เผชิญความตายอย่างสงบ บทสัมภาษณ์พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล


ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์หลวงพี่ไพศาล..พระไพศาล วิสาโล เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เผยแพร่แนวคิดการให้ความช่วยเหลือคนไข้ระยะสุดท้ายวิถีพุทธที่บูรณาการกับศาสตร์ทางการแพทย์การพยาบาล ให้เปิดเผยต่อสาธารณะทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น เป็นเรื่องความเป็นมาของโครงการเผชิญความตายอย่างสงบที่ทางเครือข่ายพุทธิกาได้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.​ ๒๕๔๗ และได้รับความสนใจจากทั้งทางบุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาล ประชาชนทั่วไป อาสาสมัครและสื่อต่างๆ ขอให้จัดการอบรมมากขึ้นทุกปี

การอบรมเผชิญความตายอย่างสงบครั้งแรก สวนสายน้ำ หาดใหญ่ พศ.​๒๕๔๗


                               คำแปลบทสรุปคำสัมภาษณ์

เรื่องหนึ่งที่ทางเครือข่ายพุทธิกาให้ความสำคัญ คือ เรื่องความตายและภาวะใกล้ตาย ซึ่งมีความสำคัญในสังคมยุคใหม่ เพราะคนสมัยนี้มักมีทุกขเวทนามากเมื่อเผชิญหน้ากับความตาย โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในโรงพยาบาล

อาตมาและเครือข่ายฯจึงได้จัดการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานให้ผู้เข้าอบรมได้สามารถช่วยเหลือทางปัญญาแก่คนไข้ระยะสุดท้าย เราพบว่าคนทั่วไปก็สามารถทำเรื่องนี้ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องความตายและภาวะใกล้ตายอย่างถ่องแท้ หากจิตใจมีเมตตากรุณาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และมีเจตคติที่ดีต่อความตาย

ความจริงแล้วความตายหาใช่สิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว ที่เราต้องพยายามหนีห่างแต่อย่างใด มันกลับมีคุณค่าและสามารถชี้นำเราไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ หากรู้จักใช้มันอย่างถูกวิธี

ดังนั้นในการอบรม เราจึงพยายามช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสสะท้อนความคิดมุมมองของตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อความตาย และสามารถช่วยน้อมนำให้บุคคลอันเป็นที่รักสามารถยอมรับความตายที่กำลังจะมาถึงได้ นอกจากนั้นเรายังจัดให้มีการฝึกทักษะพื้นฐานเพื่อช่วยพูดคุยให้คนไข้ระยะสุดท้ายได้ระลึกถึงความหมายของชีวิต คุณงามความดีของตนเอง รู้จักปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ และเผชิญความตายอย่างสงบ

วีธีเดียวที่จะข่วยตระเตรียมตนเองให้เผชิญกับความตายอย่างสงบได้ คือ การใช้ชีวิตที่มีอยู่ในขณะนี้อย่างมีสติ อย่างสงบ หากคนเรามีเจตคติที่ดีต่อความตาย เขาเหล่านั้นจะรู้จักแบ่งปันความรัก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ทำร้ายผู้อื่น เพราะสิ่งนั้นจะส่งผลถึงวาระสุดท้ายของตนเอง

เรายังหวังด้วยว่า สิ่งนี้จะช่วยปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งเคยมุ่งแต่จะทุ่มทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อยืดชีวิตคนไข้ออกไปอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่เหลืออยู่ ถ้าระบบสุขภาพให้ความสำคัญกับความตายอย่างสงบ การบริบาลเพื่อบรรเทาอาการ  palliative care ก็จะมีความสำคัญ มีบทบาทและเป็นหลักมากขึ้น จะช่วยให้เป็นระบบสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (humanized health care) มากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องกลไกของอวัยวะต่างๆเท่านั้น และจะช่วยให้คนเราสามารถใช้ชีวิตและเผชิญกับวาระสุดท้ายของตนเองได้อย่างสงบ


ปัจจุบันเครือข่ายพุทธิการ่วมกับเสมสิกขาลัยได้จัดอบรมเผชิญความตายอย่าสงบให้กับบุคลารกรสุขภาพและประชาชนทั่วไป ปีละไม่ต่ำกว่า ๑๐ ครั้ง ติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์

โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา

เสมสิกขาลัย

หมายเลขบันทึก: 438431เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2011 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอเต็มศักดิ์
  • หากคนเราคลายความยึดมั่นถือมั่นในกายขันธ์์
    และประกอบกรรมดีย่อมเผชิญความตายด้วยจิตสงบ
  • ความทุกข์จากห่วงที่ผูกคอ รัดแขน  รัดขา ล้วนสร้างความวิตกกังวล
    อย่างใหญ่หลวง
  • ขอบพระคุณวิธีการเผชิญความทุกข์อย่างสงบและมีสติ  เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  • อนุโมทนาบุญค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

เสียงไม่ค่อยได้ยิน  ไม่ทราบจะปรับที่ไหนค่ะ

เมื่อพยายามเรียนรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความตายมากขึ้น  ทำให้มีกำลังใจในการทำดีอีกมากมายนะคะ

การอยู่ร่วมกันไม่ว่าการทำงานหรือการอยู่อย่างอื่น  ควรมีหัวใจให้แก่กัน  สังคมคงเป็นสุขนะคะ

อาจารย์หมอเต็มคะ เมื่อเช้าปูได้อ่านดู รายละเอียด จุใจ มีภาพอ.หมอแบบเต็มๆ เลยค่ะ ขอชื่นชมและส่งกำลังใจ อ่านแล้วรู้สึกดีๆ ขอบคุณค่ะ :)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความเตือนสติค่ะ

Ico48

  • ขอบคุณนะครับ คุณครูแมว
  • สมัยผมเป็นเด็ก ครูมีอิทธิพลต่อความคิดเรามาก โดยเฉพาะจากการกระทำให้เห็น ผมเชื่อว่า หากมีการปลูกฝังเรื่องนี้กันตั้งแต่เด็ก ก็จะช่วยให้เรามีสังคมที่น่าอยู่มากขึ้นนะครับ

Ico48

  • ขอบคุณคุณครูธรรมทิพย์ครับ
  • ห่วงทั้งหลายที่ว่า เราหามาใส่เองทั้งนั้นนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท