ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาชาติที่ 11 มาถูกทาง แต่ต้องปฏิบัติได้ผล และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 64 ล้านคนจริงๆ


ติดตามอ่านบทความแนวหน้าย้อนหลังได้ที่

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาชาติที่ 11 มาถูกทาง แต่ต้องปฏิบัติได้ผล และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 64 ล้านคนจริงๆ

 
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้ไปร่วมทำประชาวิจารณ์ของสภาพัฒน์ เพื่อร่างแผน 11 และเป็นประธานกลุ่มย่อยฝ่ายเศรษฐกิจ

ต้องยอมรับว่า แผนพัฒนาช่วงหลังๆไม่ได้รับการยอมรับมากนักจากประชาชนทั่วไป เพราะ

* แผนเน้น Macro ภาพใหญ่

* ยังไม่ได้วัดผลอย่างจริงจัง

ต้องยอมรับว่า หน่วยงานวางแผนของชาติแห่งนี้ มีประสบการณ์มากที่ช่วยทำให้ประเทศก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง จุดแข็งคือ สามารถมองปัจจัยความเสี่ยงรอบด้านได้ดี มีตัวเลขยืนยันได้ เขียนแนวนโยบายและยุทธศาสตร์กว้างๆได้ผลดี

จุดอ่อนอาจมี 2 – 3 เรื่อง

1. นำไปปฏิบัติ ระดับ Micro ไม่สำเร็จ กระทรวงต่างๆตอบรับ แต่แปรเป็นนโยบายระดับกระทรวงได้ลำบาก ยกเว้นกระทรวงพาณิชย์ที่มีแผนระดับกระทรวงฯขึ้นมารองรับแผนของชาติ เป็นครั้งแรก

2. ยุทธศาสตร์แต่ละฝ่ายแยกออกจากกันมากเกินไประหว่าง

* เศรษฐกิจ

* สังคม

* สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต



สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นประธานย่อยกลุ่มเศรษฐกิจ ในการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยมีคณะอนุกรรมพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ เช่น ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท คุณวีระชัย กู้ประเสริฐ คุณมนตรี พงษ์พันธุ์และคุณศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ร่วมด้วย ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา



ยุทธศาสตร์ เช่น ทางเศรษฐกิจ มีโครงสร้างการผลิตใหม่ๆก็จริง แต่จะขับเคลื่อนโครงสร้างเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จก็คงไม่ง่ายนัก

ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ 2 เรื่อง

1. เศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนและเศรษฐกิจฐานความรู้

2. การร่วมมือระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจต่างประเทศทั้ง ASEAN และอื่นๆ

เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง คือ ภาคเกษตร บริการและภาคอุตสาหกรรมและภาคราชการและรัฐวิสาหกิจด้วยต้องปรับตัวให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ทุกๆสาขาเพื่ออยู่รอด ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ไม่มีใครขัดแย้งไม่เห็นด้วยกับทิศทางนี้ แต่จะทำอย่างไรให้สำเร็จและประชาชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ผู้ร่วมประชุมส่วนมากจะเน้นเรื่อง คน หรือ ทุนมนุษย์ ส่วนใหญ่ แต่ปรากฏว่ายุทธศาสตร์ เรื่องคนไปอยู่ในยุทธศาสตร์ด้านสังคมไม่รวมอยู่ในยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่เป็นการแบ่งแยกวิธีการคิดอย่างเป็น Silo หรือ Function ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้มักจะไม่ได้ผลเพราะจะต้องใช้ยุทธศาสตร์เหล่านั้นเชื่อมโยงกันเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จได้ผลมากยิ่งขึ้น

น่าสนใจว่าในที่ประชุม ช่วงที่ผมเป็นประธานอยู่ก็มีข้อคิดเห็นหลายๆอย่างที่จะช่วยให้สภาพัฒน์นำไปพิจารณาอย่างเป็นรูปธรรม

เรื่องแรกคือ เศรษฐกิจฐานความรู้ คงจะต้องเน้นว่า นอกจากความรู้แล้วคงจะต้องมาดูว่าคนไทยแสวงหาความรู้อย่างไร และต้องนำความรู้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ซึ่งการแสวงหาความรู้ วิธีแรกมักจะไม่ได้ผล คือ

* เรียนให้มากๆ เอาประกาศนียบัตรมาประดับข้างฝา

* Copy หรือลอก ท่องจำเป็นหลัก

วิธีที่ 2 เรียนเพื่อให้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างสังคมการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต ภาษาที่ใช้มีทั้งอังกฤษและจีน มีศักยภาพในการใช้ IT ทั้ง Internet และ Facebook ซึ่งวิธีที่สองประเทศไทยจำเป็น แต่ทำไม่ได้ดี

วิธีที่ 2 นำการเรียนไปหาความจริง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่ม ศักยภาพของมนุษย์เพิ่มขึ้น

จุดอ่อนก็คือ ถ้าปล่อยให้ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์แบบเพิ่มปริมาณ แบบวิธีที่ 1 ทุกอย่างที่สภาพัฒน์คิดไว้ เรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้ก็ไม่มีผลสำเร็จ แต่จะล้มเหลวเพราะไม่ได้เชื่อมโยงกับทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

ดังนั้น คณะอนุกรรมพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีสมาชิกหลายท่านไปร่วมประชุม เช่น ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท คุณวีระชัย กู้ประเสริฐ คุณมนตรี พงษ์พันธุ์และคุณศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ได้เสนอให้สภาพัฒน์สนใจ ยุทธศาสตร์เรื่องทุนมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยเน้นเสนอแผนสร้างสภาพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจระดับชาติไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ด้วย

สภาพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาธุรกิจระดับชาติจะเป็นองค์กรที่ทำให้ทุนมนุษย์ของภาคธุรกิจ ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม บริการ เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้และมีศักยภาพดังต่อไปนี้

* ความใฝ่รู้

* การคิดนอกกรอบ

* การคิดอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม

* การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

* การเรียนอย่างมีความสุข

* การมีทุนทางปัญญา

หวังว่าผู้ร่างแผน จะเน้น Micro เพิ่มขึ้น คงจะรับไว้พิจารณาและเปิดโลกในการเรียนรู้ ข้ามศาสตร์ให้มากขึ้น โดยเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติในทุกๆสาขาเศรษฐกิจดังกล่าว

ถ้าทุนมนุษย์ของประเทศได้รับการดูแลอย่างแท้จริง ประชาชนคนไทยจะได้รับประโยชน์จากแผนพัฒนาที่ 11 อย่างแน่นอน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 434030เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2011 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท