ผู้นำที่ดีต้องเจ็บปวด อดทน ดังเช่น โศกนาฏกรรมแบบเช็คเปียร์


ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่นี่

http://www.naewna.com/news.asp?ID=257656

ผู้นำที่ดีต้องเจ็บปวด อดทน ดังเช่น โศกนาฏกรรมแบบเช็คเปียร์ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

     สมัยผมเรียนหนังสือปริญญาตรีที่ Victoria University NZ มีวิชาบังคับวิชาหนึ่งคือ

English I ของ NZ ไม่ได้เรียนเขียนให้ถูกไวยากรณ์เท่านั้น แต่เป็นการเรียนบทละครและนิยามสำคัญๆ ของนักเขียนเก่งๆ เน้นวิธีการคิดและการสร้างพล็อต (Plot) โดยเฉพาะการเขียนของเช็คเปียร์ซึ่งเป็นการนำเอาตัวละครที่คนอ่านสงสาร เห็นใจเพราะมักจะเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม แต่ก็ถูกสถานการณ์พาชีวิตในเรื่องส่วนและงานที่ทำไปสู่โศกนาฏกรรม (Tragedy) ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด Shakespearean's tragedy โศกนาฏกรรมแบบเช็คเปียร์ ในละครมีหลายตัวที่เป็นบทเรียนให้เราถึงวันนี้ เช่น

"เรื่อง เวนิส วานิช (Merchant of Venice) อันโตนิโอ (Antonio) ยืมเงินจาก ไซล็อก (Shylock) นายหน้าเงินกู้ชาวยิว ถ้าผิดสัญญาต้องถูกตัดเนื้อ ซึ่งก็เป็นโศกนาฏกรรมที่น่าสงสารของอันโตนิโอ (Antonio) ที่จะช่วยเพื่อน บาสซานิโอ (Bassanio) ทำให้ผู้อ่านสงสาร เพราะคุณ Antonio เป็นคนดี"

เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาหนังสือบางกอกโพสต์ก็มีข่าวบุคคลระดับโลกชื่อ มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) ซึ่งเป็นนักพัฒนาระบบการเงินให้คนจนกู้ ตั้งธนาคารคนจนมีชื่อเสียง ชื่อ Gramin bank

ทำสำเร็จเป็นที่ยอมรับของคนในโลกว่าคนจนกู้เงินธนาคารและจ่ายคืนผู้กู้ ส่วนมากก็เป็นผู้หญิง คนชื่นชมสรรเสริญทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่อยู่ดีๆ ก็ถูกปลดจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารฯที่เขาก่อตั้ง ทั้งที่คุณยูนุสได้รับการยกย่องเป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2006 ทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติและคนจนในโลกมากมาย

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์, คุณศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

เหตุผลคืออะไร

* หลวงวิจิตร เคยพูดไว้ ทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย

* เมื่อปี 2007 ยูนุสคิดจะตั้งพรรคการเมือง มีคะแนนนิยมสูงด้วย ทำให้รัฐบาลระแวงไม่ชอบมีคู่แข่ง เลยหาเรื่องจัดการปลดคุณยูนุสออกจากผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรามีน ซึ่งคุณยูนุสเป็นผู้ก่อตั้ง

* หาเหตุผลว่ามีการใช้เงินที่รัฐบาลนอร์เวย์มอบให้ผิดวัตถุประสงค์ แต่รัฐบาลนอร์เวย์ก็ไม่ได้บอกว่าผิดจริยธรรมหรือมีการคอร์รัปชั่น แต่ใช้เงินผิดประเภทเท่านั้น เป็นแค่หลักการบริหารที่ผิดพลาด

ภาพจาก จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2554 Muhammad Yunus ฟังการตัดสินที่ศาลสูง ขอให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวปรากฏว่า ศาลสูงก็ไม่อนุญาตจึงเป็นบทเรียนในครั้งนี้

ประเด็นก็คือ ความดีกับอำนาจการเมือง ต้องระวัง อย่าให้ขัดแย้งกัน ถ้าคุณยูนุส ไม่คิดจะเล่นการเมืองก็คงไม่สร้างปัญหาให้ตัวท่าน ปัจจุบันถ้านักการเมืองมีคุณธรรมเหมือนในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือ Scandinavia คุณยูนุสอาจจะไม่ถูกปลดก็ได้

และผู้นำในบังกลาเทศก็กลัวคุณยูนุสเกินไป ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

บทเรียนครั้งนี้ให้เห็นว่า นักการเมืองมักจะเอาตัวรอดโดยใช้ข้าราชการประจำรับผิดชอบแทน ข้าราชการประจำที่ดีจึงถูกกระทบไปด้วยเหมือนในกรณีของอดีตปลัดกระทรวงการคลัง (คุณศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) ที่ถูก ป.ป.ช.ใช้มูลความผิดเพราะทำอะไรที่ผิด แต่นักการเมืองรอดตัวไป

แต่มีข้าราชการประจำ ไม่ทำตามรัฐมนตรีก็ถูกปลดเหมือนกัน แต่มีศักดิ์ศรีกว่าถูกปลดเพราะทำผิด คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เคยบอกว่าท่านยอมถูกย้ายหรือลาออกก่อนดีกว่า

กรณีตัวอย่างสุดท้ายคือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งกล้าหาญ เขียนจดหมายเตือนสติรัฐบาล พลเอกถนอม กิตติขจร ใช้ชื่อว่า นายเข้ม เย็นยิ่ง ว่ารัฐบาลของท่านไม่มีคุณธรรม จริยธรรมก็ถูกการเมืองกดดัน ตกที่นั่งลำบาก ทำให้บั้นปลายชีวิตต้องไปอยู่ต่างประเทศและเสียชีวิตในที่สุด แต่ท่านก็ทำเพราะ เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็เป็นตัวอย่างของโศกนาฏกรรมแบบเช็คเปียร์ในประเทศไทย

ชีวิตจริงกับบทละครของเช็คเปียร์ ก็คือเรื่องทำนองเดียวกัน ผู้อ่านโปรดวิเคราะห์ให้ดีในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์นี้ อ่านแล้วคิดด้วย และหลีกเลี่ยงการเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไม่คุณธรรมจริยธรรม

เพราะอะไรก็แล้ว แต่บางครั้งทำดีมักจะไม่ได้ดีเสมอไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 435849เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2011 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท