บทความวิชาการ


แนวทางการพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
เรื่อง “แนวทางการพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง” วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 1. รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต 2. ดร.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ดำเนินรายการโดย คุณณัฐมน ไทยประสิทธิ์เจริญ รศ.วิทยา เชียงกูล : ได้แสดงความเห็นต่อการจัดการศึกษาของไทยว่าประเทศไทยได้ลงทุนทางการศึกษาสูงมาก ดูได้จากตัวเลขงบประมาณการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปี กระทรวงศึกษาธิการจะได้รับงบประมาณสูงเป็นอันดับต้นๆมากกว่ากระทรวงอื่น ประเทศใดสามารถแก้ปัญหาด้านการศึกษาได้ประเทศนั้นก็จะพัฒนา สำหรับประเทศไทยมีการลงทุนทางการศึกษาสูงก็จริงแต่เป็นการลงทุนทางการศึกษาที่เน้นเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพซึ่งดูได้จากตัวเลขคนที่จบปริญญาตรี คนว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่จบปริญญาตรี การผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานต่างๆ คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความเป็นประชาธิปไตย ประชาธิปไตยของคนไทยมีแต่รูปแบบคือมีการเลือกตั้ง ความเสมอภาคด้านอื่นๆยังไม่มี ความเป็นคุณค่าของประชาธิปไตยที่แท้จริงยังไม่มี ยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง มีการทุจริตคดโกง ขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ขาดวินัย คำว่า วินัย ก็คือการเคารพสิทธิของผู้อื่น ปัญหาที่พบของการศึกษาก็คือ มีนักเรียนนักศึกษาออกกลางคันเยอะ ซึ่งเกิดจากปัญหาความยากจน การขาดโอกาสทางการศึกษา การจัดการศึกษายังไม่ทั่วถึง ถึงแม้ว่านโยบายเรียนฟรี 5 อย่างของรัฐบาลชุดนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้การศึกษาของไทยดีขึ้นจริง การที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเรียนฟรี 5 อย่าง ให้แต่ละโรงเรียนเท่ากันนั้น ตามทัศนะของ ดร.วิทยา เชียงกูล เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะบางโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ในเมืองมีความพร้อมทุกอย่าง งบประมาณเรียนฟรี 5 อย่างไม่จำเป็นต้องจัดสรรให้โรงเรียนที่มีความพร้อม ผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่นำบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเหล่านี้มักจะเป็นครอบครัวที่มีฐานะ แต่ควรจัดสรรงบประมาณเรียนฟรี 5 อย่างให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาในด้านต่างๆให้เท่าเทียมกัน การปฏิรูปการศึกษาต้องปฏิรูปในเรื่องของคุณภาพให้เสมอภาคกันไม่ใช่แจกของฟรี 5 อย่าง โรงเรียนเล็กๆอยู่ห่างไกลต้องให้เยอะกว่า คำว่าเสมอภาคต้องเสมอภาคทางด้านคุณภาพ สร้างความยึดหยุ่นในเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษา การจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพนั้นต้องสอนให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น สังคมไทยยังมองคนแตกต่างกันการศึกษาไทยเน้นแต่รูปแบบ คือ เรียนเพื่อสอบ คิดแก้ปัญหาไม่เป็น ความฉลาดทางจิตสำนึก ความฉลาดทางอารมณ์ต้องมี ไม่ใช่แค่เก่งทางวิชาการอย่างเดียว การศึกษาต้องทำให้คนฉลาดมากขึ้น ทำเพื่อสังคมมากขึ้น ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของไทย คือ คนขาดปัญญา การศึกษาต้องสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้ คนต้องเติบโตในหลายด้านพร้อมๆกัน การสอนให้คนเป็นคนดีต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างไม่ใช่เก่งเพื่อเอาตัวรอด เก่งฉลาดมากยิ่งโกงได้มากขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สังคมไม่ต้องการ การศึกษาที่ได้คุณภาพต้องสอนให้คนมีทั้ง EQและIQ ต้องไปด้วยกัน การศึกษาต้องเป็นปัญญาชนต้องมองภาพรวมทั้งประเทศ คือ มองค่าเฉลี่ย ( ) ของคะแนนเด็กทั่วประเทศ ดร.สุวัฒน์ : ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาฟันธงไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดีบางสิ่งบางอย่างได้ แต่บางสิ่งไม่ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องคุณภาพของการศึกษา การจัดการศึกษายังขาดความเสมอภาคทางการศึกษา คำว่า ความเสมอภาคทางการศึกษาจะต้องมี 3 อย่างด้วยกันคือ โอกาสทางการศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา การปฏิรูปการศึกษา ณ วันนี้ สิ่งที่ต้องทำ คือ 1. ต้องสังเกตว่าปัญหาการศึกษาอยู่ตรงไหน 2. มองเรื่องคุณภาพการศึกษาต้องเน้นวิชาการ คำว่า คุณภาพการศึกษา มี 5 เรื่องด้วยกัน คือ หลักสูตร วิธีการสอน การวัดผลประเมินผล การนิเทศ และสื่อนวัตกรรม 3. เราจะพัฒนาวันนี้เพื่อวันข้างหน้าได้อย่างไร การจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพนั้นไม่ได้เกิดขึ้นได้ในวันหรือสองวันแต่เกิดจากการสั่งสมมาในอดีต ปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นเกิดจากการขาดหลักการหรือเทคนิค นักจิตวิทยาโคสเบิร์ก ได้กล่าวว่า การปฏิบัติกิจกรรมใดเป็นผลมาจากการเรียนรู้ แต่การปฏิบัติอะไรก็ตามไม่ได้มาจากการเรียนรู้เสมอไปซึ่งเป็นผลมาจากเจตคตินั่นเอง การสอนหนังสือต้องสามารถเปลี่ยนเจตคติคนได้ ณ วันนี้เป็นยุคของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงยิ่งต้องสอนให้คนเปลี่ยนเจตคติให้ได้ การปฏิรูปการศึกษาต้องอาศัยเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงเจตคติของคน ณ วันนี้ การจัดการศึกษาประชาชนต้องพึ่งรัฐบาลไม่ใช่รัฐบาลต้องพึ่งประชาชนเพราะการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทำได้แค่บางโรงเรียนเท่านั้น ประชาชนยังมีความเชื่อว่ารัฐบาลสามารถจัดการศึกษาได้ดีกว่าประชาชน รัฐต้องจัดให้การศึกษาเป็นตัวนำ ไม่ใช่จัดการศึกษาเป็นตัวตาม เช่น นโยบายการศึกษาเปลี่ยนไปตามยุคของรัฐบาล พอรัฐบาลเปลี่ยนนโยบายก็เปลี่ยนตาม ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ การปฏิรูปการศึกษาต้องดูที่หลักสูตร หลักสูตรก็คือทิศทางที่จะทำให้ผู้เรียนไปสู่ทิศทางนั้น หลักสูตรดูเหมือนจะกว้างแต่การปฏิบัติแคบ เช่น โรงเรียน ก โรงเรียน ข มีครูต่างกัน การใช้หลักสูตรก็ทำได้ต่างกัน การศึกษาต้องมองแบบประชากรไม่ใช่มองตัวอย่างก็คือต้องดีหมด การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพต้องกำหนดมาตรฐานเดียวกัน เช่น มาตรฐานคือ 5 ทุกโรงเรียนต้องทำให้ได้ 5 เหมือนกันหมด การจัดการเรียนการสอนต้องมีการนิเทศ ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ ครูผู้สอนต้องสอนวิธีคิด แนวคิด เน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา สอนคิด สอนคุณธรรม ซึ่งกระบวนการเหล่านี้อาศัยรูปแบบไม่ได้ต้องอาศัยเทคนิคของครูผู้สอน ครูผู้สอนยังอ่อนด้อยในเรื่องการสร้างสื่อการเรียนการสอน การวัดประเมินผลยังขาดอิสระเพราะถูกกดดันจากภายนอก การสอนคิดแบบสร้างสรรต้องเกิดจากองค์รวมซึ่งครูผู้สอนนอกจากจะมีความรู้ในวิชาที่ตนเองสอนแล้วต้องมีความรู้อีก 3 อย่างด้วยกันคือ วิธีการสอน จิตวิทยาการเรียนการสอนและการสร้างสื่อการสอน การจัดการศึกษาที่จะทำให้คนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพต้องอาศัยแบบอย่างที่ดีทุกระดับทั้งที่บ้านและโรงเรียน แนวทางแก้ไขปัญหาการศึกษา: ตามทัศนะของดร.สุวัฒน์ ได้ให้แนวคิดว่า การบริหารการศึกษาเพื่อให้ได้คุณภาพนั้นต้องมี 4 อย่าง คือ 1. การวางแผน 2. การจัดองค์การ 3. การนำ 4. การควบคุม การจัดการศึกษาที่เน้นการประกันคุณภาพการศึกษามากเกินไป แสดงให้เห็นว่าขาดคุณภาพมาก วิธีสร้างคุณภาพไม่ใช่เปลี่ยนทีมงานแต่ต้องเปลี่ยนวิธีทำงาน การปฏิรูปการศึกษาต้องให้อิสระ การปฏิรูปที่ดีต้องปฏิรูปที่ห้องเรียนก็คือการปฏิรูปการเรียนรู้นั่นเอง การปฏิรูปการศึกษาต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้ 1. การพัฒนาครูทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การผลิตครู การคัดเลือก การสรรหา สถาบันการผลิตครูต้องทำเป็นภาคเป็นภาคี ไม่เน้นเรื่องการใช้แต่เน้นเรื่องการพัฒนา 2. การจัดห้องเรียนให้เล็กลง ครูผู้สอนจะได้ดูแลทั่วถึง 3. การจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนรวมมีส่วนกับโรงเรียนให้มากที่สุด การจัดการศึกษาต้องปล่อยให้โรงเรียนเป็นอิสระเน้นการกระจายอำนาที่มีระบบ การกระจายอำนาจต้องมี 3 ระดับ คือ ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ นอกจากนี้แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรครูคุรุสภาต้องทำงานร่วมกัน ข้อฝากของดร.สุวัฒน์ 1. คิดแง่บวกและรู้จักพอ 2. ในห้องเรียนต้องใช้หลักจิตวิทยา ในโรงเรียนต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ 3. สร้างความเชื่อ แล้วจะเกิดความชอบ เมื่อเกิดความชอบ แล้วจะเกิดความศรัทธา เมื่อเกิดความศรัทธาแล้ว ก็จะให้ความร่วมมือ 
หมายเลขบันทึก: 436555เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2011 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท