ได้เวลาของเสวนาที่มีต้นทุนในการจัดที่ต่ำที่สุดในประเทศไทยอีกแล้วนะครับ นี่คือส่วนหนึ่งในการฝึกฝนคู่สนทนาจากตลาดโต้รุ่งกาฬสินธุ์ที่ติดตาม gotoknow มาระยะหนึ่ง และอยากจะเข้าใจในเรื่องของการจัดการความรู้ในแบบของครูบ้าง เพราะคู่สนทนาเป็นครูระดับประถมศึกษาที่กาฬสินธุ์ครับ
งั้นคงเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเสวนาถึงครูประถมใน gotoknow
"
ครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก"
จาก ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สพท.กทม.เขต2
home / blog / skuikratoke
คู่สนทนา 1 - " แอบคลิกดูประวัติของครูสิริพร ไม่น่าเชื่อว่าอายุพอๆกับครูคนหนึ่งที่โรงเรียน แต่ท่านกระตือรือร้นกว่าครูท่านนั้น รู้สึกว่า อายุมาก ยิ่งประสบการณ์มากจริงๆ"
นายบอน - "ถือว่าครูอ้อยยิ่งแก่ ยิ่งมัน อายุไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการเรียนรู้เลย ไม่มีใครแก่เกินเรียน มีหลายคนที่อายุน้อยกว่าครูอ้อย 10 ปี แต่หมดไฟที่จะเรียนต่อปริญญาเอกเสียแล้ว การที่ครูอ้อยอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนในการเรียนต่อได้ง่ายกว่า หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ "
คู่สนทนา 2 - " ชอบนิยามที่ครูอ้อยเขียนไว้ในบล็อกว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะการบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management Skill(ksm)มีหลักปฏิบัติดังนี้ 1.เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้สร้างความรู้ การประเมินและใช้การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้(Produce) 2.เป็นผู้ถ่ายทอดหรือขยายความรู้ไปยังบุคคลอื่น (Process) 3.นำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือสร้างสรรค์กับงานต่างๆ(Practice) 4.พัฒนาหรือปรับปรุงให้ทันสมัย(Progress) "
คู่สนทนา 1 - " มิน่าล่ะ เพราะมีแนวทางแบบนี้นี่เอง ตามอ่านบล็อกต่างๆของครูอ้อยแล้ว ได้อรรถรสดีเหมือนกัน อ่านง่าย มีลูกเล่นลูกรับในการเขียนตลอด ลื่นไหลดีมากๆ แถมยังกันเองกับทุกคน ก็ขนาดเขียนว่า ยี้ ให้นายบอนด้วย แล้วยังชื่นชมในเวลาไล่เลี่ยกัน "
นายบอน - " เห็นแว๊บๆ ครูอ้อยเขียนไว้ว่า ตั้งแต่เรียนปริญญาโท ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น รวมทั้งไปอบรม จนมีความรู้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ"
คู่สนทนา 1 - "แค่คนในวัยนี้ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง ก็ไม่ธรรมดาแล้ว แต่ตอนเรียนปริญญาโทที่ต้องพิมพ์วิทยานิพนธ์เองจนเก่งคอมพิวเตอร์ สมัยนั้นคงมีคนช่วยเหลือน้อย แต่สมัยนี้ มีคนรับจ้างพิมพ์ให้เสร็จสรรพ์ เลยทำให้คนที่จบปริญญาโทหลายคน ยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง "
คู่สนทนา 2 - "บรรดาครูทั้งหลายมักจะงานยุ่งตลอด ถ้าเป็นคนที่กระตือรือร้นก็ยิ่งจะได้พัฒนาตนเอง ยิ่งต้องไปอบรมอยู่บ่อยๆ ยิ่งจะเก่งมากยิ่งขึ้น แต่ครูบางคน ไม่ค่อยอยากจะไปอบรมมากนัก เพราะอยากดูแลครอบครัวมากกว่า ทำให้ครูบางคน เลยต้องไปอบรมอยู่บ่อยๆ จนทำอะไรเป็นหลายอย่าง"
คู่สนทนา 1 - "ไปอบรมบ่อยๆ แล้วจะไม่ลืมกันบ้างเหรอ พี่ที่อำเภอคำม่วงต้องเข้ามาอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จังหวัดอยู่ บ่อย ๆ ตอนอบรมก็ทำได้ แต่พอกลับมาที่ทำงาน เค้าสั่งให้ทำงานส่ง ชักจะนึกไม่ออกแล้วว่า จะต้องทำยังไงบ้าง จะคลิกตรงไหนมั่ง เค้าจัดอบรมบ่อยๆ เอกสารการอบรมก็ไม่ค่อยละเอียด สุดท้ายก็ต้องไปตามคนที่ทำเป็นมาทำงานนั้นให้"
นายบอน - "บางทีก็ต้องมีลืมๆกันบ้าง ถ้าวิทยากรในการอบรม พูดเร็วเกินไป หรือสาธิตการใช้โปรแกรมเร็วเกินไป จนหลายคนทำตามไม่ทัน แต่เวลาในการอบรมมีจำกัด ต้องเร่งสอนให้ครบตามหัวข้อไปก่อน "
คู่สนทนา 2 - "แต่ดูการเรียนรู้ของครูอ้อยแล้ว คงจะทำเป็นหลายอย่าง เพราะกลับมาเรียนรู้ด้วยตัวเองที่บ้านด้วย ทั้ง E-learning ไปจนถึงเวบไซต์ แต่ครูอ้อยได้เปรียบตรงที่อยู่ในที่ที่มีสื่อการสอนครบถ้วน อยากจะรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม ใน กทม. สามารถหาสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ง่าย แต่ที่กาฬสินธุ์นี่สิ ไปหาหนังสือที่ห้องสมุดไม่ค่อยจะมีซักเล่ม ร้านขายหนังสือก็มีแต่หนังสือที่ไม่ตรงกับที่เราต้องการ มีแต่การใช้โปรแกรม พร้อมตัวอย่างที่อธิบายการเขียนเกมส์ เลยค่อนข้างเสียเปรียบครูอ้อยอยู่เหมือนกันนะ"
นายบอน - " การที่มีโอกาสเรียนรู้หลายๆอย่าง เหมือนเป็นการสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งถ้าถูกกระตุ้น ความรู้ที่สะสมไว้ก็จะหลั่งไหลออกมา ตอนนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน คงไม่ถือว่าเสียเปรียบในการเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้วล่ะ ถ้าหาหนังสือไม่ได้ ก็ค้นเอาจาก Internet หรือถ้าค้นแล้วไม่เจอซักที ก็เอาแบบง่ายๆ ไปถามครูอ้อยเลยละกัน"
คู่สนทนา 1 - "จริงด้วย เพราะครูอ้อยเขียนแปะไว้ในบล็อกเลยว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะการบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management Skill ทุกคนแสดงว่า ครูอ้อยก็เป็นหนึ่งในทุกคนที่ว่านั้น"
นายบอน - " ลองไปพิสูจน์ประโยคที่ครูอ้อยเขียนดูสิ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคน ถ้างั้น ไม่ว่าจะเป็นครูที่ ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) หรือครูที่กาฬสินธุ์ ก็ย่อมต้องมีทักษะอย่างที่ครูอ้อยฟันธงมาแล้วทั้งนั้น"
คู่สนทนา 2 - " เพื่อนผมก็สอนภาษาอังกฤษ ยังมี KMS ไม่ครบทั้ง 4 ข้อเลย ขาดข้อ 3 กับข้อ 4 "
นายบอน - "อ้าวเหรอ งั้นต้องรีบแจ้งให้ครูอ้อยแก้ไขข้อความโดยด่วน แก้เป็น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษบางคน... รึเปล่าล่ะเนี่ย.."
คู่สนทนา 1 - "สนใจประเด็นที่ครูอ้อยบันทึกไว้ว่า วิธีการส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสคิดด้วยตนเองอย่างอิสระ
ถ้าเรื่องเรียนต่างกันมากก็พยายามให้ตัดสินใจเลือกเรียนเรื่องที่สามารถจะ เข้ากลุ่มเดียวกันได้ เพื่อง่ายต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แต่เท่าที่เห็นมา ก็เรียนเรื่องเดียวกัน วิชาเดียวกัน นักเรียนเลยไม่ได้คิดด้วยตนเองซะที
"
นายบอน - "เกี่ยวข้องกับการเป็นโรงเรียนในฝันหรือเปล่า ที่มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้น"
คู่สนทนา 1 - "คงต้องรอให้โรงเรียนนอกฝัน กลายเป็นโรงเรียนในฝันกันก่อน "
คู่สนทนา 2 - "แต่ความจริงแล้ว ทุกวิชาสามารถจัดรูปแบบการสอนในแบบที่ครูอ้อยว่าได้เหมือนกันนะ อย่างที่ว่า
- เปิดโอกาสให้เลือกแหล่งเรียนที่สอดคล้องและก่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงเรื่องที่จะเรียน
- เปิดโอกาสและเวลาให้นักเรียนเรียนรู้แล้วนำผลที่ตนเองรู้จริงมาคิดเขียนอย่างอิสระ
ทุกวิชาก็ทำได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าครูจะออกแบบการสอนยังไง ก็จะเหมือนอย่างที่ครูอ้อยบอกว่า
ครั้งที่หนึ่งอาจจะวุ่นวาย เพราะประสบการณ์และความสามารถของนักเรียนยังน้อยนิด แต่ถ้าไม่เริ่มก็จะไม่ก่อให้เกิดอะไรเลย ลองทำดู สิ่งที่ยากก็จะเป็นสิ่งง่ายไปเอง"
คู่สนทนา 1 - "แล้วแนวคิดการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้สัมผัสกับสื่อกับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นี่ล่ะ ที่โรงเรียนมีแต่ให้นักเรียนเข้าห้องสมุด ค้นคว้า พอเปิดโอกาสให้ปุ๊บ ก็แว๊บไปร้านเกมส์มั่งล่ะ ไปเดินห้างกันมั่งล่ะ เดี๋ยวนี้มีสิ่งล่อใจเยอะ สงสัยต้องย้ายไปเรียนที่ร้านเกมส์กันหมดแล้วล่ะมั้ง"
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "เมื่อ ครูรู้ว่านักเรียนต้องการออกไปเรียนนอกห้องเรียน ครูจะปล่อยให้นักเรียนออกไปนอกห้องเรียนในเวลาที่กำหนด เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับสื่อกับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวด ล้อมของนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งจะกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อที่นักเรียนมีความคุ้นเคยมาแล้ว นักเรียนรู้จักและเข้าใจความหมายของห้องต่างๆดีแล้ว"
คู่สนทนา 2 - " ย้ำอีกที คือ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเท่านั้น มีตั้งหลายอย่าง ทั้งห้องสมุด แปลงเกษตร โรงอาหาร ห้องดนตรี อาคารซ่อมรถยนต์ ห้องเรียนศิลปะ ฯลฯ "
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "การเรียนการสอน ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กำหนดเท่านั้น เพราะบางทีนักเรียนจะเกิดความเครียดกับบรยากาศ ถ้าครูพยายามให้นักเรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมนอกห้องบ้าง ตามแต่ที่แหล่งเรียนรู้อำนวยให้ จะเห็นภาพนักเรียนกระโดดโลดเต้นตามแต่สภาพร่างกายของเขาต้องการ"
คู่สนทนา 1 - "นึกว่าครูสอนภาษาอังกฤษกลายเป็นครูสอนพละศึกษาซะอีก"
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "ที่ โรงเรียนของครูอ้อยได้กำหนดแหล่งเรียนรู้โดย ผู้อำนวยการไพบูลย์ วงศ์ยะรา ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว ได้กำหนดแหล่งเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษโดยเขียนป้ายชื่อห้องต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้จัดทำโครงงานง่ายๆ ให้สำรวจป้ายชื่อดังกล่าว และจัดกระทำเป็นหมวดหมู่และลำดับ"
นายบอน - "นั่นไง ทักษะการบริหารจัดการความรู้ ของครูอ้อย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือสร้างสรรค์กับงานต่างๆ แล้ว 4.พัฒนาหรือปรับปรุงให้ทันสมัย
Practice& Progress "
คู่สนทนา 1- "มิน่าล่ะ ครูสอนภาษาอังกฤษมีทักษะที่ดีๆในแบบนี้นี่เอง ทำให้มองไปถึงคุณภาพของโรงเรียนนั้นด้วย คุณอาที่บ้านยังพาลูกสาวไปสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่เปิดสอนในหลักสูตร Mini English Program ให้ได้ เค้าไม่สนใจโรงเรียนประจำจังหวัดแล้วล่ะ เพราะไม่ค่อยเชื่อถือแล้ว"
นายบอน - "อันนั้น เค้าอยากให้ลูกสาวเค้าเก่งภาษาอังกฤษต่างหาก"
คู่สนทนา 2 - " เดี่ยวนี้หลาย ร.ร. ก็เปิด Mini English Program กันแล้วนะ แล้วที่
ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) ไม่เปิด Mini English Program ไปแล้วเรอะ ครูอ้อยมีประสบการณ์เยอะขนาดนี้ นักเรียนก็เก่งภาษาอังกฤษกันทุกคนแหงเลย"
นายบอน - "ดูแนวคิดการออกแบบแหล่งการเรียนรู้ของครูอ้อยสิ..
กำหนดแหล่งเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษโดยเขียนป้ายชื่อห้องต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ และให้นักเรียนสำรวจป้ายชื่อและจัดหมวดหมู่และลำดับ
โครงงานง่ายๆลักษณะนี้ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจ สนุกสนาน ได้ความรู้ แล้วครูอ้อยยังไม่เหนื่อยอีกด้วย"
คู่สนทนา 1 - "แหม เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2549 ครูอ้อยเขียนว่า ได้ยินเพื่อนครู และรองผู้อำนวยการชมเชยผู้เขียนต่อหน้าแขกผู้มาเยี่ยมเยือน กำลังเหนื่อยอยู่ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ......
ไปชมท่านมากเกินไปเดียวท่านนอนไม่หลับนะ"
นายบอน - "ไม่แน่หรอก อาจจะยี้อีกก็ได้นะ ครูอ้อยยิ่งชอบยี้ นายบอนอยู่ด้วย"
คู่สนทนา 2 - "วันก่อนโน้น เห็นครูอ้อยเขียนบอกว่า มีลูกสาวคนนึง สงสัยจะยี้กันท่าเอาไว้ก่อนรึเปล่า"
.....และนี่คือ เสวนาจานส้มตำครับ แหม จากเรื่องการจัดการความรู้ ....คิดไปจนถึงลูกสาวครูอ้อยได้ยังไงเนี่ย
งั้นคงเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเสวนาถึงครูประถมใน gotoknow
"
ครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก"
จาก ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) สพท.กทม.เขต2
home / blog / skuikratoke
คู่สนทนา 1 - " แอบคลิกดูประวัติของครูสิริพร ไม่น่าเชื่อว่าอายุพอๆกับครูคนหนึ่งที่โรงเรียน แต่ท่านกระตือรือร้นกว่าครูท่านนั้น รู้สึกว่า อายุมาก ยิ่งประสบการณ์มากจริงๆ"
นายบอน - "ถือว่าครูอ้อยยิ่งแก่ ยิ่งมัน อายุไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการเรียนรู้เลย ไม่มีใครแก่เกินเรียน มีหลายคนที่อายุน้อยกว่าครูอ้อย 10 ปี แต่หมดไฟที่จะเรียนต่อปริญญาเอกเสียแล้ว การที่ครูอ้อยอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนในการเรียนต่อได้ง่ายกว่า หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ "
คู่สนทนา 2 - " ชอบนิยามที่ครูอ้อยเขียนไว้ในบล็อกว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะการบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management Skill(ksm)มีหลักปฏิบัติดังนี้ 1.เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้สร้างความรู้ การประเมินและใช้การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้(Produce) 2.เป็นผู้ถ่ายทอดหรือขยายความรู้ไปยังบุคคลอื่น (Process) 3.นำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือสร้างสรรค์กับงานต่างๆ(Practice) 4.พัฒนาหรือปรับปรุงให้ทันสมัย(Progress) "
คู่สนทนา 1 - " มิน่าล่ะ เพราะมีแนวทางแบบนี้นี่เอง ตามอ่านบล็อกต่างๆของครูอ้อยแล้ว ได้อรรถรสดีเหมือนกัน อ่านง่าย มีลูกเล่นลูกรับในการเขียนตลอด ลื่นไหลดีมากๆ แถมยังกันเองกับทุกคน ก็ขนาดเขียนว่า ยี้ ให้นายบอนด้วย แล้วยังชื่นชมในเวลาไล่เลี่ยกัน "
นายบอน - " เห็นแว๊บๆ ครูอ้อยเขียนไว้ว่า ตั้งแต่เรียนปริญญาโท ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น รวมทั้งไปอบรม จนมีความรู้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ"
คู่สนทนา 1 - "แค่คนในวัยนี้ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง ก็ไม่ธรรมดาแล้ว แต่ตอนเรียนปริญญาโทที่ต้องพิมพ์วิทยานิพนธ์เองจนเก่งคอมพิวเตอร์ สมัยนั้นคงมีคนช่วยเหลือน้อย แต่สมัยนี้ มีคนรับจ้างพิมพ์ให้เสร็จสรรพ์ เลยทำให้คนที่จบปริญญาโทหลายคน ยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง "
คู่สนทนา 2 - "บรรดาครูทั้งหลายมักจะงานยุ่งตลอด ถ้าเป็นคนที่กระตือรือร้นก็ยิ่งจะได้พัฒนาตนเอง ยิ่งต้องไปอบรมอยู่บ่อยๆ ยิ่งจะเก่งมากยิ่งขึ้น แต่ครูบางคน ไม่ค่อยอยากจะไปอบรมมากนัก เพราะอยากดูแลครอบครัวมากกว่า ทำให้ครูบางคน เลยต้องไปอบรมอยู่บ่อยๆ จนทำอะไรเป็นหลายอย่าง"
คู่สนทนา 1 - "ไปอบรมบ่อยๆ แล้วจะไม่ลืมกันบ้างเหรอ พี่ที่อำเภอคำม่วงต้องเข้ามาอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จังหวัดอยู่ บ่อย ๆ ตอนอบรมก็ทำได้ แต่พอกลับมาที่ทำงาน เค้าสั่งให้ทำงานส่ง ชักจะนึกไม่ออกแล้วว่า จะต้องทำยังไงบ้าง จะคลิกตรงไหนมั่ง เค้าจัดอบรมบ่อยๆ เอกสารการอบรมก็ไม่ค่อยละเอียด สุดท้ายก็ต้องไปตามคนที่ทำเป็นมาทำงานนั้นให้"
นายบอน - "บางทีก็ต้องมีลืมๆกันบ้าง ถ้าวิทยากรในการอบรม พูดเร็วเกินไป หรือสาธิตการใช้โปรแกรมเร็วเกินไป จนหลายคนทำตามไม่ทัน แต่เวลาในการอบรมมีจำกัด ต้องเร่งสอนให้ครบตามหัวข้อไปก่อน "
คู่สนทนา 2 - "แต่ดูการเรียนรู้ของครูอ้อยแล้ว คงจะทำเป็นหลายอย่าง เพราะกลับมาเรียนรู้ด้วยตัวเองที่บ้านด้วย ทั้ง E-learning ไปจนถึงเวบไซต์ แต่ครูอ้อยได้เปรียบตรงที่อยู่ในที่ที่มีสื่อการสอนครบถ้วน อยากจะรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม ใน กทม. สามารถหาสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ง่าย แต่ที่กาฬสินธุ์นี่สิ ไปหาหนังสือที่ห้องสมุดไม่ค่อยจะมีซักเล่ม ร้านขายหนังสือก็มีแต่หนังสือที่ไม่ตรงกับที่เราต้องการ มีแต่การใช้โปรแกรม พร้อมตัวอย่างที่อธิบายการเขียนเกมส์ เลยค่อนข้างเสียเปรียบครูอ้อยอยู่เหมือนกันนะ"
นายบอน - " การที่มีโอกาสเรียนรู้หลายๆอย่าง เหมือนเป็นการสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งถ้าถูกกระตุ้น ความรู้ที่สะสมไว้ก็จะหลั่งไหลออกมา ตอนนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน คงไม่ถือว่าเสียเปรียบในการเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้วล่ะ ถ้าหาหนังสือไม่ได้ ก็ค้นเอาจาก Internet หรือถ้าค้นแล้วไม่เจอซักที ก็เอาแบบง่ายๆ ไปถามครูอ้อยเลยละกัน"
คู่สนทนา 1 - "จริงด้วย เพราะครูอ้อยเขียนแปะไว้ในบล็อกเลยว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะการบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management Skill ทุกคนแสดงว่า ครูอ้อยก็เป็นหนึ่งในทุกคนที่ว่านั้น"
นายบอน - " ลองไปพิสูจน์ประโยคที่ครูอ้อยเขียนดูสิ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกคน ถ้างั้น ไม่ว่าจะเป็นครูที่ ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) หรือครูที่กาฬสินธุ์ ก็ย่อมต้องมีทักษะอย่างที่ครูอ้อยฟันธงมาแล้วทั้งนั้น"
คู่สนทนา 2 - " เพื่อนผมก็สอนภาษาอังกฤษ ยังมี KMS ไม่ครบทั้ง 4 ข้อเลย ขาดข้อ 3 กับข้อ 4 "
นายบอน - "อ้าวเหรอ งั้นต้องรีบแจ้งให้ครูอ้อยแก้ไขข้อความโดยด่วน แก้เป็น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษบางคน... รึเปล่าล่ะเนี่ย.."
คู่สนทนา 1 - "สนใจประเด็นที่ครูอ้อยบันทึกไว้ว่า วิธีการส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสคิดด้วยตนเองอย่างอิสระ
ถ้าเรื่องเรียนต่างกันมากก็พยายามให้ตัดสินใจเลือกเรียนเรื่องที่สามารถจะ เข้ากลุ่มเดียวกันได้ เพื่อง่ายต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แต่เท่าที่เห็นมา ก็เรียนเรื่องเดียวกัน วิชาเดียวกัน นักเรียนเลยไม่ได้คิดด้วยตนเองซะที
"
นายบอน - "เกี่ยวข้องกับการเป็นโรงเรียนในฝันหรือเปล่า ที่มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้น"
คู่สนทนา 1 - "คงต้องรอให้โรงเรียนนอกฝัน กลายเป็นโรงเรียนในฝันกันก่อน "
คู่สนทนา 2 - "แต่ความจริงแล้ว ทุกวิชาสามารถจัดรูปแบบการสอนในแบบที่ครูอ้อยว่าได้เหมือนกันนะ อย่างที่ว่า
- เปิดโอกาสให้เลือกแหล่งเรียนที่สอดคล้องและก่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงเรื่องที่จะเรียน
- เปิดโอกาสและเวลาให้นักเรียนเรียนรู้แล้วนำผลที่ตนเองรู้จริงมาคิดเขียนอย่างอิสระ
ทุกวิชาก็ทำได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าครูจะออกแบบการสอนยังไง ก็จะเหมือนอย่างที่ครูอ้อยบอกว่า
ครั้งที่หนึ่งอาจจะวุ่นวาย เพราะประสบการณ์และความสามารถของนักเรียนยังน้อยนิด แต่ถ้าไม่เริ่มก็จะไม่ก่อให้เกิดอะไรเลย ลองทำดู สิ่งที่ยากก็จะเป็นสิ่งง่ายไปเอง"
คู่สนทนา 1 - "แล้วแนวคิดการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้สัมผัสกับสื่อกับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นี่ล่ะ ที่โรงเรียนมีแต่ให้นักเรียนเข้าห้องสมุด ค้นคว้า พอเปิดโอกาสให้ปุ๊บ ก็แว๊บไปร้านเกมส์มั่งล่ะ ไปเดินห้างกันมั่งล่ะ เดี๋ยวนี้มีสิ่งล่อใจเยอะ สงสัยต้องย้ายไปเรียนที่ร้านเกมส์กันหมดแล้วล่ะมั้ง"
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "เมื่อ ครูรู้ว่านักเรียนต้องการออกไปเรียนนอกห้องเรียน ครูจะปล่อยให้นักเรียนออกไปนอกห้องเรียนในเวลาที่กำหนด เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับสื่อกับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวด ล้อมของนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งจะกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อที่นักเรียนมีความคุ้นเคยมาแล้ว นักเรียนรู้จักและเข้าใจความหมายของห้องต่างๆดีแล้ว"
คู่สนทนา 2 - " ย้ำอีกที คือ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเท่านั้น มีตั้งหลายอย่าง ทั้งห้องสมุด แปลงเกษตร โรงอาหาร ห้องดนตรี อาคารซ่อมรถยนต์ ห้องเรียนศิลปะ ฯลฯ "
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "การเรียนการสอน ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กำหนดเท่านั้น เพราะบางทีนักเรียนจะเกิดความเครียดกับบรยากาศ ถ้าครูพยายามให้นักเรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมนอกห้องบ้าง ตามแต่ที่แหล่งเรียนรู้อำนวยให้ จะเห็นภาพนักเรียนกระโดดโลดเต้นตามแต่สภาพร่างกายของเขาต้องการ"
คู่สนทนา 1 - "นึกว่าครูสอนภาษาอังกฤษกลายเป็นครูสอนพละศึกษาซะอีก"
ครูสิริพร กุ่ยกระโทก - "ที่ โรงเรียนของครูอ้อยได้กำหนดแหล่งเรียนรู้โดย ผู้อำนวยการไพบูลย์ วงศ์ยะรา ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว ได้กำหนดแหล่งเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษโดยเขียนป้ายชื่อห้องต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้จัดทำโครงงานง่ายๆ ให้สำรวจป้ายชื่อดังกล่าว และจัดกระทำเป็นหมวดหมู่และลำดับ"
นายบอน - "นั่นไง ทักษะการบริหารจัดการความรู้ ของครูอ้อย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือสร้างสรรค์กับงานต่างๆ แล้ว 4.พัฒนาหรือปรับปรุงให้ทันสมัย
Practice& Progress "
คู่สนทนา 1- "มิน่าล่ะ ครูสอนภาษาอังกฤษมีทักษะที่ดีๆในแบบนี้นี่เอง ทำให้มองไปถึงคุณภาพของโรงเรียนนั้นด้วย คุณอาที่บ้านยังพาลูกสาวไปสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่เปิดสอนในหลักสูตร Mini English Program ให้ได้ เค้าไม่สนใจโรงเรียนประจำจังหวัดแล้วล่ะ เพราะไม่ค่อยเชื่อถือแล้ว"
นายบอน - "อันนั้น เค้าอยากให้ลูกสาวเค้าเก่งภาษาอังกฤษต่างหาก"
คู่สนทนา 2 - " เดี่ยวนี้หลาย ร.ร. ก็เปิด Mini English Program กันแล้วนะ แล้วที่
ร.ร.พระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) ไม่เปิด Mini English Program ไปแล้วเรอะ ครูอ้อยมีประสบการณ์เยอะขนาดนี้ นักเรียนก็เก่งภาษาอังกฤษกันทุกคนแหงเลย"
นายบอน - "ดูแนวคิดการออกแบบแหล่งการเรียนรู้ของครูอ้อยสิ..
กำหนดแหล่งเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษโดยเขียนป้ายชื่อห้องต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ และให้นักเรียนสำรวจป้ายชื่อและจัดหมวดหมู่และลำดับ
โครงงานง่ายๆลักษณะนี้ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจ สนุกสนาน ได้ความรู้ แล้วครูอ้อยยังไม่เหนื่อยอีกด้วย"
คู่สนทนา 1 - "แหม เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2549 ครูอ้อยเขียนว่า ได้ยินเพื่อนครู และรองผู้อำนวยการชมเชยผู้เขียนต่อหน้าแขกผู้มาเยี่ยมเยือน กำลังเหนื่อยอยู่ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ......
ไปชมท่านมากเกินไปเดียวท่านนอนไม่หลับนะ"
นายบอน - "ไม่แน่หรอก อาจจะยี้อีกก็ได้นะ ครูอ้อยยิ่งชอบยี้ นายบอนอยู่ด้วย"
คู่สนทนา 2 - "วันก่อนโน้น เห็นครูอ้อยเขียนบอกว่า มีลูกสาวคนนึง สงสัยจะยี้กันท่าเอาไว้ก่อนรึเปล่า"
.....และนี่คือ เสวนาจานส้มตำครับ แหม จากเรื่องการจัดการความรู้ ....คิดไปจนถึงลูกสาวครูอ้อยได้ยังไงเนี่ย
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายบอน@kalasin ใน keep in mind by bon
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้#การเรียนรู้#ภาษาอังกฤษ#เสวนาจานส้มตำ
หมายเลขบันทึก: 43375, เขียน: 08 Aug 2006 @ 12:22 (), แก้ไข: 13 Jun 2012 @ 00:32 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ดอกไม้: 1, ความเห็น: 3, อ่าน: คลิก
ครูอ้อยขุดบันทึกนี้มาอ่านนะ นายบอน คิดถึงนะ