ประสบการณ์เป็นผู้ป่วย (ทางภาษา) กับการฝึก Pronunciation กับ speech therapist


Accent" ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ "Pitch : การพูดทับศัทพ์อังกฤษในประโยคไทย (พูดไทยคำอังกฤษคำ) มีผลให้ตัวเราจำการออกเสียงที่ผิดเพี้ยน

อะไรทำให้เวลาเราพูดภาษาอังกฤษแล้วคนฟังงง ต้องขอให้พูดอีกรอบ..ทั้งๆ ที่เราก็พูดช้า  ขณะที่บางประเทศยกตัวอย่างอินเดีย พูดก็เร็ว สำเนียงก็แตกต่าง ทำไมไม่มีปัญหา..
จะโทษสิ่งแวดล้อม..บางคนอยู่เมืองไทยแต่พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง สละสลวย
บางคน..เช่นฉัน  อยู่ท่ามกลางคนพูดภาษาอังกฤษก็จริง แต่สงสัยมี "Learning disability ทางภาษา"  พอๆ กับ "Learning disabilty ในการร้องเพลง"..ปัญหานี้ยิ่งชัดเจน เวลาต้องโทรศัพท์ เพราะอ่านปากไม่ได้ หรือ นำเสนอผลงาน เพราะบวกกับความไม่มั่นใจและตื่นเต้น
..ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงสมัครใจเป็น "ผู้ป่วยทางภาษา" เข้ารับการ "บำบัด"จาก speech therapist ของโรงพยาบาลที่ฝึกอบรม ฟังดูเลวร้ายไปใช่ไหมคะ..ที่จริงแล้ว..เป็นหลักสูตรฝึกอบรมการออกเสียง American english ที่ถูกต้อง ให้กับผู้สนใจ..รายการนี้ไม่ฟรี (ไม่มีอะไรฟรีในอเมริกา) แต่ฉันก็กัดฟันรีดเลือดปูลงทะเบียน เพื่อจะลองดูว่าการเน้นฝึกกล้ามเนื้อปากและลิ้น ตามหลักวิทยาศาสตร์จะสร้างความแตกต่างในการสื่อสารได้หรือไม่..และ..คำขวัญประจำใจลูกช้างคือ "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา"

มาดูกันว่าเขาบำบัดกันอย่างไร

ก่อนเข้าบำบัด จะมีการ Screening test เพื่อดูว่าปัญหาในการออกเสียงคืออะไร ด้วยการพูดอัดเสียงเป็น mp3 แล้วส่งออนไลน์ หลังจากนั้น 1 วันก็จะมีเอกสารแจ้งผลว่า "ปัญหาที่เป็นเป้าหมายของตัวเราเองคืออะไร"

การฝึกแบบ intensive เต็มวันสองวัน มีทีมผู้บำบัด 3 ท่าน และมีผู้ป่วย เอ้ย..เพื่อนร่วมห้อง 12 คน มาจากจีน เกาหลีใต้ บราซิล สเปน และไทย

concept แรก : รู้จักสัญลักษณ์สากล Phonetic.

เจ้าสัญลักษณ์ International Phonetic Alphabet - IPA นี้เคยผ่านตาใน dictionary ก็ไม่เคยสนใจ แต่หนนี้ต้องเห็นคุณค่าแล้ว..เพราะการพยายามถอดรหัสออกเสียงเป็นภาษาไทย "คลาดเคลื่อนง่าย" เพราะเหตุใด ? เพราะบางตัวภาษาเราไม่มีอักษรแทนเสียงนั้นเลย ลองเข้าไปดูเปรียบเทียบเสียงแต่ละภาษาได้ที่นี่
การลงทุนเชื่อมโยงสัญลักษณ์ กับ วิธีการขยับปาก โดยตรง จึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่า 

สิ่งที่จำเป็นต้องท่องในใจเสมอ คือ "สิ่งที่เห็น อาจมิใช่สิ่งที่เป็น" อย่างตัวเขียนสระมีเพียง A,E,I,O,U แต่วิธีออกเสียงมี 17 เสียง

A  : a(bar)  æ(bad)  e(base)
E  : e(bet)    i (be)
I   : I(bit)     ai (bite)
O  : O(boat)  ɔ (box) ɒ (boss) ʊ (boot) aʊ (bowel) ɔI (boil) ɒ ə (bottom)
U   : u(bush) ʊ (bull)  ʌ (buffet)

เวบแนะนำในการเรียนออกเสียงให้ถูกต้อง
1.  Pronuncian.com  อธิบายวิธีการออกเสียงอย่าง "practical" พร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เป็น podcast ฟังเพลิน

2.  phonetic training ของ Uiowa



Concept 2 : รู้จัก Voiceless กับ Voice

อักษรส่วนมากต้องการส่งเสียงลงลำคอ เรียกว่า voice
แต่บางอักษรที่ฟังเผินๆ ใกล้เคียงกันต้องตัดเสียงในลำคอออกเรียกว่า voiceless
คู่ voiceless/voice ที่สำคัญคือ  S/Z , T/D, F/V และ P/B
ไม่เชื่อลองออกเสียง Ter เสียงจะก้องในปาก Der เสียงจะก้องไปถึงลำคอ

Concept 3 : 4 สหายการพูดภาษาอังกฤษ : 
                    Pitch, Ended sound, Vowel, Consonent

 
สิ่งที่ speech therapist แนะนำก็คือ "เรื่อง accent ไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่ทำให้ native ฟังไม่เข้าใจ มีอยู่สี่อย่างใหญ่ๆ คือ

1. Pitch  
1.1 ระหว่างคำ (tonation)
หากไม่มี tonation เลย พูดเสียงเดียวกันไปเรื่อยๆ ปัญหาคือ native จะไม่มี "จุดแยกประโยค" ขณะที่บางภาษามักติดขึ้นเสียงสูงในท้ายประโยค ทำให้ฟังเหมือนคำถาม หรือ ไม่แน่ใจ ที่ถูกต้องคือ "walk - jump-step-fall" หมายถึง โดยทั่วไปจะขึ้นเสียงสูงคำที่อยู่ระหว่างคำแรกกับคำสุดท้ายของประโยค  ยกเว้น ต้องการเน้นคำนั้นจริงๆ..ตอนนี้ฉันจึงต้องท่องในใจก่อนจบประโยค "fallen.." ไว้ก่อน

1.2 ภายในคำ (stress) มีหลักการคร่าวๆ ดังนี้

สองคำ ถ้าเน้นคำ"นำ"  เช่น CONtrast  = noun
สองคำ ถ้าเน้นคำ หลัง เช่น conTRAST.. = verb

สามคำ ตะกูล sion, tion เน้นคำ "ติดกัน" เช่น CommuniCAtion
สามคำ ตะกูล cy, ty, gy เน้นคำ "เกือบติด" เช่น TENdency, MethoDOlogy
( ส่วนมาก คำสามพยางค์ขึ้นไป ก็เน้นคำ"เกือบติด")

คำแนะนำคือ คำไหนต้องใช้บ่อยๆ เกี่ยวกับงานของเรา ให้เช็คกับ Webster dictionary online ซึ่งมี Pronunciation ที่ถูกต้องชัดเจน

 

2. Ended sound
  พวก "ed" "S" ในภาษาไทยไม่มี ทำให้เวลาพูดมักจะลืม ต้องคอยเตือนตัวเองว่า ภาษาอังกฤษ "ข้อมูลอยู่ที่ ended sound"
  เรื่องนี้ถ้าเข้าใจ voice , voiceless ก็ไม่ต้องจำหลัก grammar เพราะจริงๆ แล้วเกิดจากการส่งผ่านเสียงอย่างธรรมชาติ คือ ตัวสะกดเป็นอักษรที่ต้องคำรามในลำคอ (voice) อยู่แล้วจะคำรามต่อมันก็ไม่ไหว  ดังนั้น ถ้าคำสุดท้ายเป็น voice + voiceless end ถ้าคำสุดท้ายเป็น voicelss + voice end ยกตัวอย่าง
  shoe (voiceless) + s จะออกเสียง  Shoe + ซื่อซซ (z = voice)
  shop (voiceless) + s จะออกเสียง  Shop + ซื่อซซ (z = voice)
  sub (voice) + s จะออกเสียง sub + s (voiceless)
ทำนองเดียวกัน
  shop (voiceless) + ed จะออกเสียง shop+ เdอะ (voice)
  sub (voice) + ed จะออกเสียง sub + เtอะ (voiceless)
แต่
  shot (voiceless) + ed จะออกเสียงเป็น shotทิด
  shade (voice) + ed จะออกเสียงเป็น shadดิด 

-ng เช่น sing เรามักออกเสียงเป็น "ซิงง" เต็มๆ แต่จริงๆ แล้ว เป็น "ซิน (ง ในลำคอ)

3.Vowel
การออกเสียงสระบางอย่างภาษาเราไม่มี อย่าง "er" เป็น "เออ" ที่ไม่ใช่ "uh" แต่วิธีออกเสียงเป็นการใช้ลิ้น"ถอย" ไปกับเพดานปากแบบที่ฉันไม่เคยทำมาก่อนในชีวิตนี้
ที่สำคัญคือเสียงท้ายในลำคอ อย่าง Schwa sound นั้น ทำไม่ได้เวลาพูดทับศัพท์ในประโยคภาษาไทย  นี่เป็นเหตุผลหนึ่งว่า การพูดไทยคำอังกฤษคำ มีผลให้จำการออกเสียงไม่ถูกต้องได้
.

source : http://www.pronuncian.com/Sounds/
.

4. consonant:
ออกเสียงพยัญชนะแยกกันไม่ออก ที่เจอบ่อยๆ คือ
  - th/s/z eg.  Think , Sink, Zince
  th ลิ้นจะผ่านฟันหน้าออกมาเล็กน้อย
  s กับ z ลิ้นต้องไม่ให้ผ่านฟันหน้าออกมา เทคนิคคือพยายามให้อยู่ติดกับ floor of
  mouth ไว้ การส่งเสียงผ่านลำคอจะทำเสียง z (voice) ต่างจาก s (voiceless).
  - L กับ R: L ปลายลิ้นจะแตะฟันหน้าบน, R ลิ้นติด floor of mouth และพยายามอย่ารัวให้กลายเป็น "ร" 
  - Sh/Ch  eg. Shop, Chop  คำที่ใช้ Sh (ชูวว์) ต้องลากเสียงให้ยาวกว่า Ch (เชอะ ปลายลิ้นแตะ alveolar ridge)

 source: http://www.pronuncian.com/Sounds/
.
ที่ฉันชื่นชอบคือ Short presentation 2 นาที เรื่องที่ตัวเองต้องพูดบ่อยๆ และรู้ดีที่สุด บางคนพูดเกี่ยวกับงานวิจัย  บางคนพูดเรื่องแนะนำเมืองบ้านเกิด วัตถุประสงค์กิจกรรมนี้คือหา "Personal word list" เพราะเราอาจไม่สามารถออกเสียงให้ถูกได้ทุกคำในระยะเวลาอันสั้น (ภาษาอังกฤษก็คล้ายภาษาไทย คือ บางคำเขียนอย่างออกเสียงอย่าง มีข้อยกเว้นยิบๆ อีก) แต่ขอให้คำที่เราต้องใช้บ่อยๆ ถูกต้องไปก่อนละกัน

 

3. หลังจบ session แนะนำให้ดูโทรทัศน์ข่าวภาษาอังกฤษ โดยจับสังเกต "ปาก" และ pitch ของประโยค..ที่สำคัญคือต้องฝึกกล้ามเนื้อลิ้นและปากอย่างสม่ำเสมอ..มีนัดติดตาม ในอีก 1 เดือนข้างหน้า 

วันนี้กลับบ้านด้วยอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (ปาก) ขอพักยกก่อนคะ

หมายเลขบันทึก: 431790เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2011 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้ความรู้ดีมาก ๆ ขอบคุณค่ะ ^*^

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท