ่ายวันที่ ๓ เม.ย. ๕๔  โดยเขาบอกว่า หลักการในการทำหน้าที่กรรมการย่อยที่ดีมี ๓ ตะกร้า  ๑๘ หลักปฏิบัติ

ตะกร้าที่ ๑  โฟกัสหน้าที่ของคณะกรรมการย่อย

หลักปฏิบัติที่ ๑  กำหนดพันธกิจที่ชัดเจนและสั้น


หลักปฏิบัติที่ ๒  เชื่อมโยงพันธกิจเข้ากับแผนยุทธศาสตร์


หลักปฏิบัติที่ ๓  สู่แผนประจำปี


หลักปฏิบัติที่ ๔  กำหนดวาระประชุมที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์


หลักปฏิบัติที่ ๕  แต่ละวาระประชุม ให้โฟกัสที่ข้อสรุปหรือมติ

 

ตะกร้าที่ ๒  สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนกำกับดูแล


หลักปฏิบัติที่ ๖  สร้างความเป็นเพื่อนหรือหุ้นส่วนในกลุ่มกรรมการ


หลักปฏิบัติที่ ๗  ตระหนักว่ามีเส้นเขตแดนของการกำกับดูแล   และต้องช่วยกันระมัดระวังไม่ให้ล้ำเส้น


หลักปฏิบัติที่ ๘  ช่วยฝึกฝนซึ่งกันและกัน ให้มีทักษะตั้งคำถามที่ดี


หลักปฏิบัติที่ ๙  วางแผนและซ้อมการนำเสนอต่อ บอร์ด  

 

ตะกร้าที่ ๓  มีหลักการและหลักปฏิบัติในการกำกับดูแลตนเอง

หลักปฏิบัติที่ ๑๐  เขียนข้อกำหนดหลักปฏิบัติที่ดี  เช่น “เราไม่ใช่เจ้านาย”  “เขาไม่ใช่ลูกน้อง”   “ไม่มีผลงานถ้าไม่มา”


หลักปฏิบัติที่ ๑๒  หมุนเวียนการเป็นประธานและการเป็นสมาชิก


หลักปฏิบัติที่ ๑๓  จำนวนสมาชิกพอเหมาะ


หลักปฏิบัติที่ ๑๔  ทบทวนโครงสร้างของกรรมการย่อย


หลักปฏิบัติที่ ๑๕  ประเมิน performance ของกรรมการสภา


หลักปฏิบัติที่ ๑๖  ประเมิน performance ของคณะกรรมการย่อย


หลักปฏิบัติที่ ๑๗  บ่มเพาะผู้นำ เพื่อรับช่วงงานต่อเนื่อง


หลักปฏิบัติที่ ๑๘  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ประจำ

 

          การประชุมแบบ workshop มีเสน่ห์ที่รายละเอียดหรือ practical point   ที่เราทราบดีว่าการทำหน้าที่กรรมการนั้น  ต้องใช้ทั้งศิลป์และศาสตร์   แต่ศิลป์สำคัญกว่าศาสตร์   เพราะในชีวิตจริงจะมีประเด็นขัดแย้งหรือขั้วตรงกันข้ามเกิดขึ้นเสมอ   ตัวตัดสินคือบริบท (context) ในขณะนั้น   คนที่ยึดมั่นในเป้าหมายและคุณธรรม บวกกับความเข้าใจบริบทอย่างทะลุ จะสามารถทำหน้าที่ได้ดี

          การอภิปรายใน workshop เป็นการ ลปรร. ประสบการณ์ ซึ่งแตกต่างหลากหลายมาก   เพราะสถาบันอุดมศึกษาของเขาต่างกันมากจริงๆ   และคนที่มาร่วมแทบจะไม่มีกรรมการสภาฯ จากมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก   รวมทั้งการทำหน้าที่กรรมการนั้น มีความซับซ้อนมาก   workshop นี้ มุ่งให้กรรมการสภาที่ไม่ใช่คนที่คุ้นเคยกับมหาวิทยาลัยนัก เข้าใจบรรยากาศในมหาวิทยาลัย

          จากการอภิปรายกันผมเก็บประเด็นมาฝากได้ดังนี้

 กรรมการสภาฯ ไม่ควรมี pet project ของตน  เพราะเสี่ยงต่อการมีผลประโยชน์ทับซ้อน


 Donation กับ bribe แตกต่างกัน  โดยที่ donation พุ่งเป้าผลประโยชน์ของสังคม และสถาบัน   แต่ bribe พุ่งเป้าผลประโยชน์ของบุคคล   donation ที่มีเงื่อนไขให้ผลประโยชน์ต่อการดำรงตำแหน่งของบุคคล เป็นกึ่ง bribe  และพีงระมัดระวังการรับ

 

วิจารณ์ พานิช
๔ เม.ย. ๕๔
โรงแรม InterContinental Los Angeles Century City 
 
        
                 
         
         
       

 

หมายเลขบันทึก: 438625เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท