การศึกษาคือเกมส์ชนิดหนึ่ง ที่ไม่ท้าทาย


โลกแห่งสังคม คือโลกแห่งเกมส์
เกมส์ คือ สถานการณ์ที่ต้องมีการแข่งขัน
เพื่อให้เกิด การแพ้ การชนะ
การเล่นจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการเล่น
มีการกำหนดวิธีกติกาที่เล่น มีคนเล่น
มีเป้าหมายของเกมส์ มีบรรยากาศของการเล่น

เป้าหมายของเกมส์ที่สุดแล้วก็คือ ใบรับรองของ
ผู้มีอำนาจว่า สามารถผ่านด่านของเกมส์เพื่อนำใบรับรอง
นั้นไปทำมาหากิน ตามอำนาจของใบรับรอง
ดังนั้นเป้าหมายของเกมส์จึงไม่ใช่ความสุขระหว่าง
การเล่นเกมส์ 

เกมการศึกษา แข่งขันเพื่อ อะไรกัน แข่งขันเพื่อที่จะ
เข้าไปสู่คะแนนสูง หรือโค้งปกติด้านหน้า เพื่อจะให้
คะแนนนั้น ๆ ปรากฎแต้มในใบรับรองนั้น

เกมการศึกษาชนิดนี้ แยกผู้ชนะและผู้แพ้ ตามกติกา
จากการวัดประเมิน ซึ่งจะมีผู้ชนะเพียง สิบเปอร์เซ็นต์
จะปล่อยให้คนแพ้ถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์

กลยุทธ์ของเกมการศึกษานั้นมีอยู่หลายอย่าง ได้แก่
วิธีการตามปกติก็คือ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับ
กรรมการ เพื่อให้แต้มของเกมส์มีคะแนนนำ ใช้การให้
สินบนกับกรรมการ เช่นการเรียนพิเศษมีผลต่อแต้มคะแนน
ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจการบำรุงเลี้ยงดี มีผลต่อการเล่นเกม

ความท้าทายต่อเกมนั้นไม่มี ไม่มีการจูงใจ เป็นการแข่งขัน
ที่ไม่มีความสุขระหว่างเล่น เป็นการบังคับให้เล่น

กติกาการเล่นก็คือการปฏิบัติตามกฎของการแข่งขันจากภายนอก
ไม่ได้ตั้งกติกาเล่นเอง ท่าทีต่อกรรมการ จะเป็นผู้คุมกฎการเล่น
ที่จะละเมิดไม่ได้ หน้าที่ของกรรมการสนใจการคุมกฎ มากกว่า
ชีวิตของคนเล่น ความสุขของคนเล่น เมื่อมีคนใดเล่นนอกกติกา
ก็จะถูกลงโทษ กติกานี้ผู้เล่นไม่มีสิทธิ ไม่มีทางเลือกอันใดใน
การเล่นเกมนี้ แม้แต่จะตั้งกติกาใหม่ ๆ

จะว่าไปแล้ว กติกาของเกมการศึกษาที่เล่นกันนี้ ได้ถูกสร้างขึ้น
จากผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ แห่งที่ลงลึกกันไปคนละทาง กำหนด
กติกาที่มีความละเอียด และก็ฝึกอบรมกรรมการให้ควบคุมการเล่น
แบบควบคุมให้ละเอียด ต้องทำให้เครียดเหมือนกับกำจัดจุดอ่อน

วันหนึ่งมีผู้ตั้งคำถามกับเกมนี้ว่า ทำไมไม่ให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมในการ
กำหนดกติกาและควบคุมเกมเอง ผู้เชีี่ยวชาญการเล่นเกมบอกว่า
ไม่ได้จะต้องเดินตามเกมนี้เป็นเรื่องถูกต้องแล้ว  จากความรู้สึก
ประหลาดที่ยิ่งเล่นก็ยิ่งเครียด ทำให้หลายคนก้าวออกจากเกม
ไปสร้างกติกาของเกมใหม่ หาผู้เล่นใหม่ ๆ หลายคนก้าวเข้าสู่
เกมส์ที่เร้าใจกว่า คือร้านเกมส์ การก้าวของเขาไปยังร้านเกมส์
น่าสนใจกว่าเกมการศึกษานั้นมาก อาจเป็นเพราะการตัดสินใจ
ไปให้พ้นจากกรรมการคุมเกมส์ ไปเล่นเกมส์เอง

ส่วนกรรมการทั้งหลาย ก็เป็นผู้เล่นเกมส์ตามกติกานั้นมาและก็
ได้ใบรับรองว่าเล่นเกมส์เสร็จแล้ว เขาจึงได้รับจ้างเป็นกรรมการต่อ
จึงวนเวียนอยู่ในเกมส์นั้น วิธีการง่ายที่สุดสำหรับผู้คุมเกมส์ก็คือ
บอกทางเดินในเกมส์ แล้วทำหน้าที่ส่งต่อไปยังกรรมการคนอื่น ๆ

ไม่มีใครบอกว่า เราสามารถวิพากษ์เกม วิพากษ์คน ได้ เราสามารถ
เปลี่ยนกติกา หรือรูปแบบการเล่นได้ เช่นให้ผู้เล่นเกมคิดได้เอง
เป้าหมายอาจไม่ใช่ใบรับรอง แต่เป็นความสุขจากการเล่นเกม

ดังนั้น เมื่อทราบกลยุทธ์ กลวิธีของเกม เราก็สามารถก้าวข้าม
หรือสร้างกติกาใหม่ ๆ ได้ ปรับวิธีการเล่น เปลียนเป้าหมาย
ก็จะทำให้เกมนี้มันท้าทายได้

บางทีเด็กที่ไปเล่นร้านเกมส์อาจเห็นความท้าทายของกติกาใหม่
วิธีการเล่นใหม่ ๆ จนลืมร้านเกมส์ไปเลยก็ได้

คำสำคัญ (Tags): #เกมการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 434538เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2011 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

I like the idea of 'learning' as 'challenge'. Learning is a step in winning. Another step is actually 'doing'. Dreaming only works in sleep, doing works when real life. ;-)

ผมเห็นด้วยนะครับ และผมก็ใช้หลากหลายวิธีในการส่งเสริมการเรียนรู้ของสมาชิกครับ

อ่านเรื่องการศึกษาที่ท่านผอ.เชื่อมโยงกับเกมส์แล้วรู้สึกว่าเกมส์การศึกษาในอนาคตอาจจะเร้าใจผู้เรียนได้จริง ถ้าผนวกกับเรียนรู้แล้วฝากธนาคารเป็นการสะสมความรู้เพื่อความสำเร็จตามความถนัดและอาจจะทำให้มีความสุขมากกว่าเกมส์ที่บังคับให้ทุกคนต้องเล่นแม้ไม่ชอบหรือไม่ถนัดก็ต้องเล่นให้จบเกมส์และเมื่อจบเกมส์ผลที่ได้มาคือใบรับรองว่าผ่านเกมส์ แต่จะลึกซึ้งหรือไม่ยังบอกไม่ได้ หากเล่นไม่จบก็ไม่ได้ใบรับรองซึ่งต้องออกมาเล่นเกมส์ทางสังคมที่ยากยิ่งขึ้นจริงหรือเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท