เขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์1(ต่อ)


เขียนบทความ1

การเขียนวัสดุและวิธีการวิจัย

ระบุระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ เป็นการศึกษาแบบไหน เช่น cross sectional longitudinal หรือ case control

สถานที่ศึกษา และระยะเวลา

กลุ่มตัวอย่าง การคำนวณขนาดตัวอย่าง เกณฑ์การคัดเข้าคัดออก

การรับรองด้านจริยธรรมการวิจัย

วิธีการเก็บข้อมูล

ระบุตัวแปรที่ศึกษา อธิบายคำจำกัดความและวิธีการวัดตัวแปรแต่ละตัว

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ (ควรมีเริ่มตั้งแต่ศึกษาวิจัย หากชัดเจนการออกแบบการทดลองจะชัดเจนขึ้น)

 

หลักทั่วไปในการเขียนวัสดุและวิธีการวิจัย

ละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่ายเพื่อผู้อ่านสามารถนำไปทดลองซ้ำได้ (อาจใน sample ที่ต่างออกไป)

หากเป็นวิธีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ต้องแสดงรายละเอียด แต่อ้างอิงที่มา

(หากเรา modified วิธีจากpaper เดิมควรอ้างเช่นที่ผ่านมามีการศึกษาเรื่องนี้มีกี่ type + code ref.ด้วย เราศึกษากี่type ที่เราศึกษาแบบนี้เพราะอะไร)

เขียนเรียงตามลำดับเหตุการณ์

เขียน ในสิ่งที่ทำจริงๆ

 

การเขียนผลการศึกษา

วิธีการเขียนผลการศึกษา

รายงานผลการศึกษาอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย

ตารางที่ 1 ควรสรุปลักษณะทั่วไปของประชากรตัวอย่างที่ศึกษา

นำเสนอผลการศึกษาเรียงตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย

รูปแบบในการนำเสนอ อาจจะเป็นการผสมผสานระหว่าง(ให้คนดูเข้าใจทันทีที่อ่าน ไม่สับสนหากว่าเกิดการสับสนถือว่าล้มเหลวในการนำเสนอ)

  • ข้อความบรรยาย
  • ตาราง
  • กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ ภาพถ่าย

 

ข้อดีในการใช้ตาราง

แสดงตัวเลขได้ละเอียด

จำแนกกลุ่มได้ทั้งด้านทั้งแถว และสดมภ์

ข้อด้อย  ไม่เห็นแนวโน้มและเปรียบเทียบข้อมูลได้ชัดเจนเท่ากราฟ

 

ข้อแนะนำในการสร้างตาราง

เรียบๆไม่ต้องมีลูกเล่น

ใส่ชื่อตารางด้านบน

ออกแบบและกะขนาดให้พอดี หากมีข้อมุลมากอาจแยกตาราง

นิยมตีเส้นแนวนอนเท่านั้นไม่นิยมตีเส้นแนวตั้ง

เขียนข้อความสั้นๆเท่านั้น หากต้องการบรรยายความให้ใส่สัญลักษณ์และนำไปขยายความท้ายตาราง (อาจใช้*ช่วยและขยายความด้านล่างแทน)

ข้อควรระวัง

  • ระวังความถูกต้องของตัวเลข
  • ตัวเลขในตารางกับในเนื้อหาต้องตรงกัน(สำคัญมาก)

(เมื่อทำตารางแล้วเราไม่บรรยายซ้ำในตารางแต่เราต้องสรุปhighlight ของตารางมาสรุปเป็นข้อความหากมีข้อมูลเป็นตัวเลขเยอะ เราก็จัดกลุ่มตารางหากตัวเลขไม่เยอะสรุปเป็น text เลย)

 

ข้อแนะนำในการสร้างกราฟ

ชื่อคำอธิบายกราฟ แผนภาพ และรูปอยู่ด้านล่างเสมอ

หลีกเบี่ยงการใช้สี ให้ใช้ลายเส้น หรือความเข้มสีเทาแทน

 

ข้อดีในการนำเสนอโดยใช้กราฟ

เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มได้ชัดเจน

แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

ข้อควรระวัง

  •  ไม่ควรมีเส้นหรือกลุ่มมากเกินไป
  •       ไม่ควรทำกราฟสามมิติ (ดูยาก)

 

 

สำหรับเรื่องต่อไปเป็นการเขียนบทอภิปราย จะเขียนมาให้ได้อ่านกันนะคะ^ ^                

คำสำคัญ (Tags): #การเขียนบทความ1
หมายเลขบันทึก: 433441เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2011 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แบบนี้ อันดับต่อไป ต้องมีตัวอย่างงานวิจัย นะค๊า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท