อ่านออกเขียนได้ในช่วงชั้นที่หนึ่ง ด้วยจิตปัญญาศึกษา


เมื่อโหมดของชีวิตเป็นปกติ การอ่านออกเขียนได้ก็เป็เรื่องปกติ

ผมย้อนกลับไปว่าทำไมลูกชายคนโตของผมถึง
อ่านหนังสือได้ตั้งแต่อนุบาล 2 ทั้งที่โรงเรียนอนุบาล
เน้นการเตรียมความพร้อมเท่านั้น ครูที่สอนการอ่านเขียน
ก็น่าจะเป็นแม่ของเขานั่นแหละ ทุก ๆ ครั้งที่มีเวลาแม่ก็จะ
สอนเล่นเกมภาษา เล่านิทานให้ลูกฟัง ในบรรยากาศแห่ง
ความรัก โดยไม่มีแผนการสอน ไม่มีการเตรียมสื่อ ทุกอย่าง
ทำไปด้วยความรัก แต่สิ่งที่แม่ของเขามีก็คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง
เกี่ยวกับภาษาไทย หลังจากนั้นเขาก็รักภาษาไทยโดยอัตโนมัติ
สามารถอ่านหนังสือนิทาน และหนังสือของระดับป.1 ได้ตั้งแต่
อนุบาล 2 พอขึ้น ป.1 เขาสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ หรือบทความ
ที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่เขาชอบที่ยาวหลายหน้าได้ บรรยากาศที่อบอวล
ไปด้วยความรัก ทำให้พลังการเรียนรู้ของเขา

ผมเองก็เกือบที่จะทำลายเขา ด้วยความรีบร้อนด่วนได้
เคยตีมือเขา ตอนอยู่อนุบาล 2 ทั้งที่กล้ามเนื้อมือเขายังไม่พร้อม
ทำให้การเขียนหนังสือของเขาไม่ค่อยสวยจนถึงทุกวันนี้ เมื่อได้
เรียนรู้เรื่องโหมดปกติ และโหมดปกป้อง ผมไปขอโทษลูกทันที
ลูกแค่ได้ยินสิ่งที่ผมเล่าก็ร้องให้และจำวันนั้นได้แม่นมาก

ย้อนกลับไปที่โรงเรียนของผมในระดับช่วงชั้นที่หนึ่ง
มีนักเรียนที่อ่านได้ประมาณ เก้าิสิบห้าเปอร์เซ็นต์
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเีรียนชายขอบรอบ ๆ ทำไมนักเรียน
ของเราจึงอ่านออกเขียนได้ และมีพลังในการเีรียนรู้ภาษาไทย
ทั้งที่ใช้ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษาหลัก หลายปีที่ผ่านมาผมพยายาม
จัดบรรยากาศโรงเรียนให้ผ่อนคลาย และให้ครูที่ใจดี ใจเย็น มาสอน
ในระดับช่วงชั้นที่ 1 ผลแห่งความเข้าใจเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย
ให้กับเด็กเหมือนกับอยู่บ้าน ครูของผมส่วนใหญ่สื่อสารภาษากะเหรี่ยงได้
ความไว้วางใจต่อครู นั้นทำให้เกิดการอ่านออกเขียนได้ โดยที่ผมสังเกต
เวลาตรวจแผนการสอนส่วนใหญ่ไม่ได้สอนตามแผน มีแผนการสอนตาม
สำนักพิมพ์เอาไว้เพื่อส่งและให้หน่วยงานประเมินไว้ดูว่ามีเท่าันั้น
แต่ผลของการอ่านออกเขียนได้นั้นเป็นผลผลิตจากอะไรกันแน่
เมื่อก่อนก็ตอบได้ไม่ชัด มีหลายโรงเรียนมาศึกษาดูงานเรื่องการอ่านออกเขียนไ้ด้
ก็ตอบเขาไปตามทฤษฎีซึ่งก็ไม่ใช่ความจริงนั้น ๆ แต่ตอนนี้ผมสามารถตอบ
คำถามนั้นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ความผ่อนคลาย ความรัก และพื้นที่ปลอดภัย
ทางจิตวิทยา นั่นแหละก่อให้เกิดพลังการเรียนรู้

แม้ว่าโรงเรียนจะมีนักเรียนอ่านออกเขียนได้พอจะอวดได้บ้าง
แต่เรื่องคิดวิเคราะห์ คิดมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์นั้นยังทำไม่ได้
เพราะว่าพื้นที่ปลอดภัยของนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่สองและช่วงชั้นที่สาม
กลับลดลง มีการใช้การท่องจำรายวิชาทั้งแปด ซึ่งสร้างความเครียดให้กับ
นักเรียนพอสมควร ดังนั้นจึงพบว่า ความคิด ความอ่าน และพลังการเรียนรู้
ยังมีไม่เพียงพอ  สิ่งที่ผมแก้ไขก็คือ สร้างพื้นที่ความปลอดภัย พื้นที่กิจกรรม
ที่ให้นักเรียนได้แสดงออก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา การแสดง และกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่กระตุ้นความมั่นใจตามความถนัดของเขา ควบคู่กับการยัดเยียด
แบบอุตสาหกรรมซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ปีนี้โชคดีที่ได้เข้าอบรมจิตปัญญาึศึกษา ทำให้ผมตอบคำถามต่าง ๆ ได้มากขึ้น
รวมทั้งการใคร่ครวญในชีิวิตของผม ทำให้ระบบชีวิต อยู่ในโหมดแบบปกป้อง
ตั้งแ่ต่ประถมศึกษา ผมเป็นลูกกำพร้าสูญเสียความมั่นใจตั้งแ่ต่เด็ก ผลการเีรียน
ก็ท้ายห้องมาตลอด ต่อมาผมได้พบกับครูผู้เข้าใจนักเีรียน ทำให้ผมตัดสินใจ
ชีวิตของผมได้เอง พลังการเรียนรู้จึงกลับมา และกลายเป็นผู้หิวโหยความรู้อยู่
ตลอดชีวิต ไม่เคยหยุดนิ่งตั้งแ่ต่วันนั้น ผมไม่เคยอ่านหนังสือออกเลยตั้งแต่
สมัยประถม มาอ่านออกตอนมัธยมนี่เอง หลังจากโหมดชีวิตของผมกลับมาเป็น
ปกติ พลังการเรียนรู้ที่สถิตย์จนถึงทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดจากแผนการสอนของใคร
ไม่ได้เกิดจากการศึกษาแบบอุตสาหกรรม เกิดจากการศึกษาตลอดชีวิตภายใน
ของผมเอง   

 

หมายเลขบันทึก: 435859เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2011 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท