พยาบาลไม่พอ-คนไข้ตายเพิ่ม [EN]


สำนักข่าว USA Today ตีพิมพ์เรื่อง 'Study: When nurse staff drops, mortality rates rise' = "(การศึกษาใหม่)พบ: ขาดทีมพยาบาลทำอัตราตายเพิ่ม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน NEJM) พบว่า โรงพยาบาลที่มีปริมาณพยาบาลในทีมงานต่ำทำให้อัตราตายเพิ่มขึ้น
.
พยาบาลในโลกตะวันตกจำนวนมากเกิดในยุคเบบี้บูม (baby boomer = ยุคที่คนเกิดมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ "บูม (เพิ่มคล้ายๆ เสียงระเบิดดัง)" หรือปี 1946-1964 = พ.ศ. 2489-2507
.
คนรุ่นเบบี้บูมมีโอกาสรอดมากกว่ายุคก่อนๆ เนื่องจากมีโอกาสเข้าถึงน้ำสะอาด ส้วม วัคซีน และยารักษาโรคมากกว่าคนยุคก่อนหน้านั้น แถมยังเป็นยุคที่โลกตะวันตกว่างเว้นจากสงครามติดต่อกันหลายสิบปี
.
คนรุ่นนี้จะมีอายุในช่วง 47-65 ปีใน พ.ศ. 2554 และจะทยอยเกษียณไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันการที่คนรุ่นหลังมีอายุยืนยาวขึ้น มีโรคเรื้อรัง เช่น สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตเสื่อม ไตวาย ฯลฯ มากขึ้น ทำให้มีความต้องการพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีแนวโน้มจะผลิตไม่พอทั่วโลก
.
ศ.แจค นีดเดิลแมน และคณะ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอส แอนเอลิส สหรัฐฯ ทำการศึกษาข้อมูลจากการรับคนไข้ในเกือบ 200,000 ราย ซึ่งช่วงดังกล่าวมีพยาบาลเข้าทำงานกะ (shifts) หรือเข้าเวรรวม 177,000 กะ จากหอผู้ป่วย 43 หน่วยในโรงพยาาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง
.
ผลการศึกษาพบว่า คนไข้ในหอผู้ป่วยที่มีจำนวนพยาบาลไม่พอ (understaffed) มีอัตราตายเพิ่ม 2% และถ้าคนไข้อยู่ในหอผู้ป่วยที่มีจำนวนพยาบาลไม่พอติดต่อกันถึง 3 กะ จะมีอัตราตายเพิ่ม 6%
.
หอผู้ป่วยที่มีคนไข้หมุนเวียนเข้าออก (turnover) มากเกิน ทำให้พยาบาลต้องทำงานหนัก จะมีอัตราตายเพิ่ม 4%
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สหรัฐฯ และยุโรปนำเข้าแพทย์-พยาบาลจากประเทศที่ยากจนกว่า โดยเฉพาะจากเอเชีย-อาฟริกา เช่น อังกฤษ (UK) นำเข้าหมอจำนวนมากจากอินเดียและเอเชียใต้ (ประเทศรอบๆ อินเดีย) ฯลฯ
.
พยาบาลฟิลิปปินส์นิยมไปทำงานในสหรัฐฯ และแม้แต่หมอฟิลิปปินส์ก็นิยมเรียนต่อพยาบาล เพื่อขอเข้าไปทำงานในสหรัฐฯ (ง่ายกว่า และใช้เวลาน้อยกว่าการสอบเข้าทำงานเป็นหมอ)
.
ต่อไปไทยน่าจะขาดพยาบาลมากขึ้น ซึ่งถ้าเราลดการผลิตปริญญาที่จบมาแล้วตกงานให้น้อยลง ส่งเสริมการผลิตพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาลให้มากน่าจะส่งผลดีต่อประเทศอย่างกว้างขวางต่อไป
.
สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่แล้ว น่าจะได้รับการส่งเสริมให้เปิดการสอนพยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาล เพื่อป้องกันปัญหาขาดพยาบาลในอนาคต (โปรดอย่าสั่งเพิ่มผลิตลูกเดียว ขอให้เพิ่มงบประมาณให้สถาบันผลิตพยาบาล)
.
การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ถ้าพยาบาลยังขาดแคลนอยู่... ไม่จำเป็นก็อย่าป่วย และถ้าป่วยก็ไม่ควรป่วยนาน
. 
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ      

 > [ Twitter ]  

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 23 มีนาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 432647เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท