เพ็ญ มะปราง โมเดล ต้นแบบการทำงาน เภสัชกรรมปฐมภูมิ


เพ็ญ มะปราง โมเดล 

โดย ภก.ศุภรักษ์ ศุเอม

             คือ โมเดลต้นแบบการทำงาน ของเจ้าหนักงานเภสัชกรรมชุมชน  ในการทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ โมเดลนี้ ถูกออกแบบโดยการทดสอบ การทำงานชุมชนแบบติดดินของเภสัชกรแกะดำ(เภสัชเอก)   โดยได้ทำการทดสอบ ที่บ้านศรีสุข  และบ้านหนองแต้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก    เนื่องจากโมเดล  สามารถทำงานด้านบริบาลปฐมภูมิได้อย่าง ลงตัว  จิตอาสาที่ร่วมงานก็พอใจ   และมีความสุขในการทำงาน  ผู้ป่วยก็พึงพอใจบริการของเภสัชกรในระดับสูงมาก   และเป็นที่รู้จักในผู้ป่วยเป็นอย่างดี   เนื่องจากโมเดลนี้ เป็นการทำงาน  เพื่อ ช่วยเหลือผู้ป่วย คนทุกข์ คนยาก ไม่ใช่ เป็นโครงการที่ทางการเขาสั่งมาว่า   ทำให้  ประชาชน  ในพื้นที่ยอมรับสูงมาก  ถึงแม้ว่าระบบราชการจะไม่เอื้อ ให้เกิดระบบแบบนี้ก็ตามที    โดยจุดเด่น ของเพ็ญมะปรางโมเดลมีดังนี้

1 การที่ลงพื้นที่ต้องทำงาน ติดดิน ลงไปคลุกคลี กับชาวบ้าน ทุกชนชั้น

2 มีการนำเครื่องสำรวจชุมชน 7 ชิ้น ของสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพมาใช้เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาชุมชน  ในมิติด้านวัฒนธรรมสุขภาพกับการเยียวยาผู้ป่วย

3 มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชาวบ้านและผู้ป่วย โดยไปทำงานด้วยใจรักและหวังดีต่อชาวบ้านจริงๆ  ตรงนี้เสแสร้งไม่ได้  เพราะชาวบ้านจะรับรู้ถึงความจริงใจในการทำงาน

4 มีการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และจิตอาสาในชุมชน  ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานด้วยความสามัคคี  สนุกสนานและไว้วางใจกันได้

5 การทำงานของเจ้าหน้าที่  ต้องคอยเป็นโค้ช สอนงาน  จัดหาทรัพยากร  และให้กำลังใจจิตอาสาในชุมชน  ในการทำงานด้านสุขภาพ จนท้ายที่สุด ชาวบ้านคือผู้เล่น เจ้าหน้าที่ก็คือผู้จัดการทีมฟุตบอล

ช่วงแรกของการทำงานเมื่อเภสัชกรต้องลมชุมชน 

 

การทำงานในช่วงเริ่มต้นของเภสัชกรในการทำงานปฐมภูมิ   ร่วมกับขบวนการจิตอาสาด้านสุขภาพในชุมชน      โดยการทำงานในช่วงแรกเป็นเพื่อ  ทำความเข้าใจชุมชน  และสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน     และผู้ป่วยในหมู่บ้าน     เมื่อถึงเวลาช่วงต่อไป ก็จำเป็น ต้องหา จิตอาสาในชุมชน  มาทำงานร่วมกัน        เป็นที่น่าแปลกใจมาก  ที่ข้าพเจ้าพบว่า จิตอาสาที่อยากทำงาน  เพื่อส่วนรวมมีมากเหลือเกิน   เมื่อได้อาสาสมัครครบแล้วขั้นต่อไป   คือการประชุมชี้แจงโครงการ   ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1 มีอาการฝึกอบรม จิตอาสาในการทำงานด้านสุขภาพ 2 วัน

2 เจ้าหน้าที่ต้องลงพื้นที่ทุกหมู่บ้าน เป็นประจำทุกเดือน โดยทำงานร่วมกับจิตอาสา

3 มีการประชุม ติดตามให้กำลังใจ ฟังเรื่องเล่าดีๆ จากการทำงาน และสอนงานเพิ่มทุกเดือน   ซึ่งคล้ายกับการประชุม แบบสุนทรียะสนทนา นั่นเอง

4 มีการเชื่อมความสามัคคี ระหว่าง จิตอาสาต่างหมู่บ้าน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน  ทำให้เกิด บรยากาศที่คึกคักในการทำงาน

5 มีการสอนงานการบริบาลผู้ป่วย โดยให้จิตอาสาเข้าไปเรียนรู้ จากเคสจริงในหมู่บ้านและมีแผนการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย  ส่งมอบให้ จิตอาสา ในการดูแลผู้ป่วยพร้อมเบอร์ติดต่อเภสัชกร

    โครงการนำร่องนี้ ทำในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดี  และโครงการนี้ ได้รับรางวัลมากมายหลายเวที  ทั้งเวทีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบ PP

รางวัลในงาน PCU Expo ครั้งที่ 1 เป็นต้น

โปรดติดตามตอนต่อไป.....

หมายเลขบันทึก: 433862เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณนะครับ ที่ไปให้กำลังใจ มีโอกาสเราคงได้แลกเปลี่ยนกัน

สอนงานบริบาลให้กับจิตอาสา ทำอย่างไรหนอ

  • เป็นบทบาทเชิงรุกที่น่าสนใจมากครับ
  • แต่ที่สงสัยคือ รพ. ส่วนใหญ่จะมีเภสัชกรไม่กี่คน สามารถแบ่งเวลาอย่างไรครับ ระหว่างงานในโรงพยาบาลกับงานในชุมชน

เรียน

นายแพทย์ เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

ผมก็ไป ทำงานเชิงรุก นอกเวลา ราชการ ครับ ตอบง่ายมาก

เรียน คุณ วิริยะหนอ

สอนงานบริบาลให้กับจิตอาสา ทำอย่างไรหนอ

สอน วัด สัญญาณชีพ

สอน การประเมิน ความร่วมมือในการใช้ยา

สอน การฟังอย่างใส่ใจ

สอนการประเมินภาวะแทรกซ้อน และ ADE ที่ ดูง่ายๆ

สอน การอ่านแลากยา และ การดูวันนัดคนไข้

และสอน การให้คำแนะนำ แบบเป็นมิตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท