การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม


เพื่อรายงานผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ดังนี้
                
 
สรุปผลการดำเนินงาน

 

การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม  สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

 

          ตอนที่ 1 ความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ ต่อการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม

 

1. ความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาต่อการบริหารโรงเรียน โดยครูมีส่วนร่วมเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด (4.64, 1.82) โดยกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่า ครูมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด (4.75, 0.09) และครู เห็นว่า ครูมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดเช่นกัน (4.52. 0.17) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การแบ่งงาน มอบหมายงานให้ครูปฏิบัติ (4.92, 0.26)  การวางแผนพัฒนาโรงเรียน (4.85, 0.36) การประสานงานทุกฝ่ายให้ร่วมปฏิบัติงาน (4.85, 0.36) การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ (4.71, 0.46) การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนา (4.71, 0.46) การจัดระบบงานให้ชัดเจนคล่องตัว (4.64, 0.49) และ การจัดสิ่งจูงใจสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร (4.57, 0.51) ครูมีส่วนร่วมอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดตามลำดับ รองลงมาได้แก่ ด้านการสนับสนุน วัสดุ  อุปกรณ์ เพื่อการพัฒนาการสอน (4.42, 0.51) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน (4.35, 0.49 ) ครูมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

 

          2. ความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการบริหารโรงเรียนโดยกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับการปฏิบัติมาก (4.32, 0.32)  โดยกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และครูต่างเห็นว่า กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ในระดับการปฏิบัติมาก(4.47, 0.06), (4.16, 0.41)  และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์โรงเรียน (4.71, 0.46) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน (4.71, 0.46) และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมดูแลกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานโรงเรียน (4.71, 0.46) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ส่วนด้านกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมสนับสนุนด้านปัจจัย ทรัพยากร เพื่อพัฒนาโรงเรียน (4.00, 0.39) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการวางแผนกปฏิบัติการประจำปี (3.92, 0.47) และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน (3.85, 0.36)กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในระดับการปฏิบัติมากตามลำดับ

 

          ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ มีความเห็นว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (4.47, 0.14) โดยครูมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนในระดับการปฏิบัติมากที่สุด (4.64, 1.82) ส่วนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนในระดับการปฏิบัติมาก (4.32, 0.32)

 

          ตอนที่ 2 ผลการดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม

 

          1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ภายในห้องเรียน เป็นที่พึงพอใจต่อ ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.31, 0.46)  ในทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้  ด้านกฎระเบียบ (4.40, 0.40) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (4.30, 0.48)  ด้านสื่อและเทคโนโลยี (4.29, 0.49)  และด้านครู (4.28, 0.49) ตามลำดับ

เมื่อพิจารณารายระเอียด สรุปผลได้ดังนี้

 

                    1.1 ด้านกฎระเบียบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.40, 0.40) โดยพึงพอใจต่อการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดให้มีข้อตกลงของห้องเรียน มากที่สุด (4.52, 0.58) ส่วนการจัดให้มีกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการป่วย ลา ขาด ของนักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมาก (4.39, 0.60) เช่นเดียวกับการจัดให้มีการจัดตั้งสัจจะวาจาในการปฏิบัติตน (4.28, 0.59)

 

                    1.2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.30, 0.48) โดยพึงพอใจต่อการจัดให้มีสัญลักษณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ลักษณะเป็นแผ่นภาพติดตั้งไว้เหนือกระดานดำ หรือที่อันควร การจัดให้มีป้ายชั้นเรียน ป้ายชื่อครูประจำชั้น ป้ายแสดงวันหยุด ป้ายนิเทศ ป้ายบุคคลสำคัญ ทำด้วยวัสดุคงทน แขวน หรือ ติดแสดงไว้ข้างห้องเรียนด้านนอก และการจัดให้มีปฏิทินแสดงวัน/ เดือน/ ปี เป็นปฏิทิน 12 เดือน นาฬิกา และติดไว้ในที่มองเห็นได้ชัดเจน การจัดตารางทำความสะอาด อุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ประดับตกแต่งเพื่อความสดชื่นสวยงามในระดับมาก (4.45, 0.68) เช่นเดียวกับการจัดโต๊ะที่นั่งนักเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน และอยู่ในสภาพใช้งานได้  การปรับปรุงกระดานดำและอุปกรณ์ติดฝาผนังทาสีเขียว มีป้ายนิเทศ 2 ข้าง มีอุปกรณ์ เช่น ชอล์ก แปรงลบกระดาน การจัดให้มีแผนที่ประเทศไทย ไว้ในห้องเรียน และ มีการจัดเก็บผลงานของนักเรียนให้เป็นระเบียบและสวยงาม ระดับมาก  (4.32, 0.68)  และ การจัดโต๊ะเก้าอี้ครูไว้ในชั้นเรียนและจัดให้มีแจกันดอกไม้มองดูสวยงาม  การจัดให้มีแผนภูมิแสดงพัฒนาการทางร่างกาย แผนภูมิผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตารางเรียน ข้อตกลงของนักเรียน คติพจน์ สมาชิกในชั้นเรียน  การจัดทำเอกสารประจำชั้นครบทุกรายการให้ถูกต้อง ระดับมาก (4.09, 0.72) ตามลำดับ

 

                    1.3 ด้านสื่อและเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.29, 0.49) โดยพึงพอใจต่อการจัดให้ห้องสมุดมีหนังสือหลากหลาย จัดไว้เป็นระเบียบ และการจัดมุมนิทรรศการมีความน่าสนใจ ทันสมัยอยู่เสมอ ระดับมาก (4.45, 0.68) เช่นเดียวกับการมีสื่อวิชาการต่างๆ อย่างเหมาะสมพอเพียง ห้องคอมพิวเตอร์ มีจำนวนเพียงพอ ใช้งานได้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสื่อการเรียนรู้ และห้องปฏิบัติการ  มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้งานได้ดี ระดับมาก (4.32, 0.68) เช่นเดียวกับ การค้นคว้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว และใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุน อยู่ในระดับมาก (4.09, 0.72) ตามลำดับ

 

          1.4 ด้านครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.28, 0.49) โดยพึงพอใจต่อ การยกย่อง ชมเชย นักเรียนที่สร้างคุณงามความดี (4.50, 0.68) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดบอร์ดนิทรรศการเป็นปัจจุบัน (4.45, 0.68) ความเป็นมิตร และปฏิบัติงาน ด้วยความจริงใจ (4.32, 0.68) จัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างเหมาะสม (4.09, 0.71) ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ (4.09, 0.71) ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

 

          2. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ภายนอกห้องเรียน เป็นที่พึงพอใจต่อ ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.40, 0.42) โดยด้านแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน (4.51, 0.35) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ (4.36, 0.40)  และด้านการบริหาร (4.34, 0.51) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายระเอียด สรุปผลได้ดังนี้

 

          2.1 ด้านแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.51, 0.35) โดยมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สนามกีฬาสามารถใช้งานได้ดี ในระดับมากที่สุด (4.59,0.49) รองลงมาได้แก่ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงอาหารสะอาดถูกสุขอนามัย (4.58,0.50) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สนามเด็กเล่นมีความแข็งแรงปลอดภัย (4.55,0.49) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนเกษตรพอเพียงกับจำนวนนักเรียน (4.54,0.57) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนวรรคดี  สวนวิถีไทย และสวนไก่พระนเรศวร (4.52,0.54) และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดให้ทันสมัยน่าใช้ (4.50,0.54) ตามลำดับ ส่วนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตใช้งานได้เพียงพอ ได้รับความพึงพอใจในระดับมากเท่านั้น (4.32, 68)

 

                   2.2 ด้านอาคารสถานที่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.36, 0.40) โดยมีความ    พึงพอใจต่อการจัดพื้นที่ริมถนนและทางเดินร่มรื่น สะอาด เป็นระเบียบ (4.45, 0.68) และจัดเก็บเครื่องมือที่ใช้ที่จำเป็นได้อย่างเป็นระเบียบ (4.45, 0.68) มีค่าเฉลี่ยเท่ากันสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ การจัดห้องประชุมได้สะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอ (4.43, 0.51) การจัดเก็บและกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดไว้บริการตลอดเวลา (4.41, 0.49) การจัดห้องเรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีแสงสว่างเพียงพอ (4.38, 0.58) โรงอาหาร ห้องน้ำ-ห้องส้วม เป็นระเบียบ สะอาด สวยงาม (4.36, 0.58) การตกแต่งทางเดินบนอาคารเรียนได้สวยงาม สะอาด เป็นระเบียบ (4.32, 0.68) การจัดโรงอาหารได้สะอาดถูกสุขอนามัย (4.32, 0.68) และ การจัดห้องน้ำ-ห้องส้วมถูกสุขลักษณะไม่มีกลิ่นเหม็น  (4.07, 0.72) ตามลำดับ

 

                   2.3 ด้านการบริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.34, 0.51) โดยมีความ พึงพอใจต่อ การประชาสัมพันธ์นโยบายด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (4.45, 0.68)  การมอบหมายงานให้ครู นักเรียนรับผิดชอบในเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อม และ แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างชัดเจน (4.45, 0.68) การยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นในการรณรงค์และรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ (4.45, 0.68) และ การวางแผนตกแต่งพื้นที่ทั้งหมดให้สวยงามกลมกลืนกับผังของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม (4.45, 0.68)  มีค่าเฉลี่ยเท่ากันสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ความร่วมมือ / ประสานงานกับโรงเรียน หรือ หน่วยงานอื่นๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ (4.43, 0.68)  การมีแนวทางพัฒนาสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน (4.32, 0.68) ส่วนการเสริมสร้างครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ (4.32, 0.68) การจัดทำแผนการปฏิบัติการด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้อย่างเหมาะสม (4.32, 0.68) การสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (4.32, 0.68) การส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมรักษาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ (4.32, 0.68) โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม (4.32, 0.68) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน โดยการ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล เป็นประจำ (4.09, 0.72) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

 

 จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ปกครอง นักเรียน ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.35, 0.54) โดย พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน (4.40, 0.42)  มากกว่า สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน (4.31, 0.46)

 

 

          ตอนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2552-2553            ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-net) พบว่าปีการศึกษา 2553 มีผลรวมคะแนนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เฉลี่ย (35.35) เพิ่มขึ้นจากคะแนนรวมเฉลี่ยปีการศึกษา 2552 (33.76) ร้อยละ 1.57 โดยเพิ่มขึ้น 2 กลุ่มสาระได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา (+26.72) และวิทยาศาสตร์ (+8.10) และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย ลดลงมากที่สุดได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (-11.78) 

         

           ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบระหว่าง ปีการศึกษา  2552 และ     ปีการศึกษา  2553 พบว่า ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นร้อยละ 4.2 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน เพิ่มขึ้นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (+9.4) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (+9.4) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1(+6.6)  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (+5.1)  ตามลำดับ  ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (-1.9)  และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(-3.7) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยลดลง


ตอนที่ 4 พลวัตแห่งการพัฒนา: บทสะท้อนความเปลี่ยนแปลง

 

การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ใน 9 ประเด็น ซึ่งผู้รายงานได้นำเสนอตามลำดับ ดังนี้

 

                   1.ปฐมบทแห่งการพัฒนา เป็นการปรับภูมิทัศน์ และจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้            สวนวรรณคดี สวนวิถีไทย และสวนไก่พระเนเรศวร โดยได้รับเงินสนับสนุน และไม้ดอกไม้ประดับ จากประชาชนในชุมชน มูลค่า 10,000 บาท ในการดำเนินงาน ทำให้โรงเรียนสามารถจัดสวน สนามหญ้า และปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มเติม จำนวน 8 ต้น เสริมบรรยากาศให้โรงเรียนมีความร่มรื่นสวยงามมากยิ่งขึ้น สร้างความชื่นชม ความศรัทธา  ความร่วมมือจากชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

                   2. นำพาความช่วยเหลือสู่โรงเรียน ซึ่งได้จัดสร้าง และซ่อมแซมศาลาพักผ่อน เพื่อให้ผู้ปกครองได้พักรอเวลามารับนักเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียน ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับการสนับสนุนวัสดุจากประชาชนในชุมชนมูลค่า กว่า 10,000 บาท และยังเป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนได้มีโอกาสพุดคุยกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

 

          3. ขีดเขียนสาระ เป็นการจัดทำแผ่นป้ายนิเทศ และป้ายคำขวัญ กว่า 20 ป้าย รอบบริเวณโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่าน และสื่อสารสาระความรู้สู่นักเรียนอีกทางหนึ่ง ช่วยเสริมสร้างให้ โรงเรียนสวยงามขึ้น และยังช่วยให้ประชาชนทราบข่าวสารกิจกรรมของโรงเรียนอีกด้วย

 

          4. เร่งจังหวะการพัฒนา การดำเนินการที่ผ่านมาใช้งบประมาณไม่มาก แต่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดกระแสของความร่วมมือ นำไปสู่แหล่งทุนจึงเป็นจังหวะดี ในการของบประมาณ เพื่อซ่อมแซมอาคารเรียน และอาคารประกอบ โดยมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

  

                   1) กองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าวังน้อย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่  
                          1.1) ยกอาคารและเปลี่ยนเสาอาคาร จำนวน 54 ต้น มูลค่า 480,000 บาท 
                          1.2) กั้นห้องเรียน 2ห้อง และทำกันสาดรอบอาคาร มูลค่า 520,000 บาท
                          1.3) จ้างครู ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน                                                มูลค่า 192,000 บาท
                      2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
                          2.1) เทพื้นปูนหน้า 7 เซนติเมตร (งบแปรยัญติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์)                              มูลค่า 100,000 บาท
               
หมายเลขบันทึก: 438224เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2011 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท