แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เล่าเรื่องเรียนจากอินเดีย by โสภา



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


เล่าเรื่องเรียนจากอินเดีย

เรียบเรียง ; โสภา ธมโชติพงศ์ 
คอลัมน์ โยคะจากอินเดีย
โยคะสารัตถะ ธันวาคม ๒๕๕๒

เพื่อนๆชาวโยคะสารัตถะที่รักทุกท่าน

พวกเราที่มาเรียนรู้จักโยคะไประยะหนึ่งก็ใฝ่ฝันไปสัมผัสของจริงที่ประเทศอินเดีย ไปรู้จัก ไปเรียนรู้จาก กูรู โยคีตัวจริง และเราก็เป็นคนหนึ่งเพิ่งกลับมาจากอินเดียได้หนึ่งอาทิตย์ ไปเข้าเรียน โปรแกรมอบรมครูแบบธรรมเนียมดั้งเดิม Tradition Teacher training Program (TTP) ระดับ 1 ของสถาบันหิมาลายัน Himalayan Institute ที่เมือง Rishikesh (คนไทยออกเสียง ฤษีเกศ) ก่อตั้งโดยท่านสวามีรามา Swami Rama ซึ่งขณะนี้ท่านสวามีเวทะ พาราตี  Swami Veda Bharati เป็นผู้อำนวยการอยู่

สถานที่สวยงามเห็นเทือกเขาหิมาลัยมีนกธรรมชาติหลากชนิดฝูงนกแก้วส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวบินร่อนไปร่อนมาจากต้นไม้ต้นนั้นไปต้นนี้อย่างร่าเริง มีดอกไม้สีหวานๆ ดอกโตให้ชื่นชม อากาศเริ่มหนาวกำลังดีสดชื่นมาก แม้ยามเช้าค่อนข้างหนาวมาก ได้เดินตากแดดอุ่นๆ และชมน้ำค้างบนยอดหญ้าต้องแสงแดดระยิบระยับเหมือนโรยกากเพชรทั่วสนามหญ้าทำให้มีชีวิตชีวา ที่งดงามที่สุดคือได้พบหมู่มิตรที่มีจิตใจงามจากนานาประเทศมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกันที่อาศรมแห่งนี้ภายใต้ปีกจีวรของท่านสวามีเวทะ พาราตี

ระยะเวลาอบรม 2 สัปดาห์ 18 ต.ค.ถึง 1 พ.ย. 2552 มีผู้เข้าเรียนจากนานาชาติส่วนมากเป็นฝรั่ง เรียนกันอย่างสนุกสนาน เราเองฟังทันบ้างไม่ทันบ้างตามความสามารถของคนไทยภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงมากแต่ใจสู้ เรียนกันวันละ 10 ชั่วโมง เริ่มแต่เช้า 5.30 น. สวดมนต์บูชาครูบาอาจารย์ ประมาณ 20นาที ต่อด้วยรายการบริหารข้อและต่อม Joints and Glands exercises บริหารตั้งแต่ หัว ใบหน้า หู ตา จมูก คอ ไหล่ ลงไปจนถึงปลายนิ้วเท้า เพื่อให้ทุกข้อ ต่อมต่างๆ กล้ามเนื้อทุกมัด ได้บริหารได้เคลื่อนไหวคล่อง เพื่อการไหลเวียน ของเลือด ลม และพลังปราน ตลอดทั่วร่างกาย จึงต่อด้วยสุริยะนมัสการแบบเร็วๆ 3 รอบ พอรู้สึกหัวใจสูบฉีดแรง ต่อด้วยหฐโยคะ จบด้วยท่าศพอย่างสงบสุข

ที่นี่ให้ความสำคัญการบริหารข้อและต่อมมากๆ มากกว่าการฝึกอาสนะต่างๆ แต่ละวันฝึกอาสนะไม่กี่ท่าเอง ที่ฝึกประจำ มี จระเข้ ฝึกการหายใจด้วยกระบังลม ท่างู ท่าแมว ท่าตั๊กแตน ท่าธนูทีละข้าง แต่มีเทคนิคแตกต่างจากที่พวกเราเรียนกับครูฮิโรชิ ก็คือที่นี่ให้กำหนดลมหายใจให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว และมีการกระตุ้นกล้ามเนื้อและอวัยวะบางส่วนเพื่อช่วยพยุง และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตรงที่เกร็ง เช่นเวลาทำท่างู ก่อนที่จะยกลำตัวส่วนบนขึ้นจากพื้นให้เกร็งกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและขาทั้งท่อนเสียก่อนแล้วจึงหายใจเข้าพร้อมกับค่อยๆ ยกลำตัวส่วนอกขึ้นจากพื้นแล้วนิ่งไว้ในตำแหน่งตึงพอดี ท่าตั๊กแตนก็เช่นกันก่อนที่จะยกขาขึ้นให้เกร็งสะโพกเกร็งขาทั้งท่อนก่อนแล้วจึงค่อยยกขาขึ้นพ้นจากพื้น ซึ่งครูปีเตอร์ Peter และ ครูอาชูโต Ashutos อธิบายว่าเพื่อช่วยพยุงกระดูกสันหลังไม่ให้บาดเจ็บและช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง โดยอธิบายความหมายของหฐ เมื่อแยกคำออก ห หมายถึงพระอาทิตย์ร้อนมีพลัง ฐ หมายถึงพระจันทร์เย็นสบายผ่อนคลาย  ดังนั้นการฝึกหฐโยคะ จึงมีทั้งการกระตุ้นและผ่อนคลายร่างกายสลับกันไปทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉงและผ่อนคลาย

จากการสังเกตสรีระของบรรดาครูที่นำฝึกประจำเป็นคนรูปร่างแข็งแรงมีกล้ามเนื้อเป็นมัดเหมือนกันไม่ผอมแห้ง และหน้าตาสดใสสีหน้าอมชมพู ทั้งๆ ที่กินมังสะวิรัตประจำ คงเป็นเพราะได้จากกินนมวัวตามวิถีของชาวอินเดีย ต่างจากคนที่กินมังสะวิรัตในบ้านเรามักจะเหลืองซีดเป็นโรคเลือดจาง

หัวใจสำคัญไม่ใช่อยู่ที่เทคนิคการฝึกหฐโยคะ แต่อยู่ที่การดำเนินชีวิตตามวิถีโยคะ มีการเจริญสติ ทำสมาธิ 2 นาทีสอดแทรกไปกับกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งวัน ก่อนเริ่มรายการและปิดท้ายรายการด้วยการทำสมาธิเสมอ เรียกว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาศรมแห่งนี้ได้ปฏิบัติธรรมทั้งวันทำให้ทุกคนมีบุคลิกสงบเย็น อารมณ์เบิกบานน่ารักมาก นี่แหละวิถีโยคะทำให้คนงดงามน่ารักแบบนี้เอง

การอบรม TTP เพียง 2 สัปดาห์ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ถ้าผู้เรียนไม่กลับไปปฏิบัติต่อ ดังนั้นหลักสูตรจึงกำหนดให้ทำการบ้านเรียนร่วมกับครูที่ปรึกษา (mentor) ซึ่งควรเป็นครูโยคะในพื้นที่เดียวกับผู้เรียน ต้องทำบันทึกเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ของร่างกาย การขับถ่าย การกินอาหาร จิต ใจ อารมณ์ อย่างต่อเนื่องหนึ่งปี

ถ้าเพื่อนๆ สนใจเข้าไปดู www.himalayanyogatradition.com

 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 432298เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ  กระผมสนใจเรื่องการโยคะ  และเคยคิดว่า  น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกซ้อมกีฬาอย่างมากด้วยเช่นกัน  ขอบพระคุณมากครับ  ที่ช่วยนำความรู้มาให้มวลชน  ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ  ขอทำการอ่านเพื่อการศึกษาด้วย  และติดตามให้พลังใจต่อไปครับ

มาอ่านหาประโยชน์จากโยคะนะครับ

สวัสดีค่ะ คุณ เนิ่ม ขมภูศรี
ขอบพระคุณมากนะคะ
คุณสามารถเข้าอ่านเพิ่มเติมได้ที่


เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

ที่นี่ได้รวบรวมบทความที่ลงไว้ในจดหมายข่าว
โดยแบ่งเป็น "คอลัมน์" , "นักเขียน" และ "รวมบทความ"

สวัสดีค่ะ  คุณโสภณ เปียสนิท
ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท