ภาษิตล้านา(คำบ่าเก่า) "แม่น้ำบ่มีฝาย ข้าวจ๊างต๋ายแดด


แม่น้ำบ่มีฝาย ข้าวจ๊างต๋ายแดด

คำอ่าน  แม่น้ำบ่มีฝาย ข้าวจ๊างต๋ายแดด

ศัพท์     ฝาย  คือ ฝายน้ำล้น

           จ๊าง   คือ มักจะ  

อธิบาย   การทำนาต้องอาศัยน้ำมากตั้งแต่เริ่มลงมือไถ  หว่าน ดำนา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลานาน ๔ เดือน  แหล่งน้ำต้องมาจากแม่น้ำ ชาวนาต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแบ่งน้ำเข้านาตนเองโดยการทำฝายกั้นน้ำ เพื่อแบ่งน้ำจากแม่น้ำสายใหญ่เข้าลำเหมือง และเหมืองใส้ไก่  เข้านาของชาวนาทุกๆคน  ถ้าทำนาโดยไม่มีน้ำก็จะทำให้ข้าวแห้งตายโดยง่าย เป็นการลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ ประสบปัญหาการขาดทุน

ความหมาย  การทำงานใดๆก็ตาม ถ้าไม่ไตรตรอง ไม่มีเหตุผล มักจะเกิดผลเสียหายภายหลัง หรือเป็นคนลุแก่อำนาจ

คำสำคัญ (Tags): #ฝาย#จ๊างต๋าย
หมายเลขบันทึก: 435006เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์สนั่น  บุญมี
  • ขอบพระคุณสำหรับความเมตตาที่แวะไปทักทายและมอบดอกไม้
    ในหลายบันทึกของธรรมทิพย์
  • แวะมาทำความรู้จัก  ศึกษาเรียนรู้ภาษิตล้านนาที่ทรงคุณค่าและน่าสนใจ
  • ด้วยจิตคารวะค่ะ

สวัสดีเจ้า

อนุญาตินำกำเมือง ไปแนะนำฮื้อนักเรียนฮู้จักตวยเน้อเจ้า

ละอ่อนบ่าเดี่ยว เขาบ่ไค่ฮู้จักกำเมืองเต้าใดนัก

ต้องจ้วยกั๋นอนุรักษ์ไว้ ..เนาะเจ้า

ขอบคุณเจ้า

ยินดีจ๊าดนักครับอาจารย์ที่เอามาแบ่งกันฮู้ ผมจะได้เฮียนไปตวยครับ อยู่บ้านเวลาผู้ใหญ่อู้หยัง ผมกะฟังบ่เข้าใจ๋ พ่อผมปอไล่ไปเฮียนใหม่ บอกว่าฮู้ไปกะตางหน้า ตางหลังกำบะเก่าหยังบ่หามาใส่ไว้พ่อง.................. นี่ล่ะหนา มีหยังกะชอบเอาลูกไปอยู่โฮงเฮียนใหญ่ เถิงเวลาเพิ่นบ่สอนกำเมือง ตานี้ละ ละอ่อน(เฒ่า)อย่างผมเลยโดนสวดเลย ฮ่าๆๆ

ล้านนาก่อนนี้ มีชื่อเสียงไกล๋ แคว้นศิวิไลซ์ แผ่นดินใหญ่กว้าง

คนเก่าโบราณ ขยันสรรสร้าง กึ๊ดเป๋นตั๋วอย่าง เฮาไว้

ควรที่ลูกหลาน สืบสานเอาใจ๊ เพื่อจั๊กอยู่ได้ ไปนาน

ขอบคุณทุกท่าน ที่มาเอ่ยขาน เพื่อพัฒนางาน ต่อไปปายหน้า

ต่อไปปายหน้า

...ขอขอบคุณทุกๆท่าน นักๆเน้อครับ..

พ่อหนานสนั่นครับ ผมตวยไปผ่อฮูปแป๋งฝายมา(บล็อกของพ่อหนานพรหมมา) แต่บ่ฮู้ว่าเพิ่นยะฝายอะหยังกั๋นครับ จากตี้อ่านข้อมูลของพ่อหนานพรหมมา เดาว่าเป๋น"แต"แม่นก่อครับ

สวัสดี ท่านขนานวัฒน์

  1. ฝาย (ในที่นี้)หมายถึง สิ่งที่ชาวนาได้ระดมภูมิปัญญาชาวบ้านมาแป๋ง โดยใช้หลักไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑ เมตรจำนาวนมากๆ ตอกขวางลำเหมืองใหญ่ แล้วนำท่อนไม้ใหญ่ ๆ และกิ้งไม้  ก้อนหิน  ดิน  วางทับกันขวางเป๋นชั้น ๆ เพื่อให้น้ำที่หน้าฝายมีระดับสูง ปริมาตรมากขึ้น
  2. เมื่อระดับน้ำหน้าฝายสูงก็สามารถแบ่ง ผัน ไปสู่ลำเหมืองใส้ไก่หลายๆ เหมือง
  3. ลำเหมืองใส้ไก่ มี ๒ แบบ   คือ                                                            ๓.๑ เหมืองใส้ไก่เล็กแบ่งน้ำเข้านาแปลง ๑-๒ แปลง(ไม่มีแต)                      ๓.๒ เหมืองใส้ไก่ขนาดกลาง-ใหญ่ แบ่งน้ำเข้านาหลาย ๆ แปลง(ต้องทำแตแบ่งน้ำอีก)
  4. แต หมายถึง ทำนบเล็ก ๆ สร้างขึ้นเพื่อแบ่งน้ำเข้านา ๓ แปลงขึ้นไป... ครับผม

 

 

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท