Physical therapy management in Musculoskeletal condition


Physical therapy management in Musculoskeletal & Neurological condition

       การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Physical therapy management in Musculoskeletal & Neurological condition” ระหว่างวันที่ 4-7 เม.ย.54 ณ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นระยะเวลาอั้นสั้นที่ได้พบปะกับเพื่อนวิชาชีพเดียวกันหลังจากห่างหายไปนานเกือบ 2 ปี

       วันที่ 4 เม.ย.54 เวลา 9.10 น. พี่โอ หรือคุณสมคิด เพื่อนรัมย์ นักกายภาพบำบัด รพร.กุฉินารายณ์ ได้บรรยายหัวข้อการพัฒนางานกายภาพบำบัดชุมชนในชุมชน พี่โอได้มาย้ำเจตนารมณ์ในการทำงานของนักกายภาพบำบัด ว่า ตอนนี้เราเน้นการทำงานด้านคลินิกใน รพช. เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ก่อนนักกายภาพบำบัดทำงานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด จึงเน้นการรักษาในคลินิกซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ นักกายภาพบำบัดจำนวนมากทำงานในรพช. บุกเบิกโดยรุ่นพี่นักกายภาพบำบัดได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคทำงานโดยใช้ฝีมือ จนกระทั่งหน่วยงานต่างๆได้เห็นสิ่งที่กายภาพบำบัดเป็น พี่โอยังแบ่งปันอีกว่า 8 ปีที่ผ่านมาเกิดความหวังใหม่ในวิชาชีพกายภาพบำบัด โดย สปสช.ได้มีจุดมุ่งหมายในการรุกเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายกลุ่มผู้พิการทางกายการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายในชุมชน สปสช.จึงได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการให้แก่นักกายภาพบำบัดรพช.เพื่อทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวโดยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในอัตรา 150 บาท/ครั้ง  150บาท/ครั้ง แลกกับค่าน้ำมันรถรพ.ออกพื้นที่ แลกกับกำลังกายนักกายภาพบำบัดยกแขน ขา ประคองเดิน สอนการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย แลกกับกำลังจิตกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตในสังคมอีกครั้ง แลกกับความหวังของคนหนึ่งคนจากเป็นกำลังหลักของบ้านกลับเป็นภาระให้กลับมาช่วยเหลือตัวเองได้ตามศักยภาพของตน 150บาท/ครั้งใช้อะไรเป็นเกณฑ์?? เงิน/ครั้งที่ฟื้นฟูฯไม่ได้สำคัญกับนักกายภาพบำบัดว่าต้องทำงานนี้หรือไม่ แต่มันสำคัญต่อการกำหนดบทบาทให้มีตำแหน่งนักกายภาพบำบัดขึ้นในโรงพยาบาลมากกว่า สาเหตุนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ รพช.บางที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัดประจำอยู่ 

           ตั้งแต่เวลา 10.15 น.ของวันที่ 4 – 7 เมษายน 2554 เป็นการเข้าเรียน Physical management in Musculoskeletal Condition อาจารย์ได้หยิบหัวข้อ Back pain management มาเพียงหัวข้อเดียว เหลือบดูเอกสารประกอบการบรรยายมีกว่า 200 หน้า กับระยะเวลาเพียง 4 วัน บรรยายโดย นักกายภาพบำบัดขั้นเทพ อ.สุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล ที่มีประสบการณ์การทำงานที่พิมพ์ไว้ 4 หน้ากระดาษ A4 จับใจความได้ว่าท่านเป็น Certified Ergonomic Assessment Specialist, USA Certified Schroth Therapist (Scoliosis), Germany โดยเนื้อหาที่บรรยายและฝึกปฏิบัตินั้นได้แก่ Spine anatomy & Biomechanics, Integrated model of function, Spinal examination, Muscle evaluation, Principle Syndrome of the spine, Mechanical Dx. of L-spine, Spinal surgery และ Mechanical therapy for surgical L-spine จับใจความเรื่องการดูแลตัวเองทั้งตัวนักกายภาพบำบัดและผู้มีความบกพร่อง(Disability) ทางกาย ด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ว่า ให้ correct position ในท่ายืน (สะกิดคนข้างๆ feedback ให้นะคะ) โดยให้เก็บคางเพื่อใบหูอยู่แนวตรงกับหัวไหล่เมื่อสังเกตจากด้านข้าง ปลายนิ้วกลางแตะตะเข็บข้างของกางเกง งอเข่าเล็กน้อย (Slightly flexion of knee) เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักตัวจากส้นเท้าอยู่หน้าต่อข้อเท้า ท่านั่ง(กับเก้าอี้) ข้อศอกงอ วางมือไว้ที่หน้าตักขาสองข้าง เท้าทั้งสองแตะพื้น เข่างอโดยให้อยู่หน้าข้อเท้าเล็กน้อยเมื่อสังเกตจากด้านข้าง โน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย และยืดตัวตรงหลังแอ่น (lordotic curve) ให้น้ำหนักตกอยู่ตรงกลางระหว่างขาหนีบสองข้าง (Pubic symphysis) เก็บคางเพื่อใบหูอยู่แนวตรงกับหัวไหล่ เพียงเท่านี้ก็สามารถบรรเทาหรือป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อได้ หากเราสามารถบังคับร่างกายต้านแรงโน้มถ่วงได้ แต่ถ้าหากใครที่ทำแล้วมั่นใจว่า correct position ได้ถูกต้อง สม่ำเสมอแล้วแต่ทำไมถึงปวดอยู่คราวนี้ท่านจำเป็นต้องให้นักกายภาพบำบัดตรวจดูแล้วว่าโครงสร้างร่างกายของท่านผิดปกติไปหรือไม่ อย่างเช่น เท้าแบน เข่าแอ่น กระดูกเชิงกรานบิด หรือขาสองข้างยาวเท่ากันหรือไม่ เพื่อหาวิธีแก้ไขในการป้องกันหรือการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่เกิดขึ้น

          การไปอบรมครั้งนี้ได้รับการบ้านมากมายที่เราควรใส่ใจดูแลอย่างจริงจังทั้งตัวเราและคนไข้ เน้นการให้ Home program มากขึ้น เพื่อให้คนไข้กลับไปช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดที่จะบรรเทาอาการและป้องกันการปวดซ้ำ อาจารย์ยังบอกอีกว่า ควรให้ความสำคัญเรื่องการออกกำลังกายเฉพาะส่วน(เหมือนช่างตัดเสื้อ๐_๐!!) มากขึ้น สอนให้คนไข้/คนดูแลปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องจริงๆ เค้าต้องอยู่ได้ด้วยตัวของเค้าเอง ทำให้ได้รู้ว่า นอกจากการได้เป็นนักกายภาพบำบัดแล้ว ยังต้องเป็นครูด้วยนะเนี๊ย ....>_<”

                                               กภ.นันทกร เนตรพระ รพช.มโนรมย์ จ.ชัยนาท

หมายเลขบันทึก: 435068เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2011 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพื่อนร่วมงานเราปวดหลังกันเยอะเลยเน๊าะ อ่านแล้วจะนำเรื่อง Correct Position ไปปฎิบัตฺกลัวเป็นโรคปวดหลังเหมือนกัน

พี่แหวว....

เห็นด้วยกับเรื่องการจัดท่ามาก เพราะปวดหลังเองด้วย สังเกตว่ามีบาง Position จะทำให้ปวดมากขึ้น พอหลีกเลี่ยงก็ดีขึ้นชัดเจน เช่นหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น, การนอนในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน(ดูทีวี) สองท่านี้ทำให้ปวดหลังมากขึ้น(จากประสบการณ์ตรง) ไม่รู้ใครเป็นแบบนี้มั้ย/ boss

ไม่เคยปวดหลัง แต่ลองทำตามดูแล้วมันตึงๆ เมื่อยๆ ชอบกลนะ/By Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท