แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ปกิณกะ สุขภาพ by สดใส (พฤศจิกายน ๒๕๕๒)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 

ปกิณกะ สุขภาพ (พฤศจิกายน ๒๕๕๒)

  • การทดสอบอย่างง่ายเพื่อดูว่าคุณมีโอกาสหัวใจวายมากน้อยแค่ไหน

ถ้าคุณกำลังย่างเข้าสู่วัยสุกงอม (อายุตั้งแต่ 40ปีขึ้นไป!) และกำลังคิดว่าคุณมีโอกาสหัวใจวายเฉียบพลันหรือเส้นเลือดในสมองแตกแค่ไหน เรามีการทดสอบแบบง่ายๆ

แค่นั่งบนพื้นโดยที่แผ่นหลังพิงผนังห้อง โค้งส่วนเอวเพื่อจะดูว่าคุณสามารถเอื้อมไปได้ไกลกว่าหัวแม่เท้าของคุณหรือไม่

การทดสอบแค่นี้จะทำให้คุณได้เห็นถึงความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงของคุณ และเป็นตัวชี้วัดถึงความเป็นไปได้ในอนาคตเกี่ยวกับโรคหัวใจของคุณ

อย่าเสียใจถ้าคุณทำทดสอบแล้วรู้สึกว่ายากหรือเป็นไปไม่ได้ เพราะทีมงานวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มคนที่มีอายุต่างๆ กันและได้พบว่า การออกกำลังกายแบบเหยียดยืด โยคะ รวมทั้ง พิลาเทส สามารถพัฒนาความยืดหยุ่น และสุขภาพของหลอดเลือดแดงได้

  • น้ำมันมะกอกป้องกันและอาจจะชนะโรคอัลไซเมอร์ส

น้ำมันมะกอกที่เรากินในสลัดมีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ส และยังชนะโรคอัลไซเมอร์ส ได้อีกด้วยถ้าคุณเป็นโรคนี้อยู่แล้ว

สารมหัศจรรย์ในน้ำมันมะกอกที่หีบอย่างมีคุณภาพคือ "โอลีโอแคนธาล" สารประกอบที่ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารประสาทที่เป็นพิษ ซึ่งมีส่วนในการทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ส

สารประสาทที่เป็นพิษนี้ รู้จักกันในชื่อ ADDLs ซึ่งรบกวนการทำงานของเซลล์ประสาท นำไปสู่ความจำเสื่อม เซลล์ตาย และ ขัดขวางการทำงานของระบบสมองอย่างถาวร

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ในชิคาโก้ ได้ค้นพบสารประสาทที่เป็นพิษ ADDLs ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และทำการทดลองที่แสดงว่า โอลีโอแคนธาล เป็นตัวสนับสนุนเซลล์แอนติบอดี้ให้ไปทำลายสารประสาทพิษได้

ทีมนักวิจัยมีความหวังว่าการค้นพบของพวกเขาจะเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ต่อการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส แต่ก็ยังต้องอาศัยการวิจัยทางการแพทย์อื่นๆ อีก เพื่อที่จะให้ได้คำตอบ

  • การผ่อนคลายและการหายใจที่เหมาะสมสามารถลดการเกิดหอบหืด

นักวิจัยพบว่า ผู้เป็นโรคหอบหืดสามารถลดอาการจับหอบได้ โดยการเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและปรับรูปแบบการหายใจ

ผู้ป่วยหอบหืดส่วนมากมีแนวโน้มที่จะหายใจเกินจากอาการจับหอบเฉียบพลันได้ ซึ่งการที่หายใจเร็วและลึกทำให้อาการแย่ลง มันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกายคนไข้ลดลง คนไข้จะหายใจน้อยลง ยิ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดไปที่สมองถูกจำกัด และยังทำให้เกิดการระคายเคืองแก่ช่องทางเดินหลอดลมที่ไวเกินกว่าปกติอีกด้วย

ผู้ป่วยหอบหืดส่วนใหญ่หายใจเกินในลักษณะนี้ และทำให้มีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการจับหอบเฉียบพลันต่อๆ ไป

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมทโธดิสท์ ในเมืองดัลลัส ได้ตระหนักถึงวงจรเลวร้ายที่รังแต่จะทวีความรุนรงเพิ่มขึ้นๆ นี้และได้ออกแบบโปรแกรม สอนผู้ป่วยหอบหืด 120 คนให้คอยสังเกตุการตอบกลับทางชีวภาพ เพื่อค่อยๆ ปรับการหายใจของตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ 

 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 432115เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท