12th HA Forum : Alive Self Assessment


I hear - I forget, I see - I learn, I do - I understand

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.

ดิฉันได้ฟังเรื่อง Alive Self Assessment วิทยากรประกอบด้วย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ สถาบันบำราศนราดูร ภญ.สิตีแอเสาะ ดือเระ รพ.หนองจิก จ.ปัตตานี คุณอังคณา นามบุตร รพ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานีดำเนินรายการโดยคุณเรวดี ศิรินคร ชาว สรพ. ดิฉันไม่มีความรู้เกี่ยวกับ SAR ของ HA มาก่อน ฟังตามและคิดว่าเราน่าจะเอาไปประยุกต์ในการทำ SAR เรื่องประกันคุณภาพการศึกษาได้

 

ผู้ดำเนินรายการและวิทยากร

ความคาดหวังของผู้เยี่ยมสำรวจ อยากเห็นอะไรเวลาอ่าน SAR บางทีอ่านแล้วสงสัยว่าใช่ของโรงพยาบาลนี้หรือเปล่า อยากรู้เทคนิคในการประเมินตนเอง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ อ่านแล้วรู้ว่าเป็นของโรงพยาบาลนี้

ภญ.สิตีแอเสาะ ดือเระ รพ.หนองจิก

เริ่มจาก service profile เขียนอยู่ ๒ ปีก่อนส่ง เสร็จแบบไม่สมบูรณ์ เติมไปเรื่อยๆ... มีการดัดแปลงให้เป็นแบบหน้าเดียวจบ แต่เป็นเล่มก็ยังมี ดูแล้วเห็นประเด็นการพัฒนา

ขอบเขตบริการ เดิมเขียนกว้างมาก... ต้องเชื่อมกับการนำองค์กร กลยุทธ์และจุดเน้น สะท้อนความเป็นโรงพยาบาลหนองจิก เช่น การดูแลที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน (เรื่องคลอด คนไม่มาคลอดที่โรงพยาบาล) การทำงานเชิงรุกในพื้นที่ การสร้างเครือข่ายบริการ การเสริมพลัง... พร้อมแสดงตัวอย่างการเขียน

คนที่โน่นเชื่อว่า capsule ยามาจากหนังหมู เขาไม่กิน... capsule ต้องฮาลาล... การปรับยาตามมิติของจิตใจ คนเชื่อว่าถ้ากินยากับผักและผลไม้แล้วแสลง อาจเสียชีวิตได้

เดือนรอมฎอน จะไปบอกกับชาวบ้านว่ากินยา 1X3 ไปเถอะ พระเจ้าไม่ว่าหรอก ไม่ได้... หัวใจของการประสานงาน-ตรงประเด็น เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ จุดเน้น ลักษณะสำคัญของการบริการและปริมาณ เขียนเฉพาะที่เน้นหรือประเด็นสำคัญก็พอ

ความท้าทายและความเสี่ยง ต้องเขียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปีที่ผ่านมา... ประเด็นสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง... วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด การพัฒนา เลือกที่เกี่ยวกับประเด็นการพัฒนา เน้นเรื่องประเด็นสำคัญที่ต้องการพัฒนา

เล่าว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร จึงจะสะท้อนความเป็นโรงพยาบาลหนองจิก ในแต่ละส่วนมีอะไรที่เกี่ยวข้อง-ไม่เกี่ยวข้อง ทำอย่างไรจึงจะเขียนแบบหน้าเดียวจบได้

คุณอังคณา นามบุตร รพ.หนองวัวซอ

โรงพยาบาลหนองวัวซอเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ๓๐ เตียง ได้เป็น Node เครือข่ายการเรียนรู้... ต้องรู้จักแบบประเมินก่อน... SPA ทุก Key word ๓ บรรทัด... คนที่ต้องตอบแบบประเมินควรเป็นทีมคร่อม ในขณะเดียวกันอะไรที่ยังไม่ได้ทำ ก็เอาไปทำ มีเทคนิคในการตอบ SPA ให้ตรงกับของโรงพยาบาลตนเอง... อ่านให้กันฟัง... บางโรงพยาบาลได้รับรางวัลเยอะแยะ แต่ไม่ผ่าน HA แนะให้เอารางวัลไปตอบ

ยกตัวอย่าง Self Enquiry… ต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ข้อจำกัดศักยภาพของ รพ. ใช้เครื่องมือ Clinical Self Enquiry อย่างไร ทำให้เห็นโรคที่เป็นปัญหาในกระบวนการนั้นๆ เรื่องเล่าประทับใจใช้เป็นตัวตอบแบบประเมินในเชิงคุณภาพได้ นวัตกรรมก็ใช้ได้... เป็นการตอบแบบประเมินแบบมีชีวิตชีวา

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ สถาบันบำราศนราดูร

ในฐานะหัวหน้าศูนย์คุณภาพ ใช้การศึกษา การสื่อสาร ส่งเสริมเพื่อสร้างและสะสม ศึกษาตนเองว่ามีความพร้อม ความรู้ความเข้าใจเพียงพอหรือเปล่า ศึกษามาตรฐาน ทำความเข้าใจ จับประเด็นสำคัญ ศึกษาองค์กร คนในองค์กรว่ามีลักษณะแบบไหน

ส สื่อสาร สื่อสารใคร สื่อสารอะไร...

  • อันดับแรกสื่อสารผู้บริหารว่าเขาเป็นคนสำคัญที่ต้องมีส่วนร่วม แต่ไม่จำเป็นต้องให้ผู้อำนวยการอ่านมาตรฐาน
  • สื่อสารทีมผู้ประสาน ต้องรู้จักมาตรฐาน SPA
  • สื่อสารหัวหน้าทีม มาตรฐานแต่ละเรื่อง
  • สื่อสารแพทย์ ให้รู้ว่าเป็นคนสำคัญที่จะทำให้งานคุณภาพขับเคลื่อนได้ ให้ทำงานประจำให้ดี มีปัญหาอะไร ให้เอามาคุย
  • สื่อสารบุคลากรในโรงพยาบาล บอกให้รู้ว่าทำงาน QA ให้ทำงานประจำให้ดี

สสส – ส่งเสริมเพื่อสร้างและสะสมความดีงามต่างๆ จัดสัปดาห์สื่อสารงานคุณภาพ... ให้ทุกหน่วยงานสรุปว่าคุณเป็นใคร ทำงานอะไร จัดงานแบบ “ครึ่งแรกนั่ง ครึ่งหลังเดิน” เกิดการเรียนรู้งานของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น ส่งเสริมต่อให้ทำงานประจำให้ดี มีอะไรให้คุยกัน ขยันทบทวน และส่งเสริมให้สรุปประเด็นสำคัญจากงานประจำ เก็บไว้เป็นผลงานของหน่วย (ทำอะไร ทำอย่างไร เกิดผลลัพธ์อะไร)

เทคนิคการสร้างความเข้าใจมาตรฐาน... จะพูดทุกงานว่า “ไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ ว่า... สอดคล้องกับมาตรฐาน HA เรื่อง...” แล้วเขาจะไปอ่านมาตรฐานเอง ให้เรียนรู้มาตรฐานจาก CQI ของงานที่ทำ แล้วยังผ่านเวทีเสาวนา ผ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง ผ่านการอบรม

ส่งเสริมการเรียนรู้มาตรฐานจากระบบบริหารความเสี่ยง มีการทำโปรแกรมความเสี่ยง พอเข้าระบบต้องเลือกการเข้าถึงและเข้ารับบริการ attach file ได้ ทำให้เกิดการเรียนรู้มาตรฐานจากการลงโปรแกรม

 

ประเมินอะไรดี

  • ประเมินสิ่งที่ตนเองทำว่ามีดีอะไร
  • ประเมินสิ่งที่ตนเองทำว่ามีโอกาสพัฒนาอะไร
  • ประเมินสิ่งที่มีเมื่อเทียบกับมาตรฐาน
  • ประเมินข้อ Practice ใน SPA ว่ามีสิ่งใดที่ทำแล้ว สิ่งใดที่น่าทำ
  • ประเมินสิ่งต่างๆ ที่วางระบบไว้ว่ามีการปฏิบัติอย่างไร โดยการตามรอย
  • ประเมินสิ่งที่ไม่รู้ไม่แน่ใจผ่าน Mini research

จากข้อมูลเอามาดูจะรู้ว่าอะไรเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพัฒนา (จึงมีชีวิต) เคล็ดลับ ทำด้วยใจ ใช้สมองกับสองมือ ผู้นำสนับสนุน ทีมงานเข้มแข็งและมีความสุข

สิ่งที่อยากฝาก

ภญ.สิตีแอเสาะ ดือเระ :

  • รู้จักตนเอง บริบท ความจริงของชีวิต
  • เข้าใจการนำองค์กร
  • ถอดบทเรียนแบบ Gap analysis ของ SPA
  • Workshop
  • ตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้หัวใจกับทุกคน

ทำแบบได้ใจ ทำแบบ workshop ตรวจงานทุกวัน สอนแบบเกรด ๒.๐๐ ไม่ใช่ ๓.๙๐ เวลาส่ง SAR ไม่ต้องอ่าน ดมก็รู้ว่าเป็นของ รพ.หนองจิก

คุณอังคณา นามบุตร :

๔ ร. “รู้จัก เรียนรู้ ริเริ่ม รัก” ต้องเรียนรู้สิ่งดีๆ ในองค์กร ริเริ่ม ต้องเริ่มตอบเพื่อค้นหาตัวเอง ให้ริเริ่มงานใหม่ๆ เมื่อตอบมาตรฐานไม่ได้ เมื่อพบประเด็นสำคัญ ต้องใช้ใจคือรักด้วย รักตัวเอง รักคนอื่น

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ :

I hear – I forget

I see – I learn

I do – I understand

วัลลา ตันตโยทัย 

หมายเลขบันทึก: 432950เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2011 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท