Proceedings 12th HA National Forum: C37 อาหารปลอดภัย สู่อาหารเป็นยา มา-ปี แมคโครไบโอดิกส์


ทีมงานได้เรียนรู้แนวคิดเรื่องของการใช้อาหารในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล แปรรูปให้น้อยที่สุด ปรุงรสให้น้อยที่สุด

พิษณุ ขันติพงษ์, รุ่งเรือง สิทธิไชย, สิริเพ็ญ ขันทะ, และสิรีธร โชลิตกุล.  “อาหารปลอดภัย สู่อาหารเป็นยา : มา-ปี แมคโครไบโอติกส์”.  12th HA National Forum Proceedings: ความงามในความหลากหลาย.  สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน), www.ha.or.th, 2554.

Download Proceedings

อาหารสามารถใช้บำบัดรักษาโรคได้หรือไม่ ทีมงานสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบด้วย โภชนากร พยาบาล แพทย์ทางเลือก และผู้บริหาร ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งในฐานะผู้รับการบำบัด ผู้เป็นแบบอย่าง ผู้ปฏิบัติ และผู้ขับเคลื่อน ในการพัฒนาระบบบริการอาหารของโรงพยาบาลให้มีความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ และต่อยอดไปสู่การใช้อาหารบำบัดรักษาโรคตามแนวทาง มา-ปี แมคโครไบโอติกส์ ซึ่งโรงพยาบาลได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์มา-ปี แมคโครไบโอติกส์แห่งแรกของเอเซียอาคเนย์

ความสำเร็จในเรื่องอาหารปลอดภัยของโรงพยาบาลเชียงรายฯ เกิดจากการมองความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งหมดเพื่อปกป้องผู้ป่วยอย่างสุดชีวิต พัฒนาทุกแหล่งอาหารให้ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นผัก เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป  การปรับบทบาทจากการตั้งรับมาเป็นการทำงานเชิงรุก ทำให้ได้เรียนรู้และเห็นโอกาสใหม่ๆ มากมาย สร้างเครือข่ายทั้งกับส่วนราชการและผู้ผลิตในชนบท  เข้าตรวจสอบด้วยตนเองให้มั่นใจในความปลอดภัยทุกประเด็น  ลดต้นทุนจากคนกลางด้วยการซื้อตรงจากผู้ผลิต  สร้างอาชีพให้เกษตรกรทุกกลุ่ม  ทำตลาดให้ครบวงจรเพื่อให้บุคลากรและคนทั่วไปเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัย

ทีมงานได้มีโอกาสไปเรียนรู้แนวคิดเรื่องแมคโครไบโอติกส์ที่อิตาลี ได้รับประสบการณ์ในการบำบัดเยียวยาโรคที่ตนเองเป็นอยู่ ชวนเพื่อนบุคลากรมาร่วมทดลอง และขยายไปสู่ผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ  ที่แท้แล้วแนวคิดแมคโครไบโอติกส์มีจุดกำเนิดจากเอเซียคือประเทศจีน  ทีมงานได้เรียนรู้แนวคิดเรื่องของการใช้อาหารในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล แปรรูปให้น้อยที่สุด ปรุงรสให้น้อยที่สุด เน้นอาหารที่ค่อนข้างไปทางด่างและให้มีความเป็นกรดน้อยที่สุด มีรสชาติที่สมดุล ประณีตกับทุกกระบวนการในการเตรียมและปรุงอาหาร  ใช้ไฟอ่อน ระยะเวลานาน ประยุกต์การเพิ่มความดันโดยวิธีของปู่ย่าตายาย  มีลำดับขั้นของการกิน  นอกจากนั้นผู้ปรุงยังต้องใส่ความรัก ความสงบ ความปรารถนาดีต่อผู้กินลงไปด้วย  เกิดกลุ่มจิตอาสาที่จะมาช่วยให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ 

วิทยากรได้นำเสนอตัวอย่างผู้ป่วยที่เห็นผลของการบำบัดด้วยแมคโครไบโอดิกส์ เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดซึ่งมารับการฝังเข็ม ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ทั้งนี้โดยการแนะนำให้ค่อยๆ ลด ละ อาหารบางประเภทลง

ทีมงานได้แสดงให้เห็นความงดงามในความหลากหลาย คือการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพเพื่อความสุขที่แท้จริงของประชาชน

หมายเลขบันทึก: 436114เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2011 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอชื่นชมความมุ่งมั่นทีมงานทุกท่าน ที่ร่วมกันสร้างสิ่งดีให้กับผู้ป่วย รวมทั้งเพื่อนบุคลากรที่มาร่วมทดลองด้วยนะคะ

เห็นด้วยค่ะ กับการกินอาหารตามบรรพบุรุษ และปรุงรสและแปรรูปให้น้อยที่สุด แต่ดิฉันคิดว่า Happiness คือการบำบัดทางใจ เป็น factor ที่สำคัญที่สุดในการบำบัดโรคค่ะ เพราะหากผู้ป่วยเครียด อาหารอะไรก็ดูดซึมเข้าได้น้อยค่ะ

เห็นด้วยครับ ต้องบำบัดด้วยปัจจัยสำคัญทุกเรื่องอย่างกลมกลืนและสมดุลเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท