ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๒๗. รู้ทันมายาในการโฆษณา


ผมสงสัยตลอดมา ว่าทางการของรัฐ ปล่อยให้การโฆษณากึ่งจริงกึ่งหลอกเช่นนี้ออกมาได้อย่างไร..........
 
          เช้าวันที่ ๒๑ มี.ค. ๕๔ ผมเข้าไปนั่งทำงานที่ สคส.  และได้อ่านหนังสือพิมพ์รายวัน   เห็นโฆษณาของธนาคารกสิกรไทย ในกรุงเทพธุรกิจ “สูงสุด ๖% ต่อปี” ก็ตาลุก   ว่าดอกเบี้ยเงินฝากพุ่งพรวดขนาดนี้เชียวหรือ 
          อ่านให้ละเอียดจึงรู้ว่าเป็นกลยุทธการโฆษณาเรียกความสนใจ   เป็นความจริงหลอกๆ   เพราะจริงๆ แล้ว อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นขั้นบันไดของช่วงเวลาที่ฝาก   เริ่มต้นที่ ๑.๗๕%  และสูงสุด ๖% ที่เดือนที่ ๑๓ – ๑๖
          ผมสงสัยตลอดมา ว่าทางการของรัฐ ปล่อยให้การโฆษณากึ่งจริงกึ่งหลอกเช่นนี้ออกมาได้อย่างไร   และวงการโฆษณาเขายึดถือหลักจริยธรรมที่ย่อหย่อนเช่นนี้ หรือไม่มีหลักจริยธรรมเลยหรือ
          พลิกไปที่ เซ็กชั่น เศรษฐกิจการเงิน ก็พบพาดหัวข่าว “ธปท. เบรกแบงก์แข่งเงินฝาก  ห้ามวิธีชิงโชค-จับฉลากล่อลูกค้า   หากจ่ายดอกเบี้ยขั้นบันได ต้องระบุผลตอบแทนต่อปีให้ลูกค้าทราบชัดเจน ...”   ก็เกิดความรู้สึกชื่นชมธนาคารแห่งประเทศไทย   ที่คอยทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์สาธารณะอย่างรู้เท่าทัน   และคิดว่าโฆษณาของ K Bank ข้างต้น ละเมิดคำสั่งของ ธปท.  เพราะไม่ได้ระบุอัตราผลตอบแทนต่อปี   แต่ใช้ถ้อยคำหลอกล่อให้เข้าใจว่าได้ดอกเบี้ย ๖% ต่อปี  
          นี่คือ media literacy ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้   ว่ามีมายาแฝงอยู่   การศึกษาไทยต้องฝึกให้นักเรียนเข้าใจมายาเหล่านี้   เพื่อให้เกิด life skills ในท่ามกลางดงมายาของโลกทุนนิยมเสรี   ที่บางครั้งจริยธรรมต่ำ
วิจารณ์ พานิช
๒๑ มี.ค. ๕๔
         
        
หมายเลขบันทึก: 435928เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2011 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท