ความมั่นคงทางอาหาร 23(ความกตัญญู)


เดือนเมษายน เป็นเดือนที่วาสนาอาม่า พุ่งปรีดมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น งานเข้าอีกตะหาก มีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แทบทุกวัน สิ่งสำคัญคือมาด้วยหัวใจที่เปิดรับประดุจแก้วน้ำที่หงายพร้อบรับน้ำ แม้แก้วนั้นอาจจะมีน้ำอยู่เต็มแล้ว ยังอุตส่าห์เทน้ำเก่าออก เพื่อรับน้ำใหม่ด้วยใจเบิกบาน มาด้วยความรักแผ่นดินเกิด มาเพราะอยากเรียนรู้ ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่อาม่าทำแค่เป็นเรื่องเล็กๆ เป็นการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ แค่รู้จักตัวเองรู้จักธรรมชาติ ดัดแปลงธรรมชาติรอบตัวให้เกิดประโยชน์ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ค่ะ ต้องปฏิบัติลงมือทำให้เกิดผล และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองให้ได้ ทำจนเป็นเรื่องปกติ จนเป็นความเคยชิน แต่กลายเป็นว่าโดนใจคนทั้งในเมืองและชนบท อาม่าเป็นครูเป็นอาจารย์ จะสอนอะไรใครต้องย้อนถามตัวเองเสมอว่า รู้พอหรือยัง ทำได้เพียงไหน พอที่สอนใครๆ ได้หรือยัง ต้องทบทวนปรับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผลเชื่อถือได้แค่ไหน หากพูดแล้วไปแล้วสอนไปแล้ว ไม่ทำมันก็ไม่เกิดผล หากทำแล้วเกิดมีปัญหา ก็จะเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นเรื่องถ้าทายให้ใช้สติปัญญามาแก้ไข ก่อให้เกิองค์ความรู้ใหม่ จากการลงมือปฏิบัติจริง อาม่าตั้งใจจะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชนบท ที่มีอาชีพเป็นเกษตรส่วนใหญ๋ และพูดให้เห็นภาพรวมของความสำคัญทางด้านอาหาร ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรามีธรรมชาติที่เหมาะแก่การทำการเกษตรเราอยู่ในเขตร้อนชื้น มีน้ำ มีแสงแดดทุกเดือน.. หากเราเข้าใจธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อธรรมชาติ ธรรมชาติก็ตอบแทนเราด้วยผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ อย่าว่าแต่พอเพียงเลย ถึงขั้นเหลือกินเหลือใช้ด้วยซ้ำ ด้วยวิถีชีวิตดั้งเดิมที่งดงามสอดคล้องกับธรรมชาติ ก็จะมีกินมีใช้อย่างสุขสมบูรณ์ มีน้ำใจเอื้ออารี แบ่งปัน นั่นคือรางวัลสำหรับคนกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน แต่การพัฒนาประเทศที่ขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง ผลที่ปฏิบัติมิชอบต่อธรรมชาติตัด เผา ทำร้าย ทำลายธรรมชาติ ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น ใช้สารพิษทำลายชีวิตพืชสัตว์ ของคนส่วนน้อย แต่ผลร้ายถูกธรรมชาติลงโทษ เนื่องจากธรรมชาติสูญเสียดุลภาพ ความพินาทก็เกิดขึ้น เดือนร้อนกันสาหาสากันกับคนเป็นจำนวนมากมาย ไม่ว่าภัยพิบัติจากความแห้งแล้ง- น้ำท่วม ล้วนเป็นบทเรียนที่น่ากลัว ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์มหาศาล เราต้องหันมาใส่ใจและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างจริงจัง เริ่มจากจุดเล็กๆ อาม่าทำในจุดเล็กๆ ระดับหมู่บ้านตำบล ซึ่งอาม่าได้ทำมาได้ระดับหนึ่งแล้ว และคนในชุมชนเขาพร้อมเรียนรู้พร้อมลงมือทำ เขาอยากเรียนรู้อะไร อาม่าก็จะจัดหามาให้ เมื่อนเรียนรู้แล้วเข้าใจแล้ว เกษตรกรลงมือทำทันที อาม่าก็ชื่นใจ แล้วสร้างความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อันดับแรกเราต้องมีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอ ต้องมีเมล็ดพันธุ์พืช-สัตว์ทุกชนิดที่เรากิน สำรวจและเข้าใจธรรมมชาติจุดอ่อนจุดแข็งของธรรมชาติ พยายามแก้ไขฟื้นคืนธรรมชาติให้ดินให้น้ำหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาม่าก็หาเครือข่ายจากสถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ให้พอเพียงเพื่อปรับฟื้นดินให้มีชีวิต ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ บำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณด้วยวิธีทางธรรมชาติ ที่ยั่งยืนด้วยความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง โดยน้อมนำและปรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างสมเหตุสมผล เหมาะกับภูมิสังคมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการทำการเกษตรประณีต อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน เราไม่อดตายหากหันมาใส่ใจกู้แผ่นดินให้ฟื้นคืนสู่สภาพสมดุลย์ ทำให้ดินมีชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั้งยืนตลอดไปด้วยการลงมือทำค่ะ

หมายเลขบันทึก: 435033เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2011 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ'อาม่า'

แวะมาชื่นชมและเป็นกำลังใจให้อาม่า...

แนวคิดน่าจะคล้ายๆกัน...เสียดายที่อยู่ไกล...

ถ้าอยู่ใกล้คงต้องตามไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นลูกศิษย์'อาม่า'แน่ๆเลย

น่าเสียดายที่Ico48 ดร. พจนา - แย้มนัยนา

อยู่ไกล กลับมาเมืองไทยเมื่อไหร่ก็ตงได้เจอกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท