CSR : 1. เรียนรู้ว่า CSR คืออะไร


ผมเริ่มมองเห็นโอกาสในการพัฒนา CSR ในบริบทไทยโดยการทำไปเรียนไป เป้าหมายคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่องค์กรธุรกิจเอื้ออาทรต่อสังคมอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ถ้อยคำสวยหรู และน่าจะมีเงินสนับสนุนการทำงานวิชาการหรือการวิจัยหนุนด้วย

CSR  : 1. เรียนรู้ว่า CSR คืออะไร

        หน่วยงานใหญ่แห่งหนึ่งชวนไปทำ CSR - Corporate Social Responsibility ซึ่งผมยังไม่รู้จักว่าคืออะไรแน่     แต่พอตรวจสอบแล้วปฏิเสธไม่ลง      เพราะมีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้มาก   

         ลองค้นใน internet ด้วย Google ได้มามากมาย    มีเว็บไซต์หนึ่งพาดหัวว่า  

                More than environmental stewardship and philanthropy, nearly one in two Americans believe the most important proof of corporate social responsibility is treating employees well.

        ค้นต่อใน www.wikipedia.org ได้นิยามของ CSR ดังนี้

               Corporate social responsibility (CSR) is an expression used to describe what some see as a company’s obligation to be sensitive to the needs of all of the stakeholders in its business operations.

A company’s stakeholders are all those who are influenced by, or can influence, a company’s decisions and actions. These can include (but are not limited to): employees, customers, suppliers, community organizations, subsidiaries and affiliates, joint venture partners, local neighborhoods, investors, and shareholders (or a sole owner).

CSR is closely linked with the principles of "Sustainable Development" in proposing that enterprises should be obliged to make decisions based not only on the financial/economic factors but also on the social and environmental consequences of their activities.

        หลายปีมาแล้วผมได้รับแจกรายงานประจำปีของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง เขาระบุเป้าหมายของการดำเนินการว่า   เขาคำนึงถึงผลประโยชน์ของคน ๔ กลุ่ม คือ  (๑) ลูกค้า และบริษัทที่ทำธุรกิจกับบริษัท  (๒) พนักงาน  (๓) ผู้ถือหุ้น  (๔) สังคมโดยรอบ และในวงกว้าง     ผมอ่านแล้วอ่านอีก และนำไปกล่าวขวัญถึงด้วยความชื่นชม    โดยไม่รู้ว่านี่คือแนวคิด/ปฏิบัติแบบมี CSR  

        วันนี้ (๘ กค. ๔๙) เล่าให้ อ. หมอประเวศฟัง   ท่านบอกว่ามีคนชื่อ Patricia Aburdene เขียนเรื่องนี้ในหนังสือ Megatrends 2010 : The Rise of Conscious Capitalism  ท่านจะให้ยืม    ท่านบอกว่าหนังสือระบุว่าเมื่อประยุกต์ใช้หลักการ CSR บริษัทมีกำไรมากขึ้น     ผมกลับมาค้น Google ด้วยคำหลัก Conscious Capitalism ก็พบหนังสือเล่มนี้     ตามมาด้วยหนังสือชื่อ "Social Capitalism : Principle for Prosperity" แต่งโดย David A. Schwerin   

        ผมเริ่มมองเห็นโอกาสในการพัฒนา CSR ในบริบทไทยโดยการทำไปเรียนไป     เป้าหมายคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่องค์กรธุรกิจเอื้ออาทรต่อสังคมอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ถ้อยคำสวยหรู      และน่าจะมีเงินสนับสนุนการทำงานวิชาการหรือการวิจัยหนุนด้วย

         โลกยุคข้อมูลข่าวสารช่างสะดวกเหลือเกินในการค้นหาความรู้     แต่ที่สำคัญกว่าคือการเอามาปฏิบัติ และเรียนรู้จากการปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช
๘ กค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 43301เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท