‘แกนโลกเคลื่อน’ ความหวั่นวิตกของอนาคตที่ควรรู้...


เหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เมื่อไม่นานบนโลกนี้ และอีกหลายประเทศทางใต้ของประเทศไทยอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ยังคงเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง

‘แกนโลกเคลื่อน’ ความหวั่นวิตกของอนาคตที่ควรรู้...

              

     หมู่เกาะโซโลมอน 7.1 ริกเตอร์ (3 มกราคม 2553) เฮติ 7.0 ริกเตอร์ (12 มกราคม 2553) ปาปัวนิวกินี 6.2 ริกเตอร์ (1 กุมภาพันธ์ 2553) แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 5.9 ริกเตอร์ (4 กุมภาพันธ์ 2553) เกาะริวกิว ญี่ปุ่น 7.0 ริกเตอร์ (26 กุมภาพันธ์ 2553) ชิลี 8.8 ริกเตอร์ (27 กุมภาพันธ์ 2553) ไต้หวัน 6.4 ริกเตอร์ (4 มีนาคม 2553) นี่คือเหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เมื่อไม่นานบนโลกนี้ และอีกหลายประเทศทางใต้ของประเทศไทยอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ยังคงเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องรวมทั้ง...
                ล่าสุดบ่ายวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 ในขณะที่ทุกคนบนโลกใช้ชีวิตตามปกติ ก็เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาเยือนโลกใบนี้อีกครั้ง สถานที่เกิดเหตุห่างจากจังหวัดมิยากิ หมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น 130 กิโลเมตร และห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 380 กิโลเมตร
                แรงสั่นสะเทือนจากการเกิดแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ ส่งผลกระทบทำให้เกิดคลื่นยักษ์หรือสึนามิสูงกว่า 10 เมตร ซัดถล่มบริเวณพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดมิยากิได้รับความเสียหายรุนแรงในรอบ 140 ปี ถึงขนาดทำให้เกาะฮอนชูเขยื้อน 8 ฟุต และทำให้แกนโลกเคลื่อน 10 กว่าเซนติเมตร (ซึ่งเป็นแกนโลกสมมติ) เหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล
                หลายสมมติฐานตั้งข้อสังเกตว่า หากแกนโลกเคลื่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งอากาศ เวลา และอื่นๆ ไปดูกันว่านักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นเขาได้คาดการณ์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง
แกนโลกเคลื่อนเรื่อยๆ อยู่แล้ว                เบนจามิน ฟง เจา นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์เที่ยวบินอวกาศ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวไว้ว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศชิลีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ทำให้แกนของโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม แม้จะไม่สำคัญเท่าใดนัก แต่ก็เปลี่ยนไปจากตำแหน่งเดิมอย่างถาวร
                แล้วยังส่งผลให้ระยะเวลาในหนึ่งวันสั้นหรือช้าลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1 ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที)
                และแผ่นดินไหวที่ชิลี 8.8 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเอียงไป 8 เซนติเมตร จึงทำให้โลกร้อนเพิ่มขึ้นและโลกหนาวเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น
                ผลที่ตามมาก็คือชายฝั่งทะเลทั่วโลกจมน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ฝนตกมากนานผิดปกติในแต่ละพื้นที่ ดินบนภูเขาพังทลายทับหมู่บ้าน และน้ำท่วมนานนับเดือน เพราะน้ำทะเลเอ่อสูงดันน้ำในแม่น้ำไว้
                ซึ่งก่อนและหลังจากแผ่นดินไหว ก็มีเหตุธรรมชาติที่เกิดมาแล้วทั่วโลก ที่เป็นสิ่งบ่งชี้หรือว่าเตือนมนุษย์โลกแล้ว นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า แกนโลกจะเอียงหนึ่งครั้งในทุก 40,000 ปีเศษๆ
               หากแกนโลกพลิก                อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนของแกนโลก หากเคลื่อนไปมากจนเกิดปรากฏการณ์แกนโลกพลิกตัว ซึ่งทางองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (National Aeronautics and Space Administration - NASA) (นาซา)เคยนำคำพูดที่น่ากลัวมากล่าวถึงในที่สาธารณะเกี่ยวกับการพลิกกลับขั้วโลก จะทำให้คุณสมบัติของแม่เหล็กของโลกอ่อนแอและเบี่ยงเบนไป การพลิกกลับเกี่ยวกับขั้วของโลกและดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาที่จริง ดังต่อไปนี้
                 ระบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากจะทำงานผิดปกติ (ระบบขีปนาวุธ ,computer)                 เกิดการอพยพของฝูงสัตว์ เช่น นก หรือปลาวาฬ ทำให้สูญเสียทิศทางและอื่นๆ                 ระบบภูมิคุ้มกันโรคในบรรดาสัตว์รวมถึงมนุษย์จะทำให้อ่อนอย่างมาก                 ทำให้เกิดภูเขาไฟเพิ่มขึ้น, เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว และแผ่นดินถล่ม                 สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) จะอ่อนแอลง และการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์จะเพิ่มปริมาณถึงระดับ อันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมา ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้                 กลุ่มวัตถุในอวกาศที่มีเส้นผ่านมากมายจะเฉียดเข้าใกล้โลกได้ง่ายขึ้น                 แรงดึงดูดของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้น เมื่อแกนโลกเกิดการพลิกตัว
อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน                อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ แต่ไม่ครบถ้วน จะสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและความหวั่นวิตกโดยไม่จำเป็น กรณีแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ติดตามด้วยข่าวแกนโลกเคลื่อนที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นและความหวั่นวิตก ได้อย่างมีสีสัน
                แต่จันทร์เพ็ญ ศิลาวงศ์สวัสดิ์ อาจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้
                “เพราะถ้ามันเปลี่ยนตำแหน่งดาวต่างๆ ที่เราเห็นในตอนกลางคืน เราจะไม่เห็นมันอยู่ในตำแหน่งเดิม เพราะมุมแกนโลกมันอ้างอิงกับระบบนอกโลก เงาของดวงอาทิตย์ในแต่ละฤดูกาลก็จะเปลี่ยนไป สุริยวิถีก็จะเปลี่ยนที่เราจะเห็นคือ เงาของดวงอาทิตย์จะไม่คงอยู่ที่เดิม เพราะเราจะใช้วิธีการดูเงาบอกเวลามาตั้งแต่สมัยก่อน”
                ไม่ใช่แค่นั้น ถ้าแกนโลกเคลื่อนจริงตามตัวเลขที่เป็นข่าวฤดูกาล การขึ้น-ลงของน้ำจะเปลี่ยนไปทันที และนั่นอาจหมายถึงหายนะของโลกไปแล้ว อาจารย์จันทร์เพ็ญ อธิบายต่อว่า
                “การเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดที่เปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดที่เปลือกโลก ไม่ได้กระทบไปถึงตำแหน่งการวางตัวของโลกในระบบใหญ่ คือมันเป็นไปได้ยากมาก และก็มีข่าวทำนองนี้ออกมาหลายครั้ง ตั้งแต่แผ่นดินไหวที่เฮติว่าเคลื่อนเป็น 10 องศา ซึ่งมันมหาศาลเลยนะคะ ผลกระทบเยอะมากคุยๆ กันในหมู่อาจารย์ก็พูดกันว่าเป็นไปไม่ได้”
                ถามว่าจะมีอะไรทำให้แกนโลกเคลื่อนได้ อาจารย์จันทร์เพ็ญบอกว่า ต้องใช้พลังงานที่มากกว่าแผ่นดินไหว เช่น การพุ่งชนของอุกาบาตจากนอกโลก เนื่องจากวัตถุที่มีการหมุนจะมีสมดุลของมันอยู่ การจะทำให้เสียสมดุลจะต้องมาจากภายนอก ถ้าอยู่ข้างในจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของตัวมันเอง
อ่านต่อได้ที่ http://www.vcharkarn.com/varticle/42502

หมายเลขบันทึก: 433622เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2011 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ ให้เราได้ตระหนัก ได้คิด รักษ์โลกมากขึ้น
  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท