การจัดการความรู้ + การทำงาน + การเรียน


     ดิฉันนั่งคิดทบทวนชีวิตในช่วงระยะเวลาหลายๆ เดือนที่ผ่านมานี้ รู้สึกว่าชีวิตมี KM แทรกซึมเข้ามาเกือบจะทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทั้งการทำงานจากที่เริ่มต้นที่ดิฉันได้รู้จักกับ KM ก็มั่นใจว่า KM มีประโยชน์กับผู้ที่รู้จักนำไปประยุกต์ใช้ และก็ทำหน้าที่เป็นเพียงคนที่คอยสนับสนุน ส่งเสริมให้คนในมหาวิทยาลัยได้รู้จักกับ KM เพราะเชื่อว่าใครที่ได้ทำความรู้จักกับ KM อย่างครบถ้วน ขอนิยามคำว่าครบถ้วนในความคิดของดิฉัน คือ
     เข้าร่วมกิจกรรมที่มีกระบวนการของ KM อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบอย่างเปิดใจและใคร่อยากรู้ซึ่งในทุกครั้งที่ QAU จัดโครงการ KM จะมีการแนะนำเอกสารที่ผู้เข้าร่วมควรอ่านมาล่วงหน้าโดยเอกสารบางตัวเราก็จะได้สำเนาส่งไปพร้อมให้กับหนังสือเชิญและบางตัวเราก็จะแนะนำให้ไปอ่านใน blog บ้างซึ่งจะเป็นการดีถ้าผู้เข้าร่วมมีพื้นฐานมาบ้างเพื่อให้การดำเนินกระบวนการมีความราบรื่นและไปได้พร้อมๆ กันมากขึ้น หลังจากจบโครงการหากรู้สึกว่าตัวเองยัง งง งง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติค่ะ) หรืออยากได้ความแม่นมากขึ้นก็ควรหาตำราอ่านเพิ่มเติม ซึ่งหากจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริงๆสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เข้าร่วมนำ KM ไปปรับใช้กับงานและกิจกรรมในหน่วยงานของตนเอง
     ขั้นตอนที่ดิฉันกล่าวมาข้างต้นดิฉันเชื่อว่าทุกท่านน่าจะเห็นด้วยว่า KM ไม่เหมือนใครทำไม่ยากแต่มีประโยชน์กับตัวเอง มหาวิทยาลัย และสังคมไทยมากเพียงใดขอเข้าเรื่องตามหัวข้อบันทึกต่อนะคะ ช่วงที่ผ่านมาดิฉันเองทำหน้าที่ตามที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าแรกโดยที่ลืมนึกถึงว่าตัวเองได้อะไรบ้างจากการเข้ามาเกี่ยวข้องกับ KM ซึ่งพอมารู้ตัวอีกทีก็รู้สึกว่าดิฉันกับ KM กำลังผูกพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกโดยไม่ทันรู้ตัวซัก 2 ข้อที่เกิดในระยะเวลาไม่กี่วันมานี้ 

     ความเกี่ยวข้องที่ 1 ตามที่ดิฉันเคยเล่าว่า ดิฉันกำลังเรียน ป.โท สาขาการประกันคุณภาพการศึกษา <อ่านที่นี่ค่ะ> และเทอมนี้ดิฉันจะต้องเรียนวิชาเลือก “วิจัยสถาบัน” โดยมีท่าน ดร.ปกรณ์ ประจัญบาน เป็นผู้สอน (ท่านอาจารย์เป็นอาจารย์ผู้สอนที่มีความตั้งใจในการสอนค่อนข้างมาก อาจารย์จะลงรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ พร้อมกับยกตัวอย่างให้เห็นภาพ) ซึ่งอาจารย์มีวิธีการสอนเนื้อหาควบคู่ไปกับการที่ให้เราได้ทำวิจัยสถาบันจริงๆ โดยแจ้งให้นิสิตได้ทราบว่าเมื่อจบการเรียนการสอนในรายวิชานี้นิสิตจะต้องทำวิจัยสถาบัน 1 หัวข้อเพื่อส่งอาจารย์ ซึ่งตอนนั้นดิฉันและคุณโอ (รัตน์ทวี) ก็ตัดสินใจที่จะทำวิจัยสถาบันเกี่ยวกับ “การศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) ในมหาวิทยาลัยนเรศวร” ซึ่งก็จะต้องทยอยทำในส่วนต่างๆ ส่งให้อาจารย์ให้คำแนะนำและแก้ไขหากพบข้อผิดพลาด และอาจจะด้วยความบังเอิญ เมื่อวาน (วันศุกร์ที่ 4 ส.ค. 49) ท่านอาจารย์วิบูลย์ก็เกิดแนวความคิด (ซึ่งจริงๆ แล้วท่านก็คิดมานานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการสานต่อ) โดยให้เราชาว QAU 5 ชีวิต ทำวิจัยสถาบันคนละ 1 เรื่อง ภายในปลายเดือนธันวาคมนี้ (ดิฉันจะได้นำมาเล่าในรายละเอียดต่อไปค่ะ) 

     ความเกี่ยวข้องที่ 2 เมื่อวันศุกร์ (4 ส.ค.) อีกเช่นกันที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เชิญอาจารย์รุจโรจน์ และอาจารย์เทียมจันทร์มาพูดคุยกันอีกครั้งเพื่อเตรียมงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ของเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคเหนือ” ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ซึ่งหลังจากการพูดคุยอาจารย์รุจโรจน์ได้ฝากการบ้านให้ดิฉันหาข้อมูลเกี่ยวกับ “การสังเกต” มากฝากสมาชิกกลุ่มของเราที่จะต้องไปทำหน้าที่เป็น observer และเมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ (5 ส.ค.) ดิฉันเรียนในวิชาวิจัยสถาบัน ซึ่งกำลังเรียนถึงหัวข้อ “ชนิดของเครื่องมือวิจัย” ที่นิยมใช้ 5 ชนิด ดิฉันขออนุญาตส่งการบ้านอาจารย์รุจโรจน์ทางนี้นะคะ 
      การสังเกต คือ การที่ผู้สังเกตใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างในการรับรู้ข้อมูลหรือพฤ ติกรรมการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นข้อมูล (เป็นการเก็บข้อมูลเชิงพฤติกรรม) โดยการสังเกตแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
     1.  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) - เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ หรือเข้าไปเป็น สมาชิกในกลุ่มผู้ถูกสังเกต - ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว - ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีความลึกซึ้งในรายละเอียดมาก - ใช้ร่วมกับการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ
     2.  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Nonparticipant Observation) - เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ถูกสังเกต - ผู้ถูกสังเกตอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ - ถ้าผู้ถูกสังเกตรู้ตัว อาจทำให้ได้ข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความจริง - มักใช้ร่วมกับการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ
     ข้อแนะนำในการสังเกต
     1.วางแผนล่วงหน้าอย่างรัดกุม
     2.ดำเนินการอย่างเป็นระบบ เช่น กำหนดช่วงเวลาสังเกต เทคนิค เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงกับความจริง
     3.มีความอดทน มุ่งมั่น มีสมาธิ ละเอียดถี่ถ้วน เที่ยงธรรม ไม่มีอคติ  
     4.ฝึกฝนบ่อยๆ

     ดิฉันคิดว่ายังมีความเกี่ยวข้องกันอีกหลายอย่างระหว่างการจัดการความรู้ การทำงาน และการเรียนของดิฉันที่ยังไม่ได้ถูกสมองแยกออกมาเห็นได้ชัดๆ อาจเป็นเพราะมันผูกกันอยู่อย่างอีรุงตุงนัง  ยังมีคำถามอีก 1 คำถามที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เคยถามสมาชิกชาว KM และท่านอาจารย์วิบูลย์ถามดิฉันว่า “ทำ KM แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ซึ่งคำตอบนี้ถ้าชาว NUKM ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยกันตอบคงจะเป็นการ ลปรร. ที่ออกรสออกชาติจน notetaker จดไม่หวัดไม่ไหวแน่ๆ เลยค่ะ
    
หมายเลขบันทึก: 43397เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นบันทึกที่ได้ทั้งสาระและความกันเอง ขอบคุณ"คุณตูน"สำหรับความรู้สึกดีๆที่เกิดจากการอ่านบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณ คุณโอ๋-อโณ มากนะคะ  ติดตามอ่านบันทึกของคุณโอ๋อยู่บ่อยๆ เหมือนกันค่ะ

ได้รู้ ได้เรื่อง ดีมาก

จะขอตามอ่านนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท