แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะเพื่อสมาธิ vs. สมาธิเพื่อโยคะ by หมอสุ



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


โยคะเพื่อสมาธิ vs. สมาธิเพื่อโยคะ

เขียนโดย ; หมอสุ
คอลัมน์ ; โยคะวิถี
โยคะสารัตถะ ตุลาคม ๒๕๕๒

 

เมื่อปลายปี 2551 เริ่มมีโอกาสได้เข้าอบรมคอร์สครูโยคะที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ครูได้พูดถึงเป้าหมายของโยคะคือการนำไปสู่สมาธิ จากสามเหลี่ยมของ Miller ซึ่งแจกแจงกระบวนการเรียนรู้ได้แบ่งระดับความรู้ความสามารถเป็น 4 ระดับ คือ

 

 

ระดับที่ 1 คือ Knows เมื่อได้ฟังการบรรยายระดับความรับรู้ของเราก็อยู่แค่ "รู้" ว่าโยคะนำไปสู่สมาธิ ซึ่งใครก็ตามที่มีโอกาสได้ซื้อหนังสือโยคะมาอ่านหรืออ่านพบใน internet ก็คงจะรู้ได้เช่นกัน

ระดับที่ 2 คือ Knows how ซึ่งองค์ความรู้เหล่านั้นมีกี่คนที่จะรู้ว่าเราต้องทำอย่างไรเพื่อไปสู่สมาธิ ในกระบวนการอบรมครั้งนั้นคณะครูได้เริ่มถ่ายทอดขั้นตอนหรือมรรคต่างๆซึ่งจะนำไปสู่สมาธิ

ระดับที่ 3 คือ Shows how ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติด้วยตนเองโดยครูเป็นผู้ช่วยแก้ไข

ระดับที่ 4 คือ Does หรือเราสามารถ "ทำได้เองอย่างถูกต้องและได้สมาธิ"

ซึ่งการทำได้ถูกต้องก็ยังไม่ได้หมายความว่าท่านจะได้สมาธิ ท่านต้องประเมินตนเองในแต่ละมรรคว่าทำได้ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ สามารถทำได้ดีกว่านี้หรือเปล่า เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด หลังการอบรมหลักสูตรใดๆก็ตามหลายคนยังคงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องมากบ้าง น้อยบ้างตามแต่โอกาสหรือข้ออ้าง อิ อิ หลายคนอาจจะไม่ได้มีโอกาสกลับไปอ่านตำราที่ได้เคยร่ำเรียนมา หลายคนอาจมุ่งเน้นอาสนะ ปราณายามะหรือสมาธิ แต่อาจไม่ได้เน้น (หรือละเลย) ยมะและนิยมะ ข้าพเจ้าเองก็เป็นหนึ่งในบุคคลดังกล่าวที่ทำมาแล้วทั้งหมด

อำเภอศรีราชาได้เปิดอบรมหลักสูตร "ครูสมาธิ" ระยะเวลา 6 เดือน ผู้เรียนต้องเรียนทฤษฎี และปฏิบัติวันเสาร์และอาทิตย์ และต้องทำการบ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เมื่อฝึกเดินจงกรมข้าพเจ้าพบว่า ท่ายืนของตนเองไม่สมดุล คือ ท้องยื่นไปข้างหน้า อกไม่ผาย เวลาเดินหรือยืนแค่ 30 นาทีก็ปวดแล้ว พอต้องนั่งสมาธิ 30 นาที พบว่า การนั่งแต่ละครั้งต้องจัดท่าให้สมดุลตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้นั่งได้นาน ไม่เมื่อย และเวลาที่จิตรวมจะได้ไม่คอพับคอเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ถ้า "ท่ามาก"ก็อาจไม่สมดุล ตามมาด้วยปวดเมื่อย การจัดท่าของข้าพเจ้าหมายถึงท่าที่จัดแล้วเรารู้สึกสมดุล อยู่ในสมาธิได้นาน ในขณะเดียวกันไม่เกิดผลเสียกับตนเอง ดังนั้นสมดุลของใครก็ของคนนั้น สมดุลวันนี้อาจไม่ใช่สมดุลในวันพรุ่งนี้ขึ้นกับสภาพความพร้อมของร่างกายและจิตใจ

เหตุผลที่ไปสมัครเรียนเพราะคิดว่าการเรียนหลักสูตรสมาธิอาจทำให้เราเข้าใจสมาธิมากขึ้น สิ่งที่พบคือข้าพเจ้าต้องกลับมาทำความเข้าใจโยคะมากขึ้นไปกว่าเดิม ได้มีโอกาสประเมินตนเองตั้งแต่การรับประทานอาหาร ถ้ามื้อไหนทานมากไป ไม่มิตราหาระ ท้องก็อืดเฟ้อ ภาคบ่ายก็จะนั่งหลับในชั่วโมงเรียน ได้มีโอกาสมาทบทวนยมะและนิยมะของตนเอง ทำให้พบว่ายังมีข้อที่ต้องปรับปรุงอีกหลายข้อ เมื่อทบทวนการทำอาสนะทุกครั้งที่ทำ พบว่า ยังต้องกลับไปที่ท่าพื้นฐานทั้ง 14 ท่า และได้เห็นกิเลสและจิตของตนเองในแต่ละครั้งที่ฝึกอาสนะ ได้เห็นทั้งความขี้เกียจและความหลง และสุดท้ายได้เกิดอิทธิบาท 4 ในการฝึกมรรคต่างๆของโยคะให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ได้กลับไปทบทวนหนังสือหนึ่งตั้งที่ครูให้มาตามแต่ปัญหาที่เกิดข้อสงสัยในขณะที่ปฏิบัติ ได้พบว่าตัวเองมีเวลามากขึ้นกว่าเดิมทั้งการฝึกโยคะและสมาธิ สุดท้ายได้ค้นพบว่า "โยคะเป็นไปเพื่อสมาธิ และสมาธิก็เป็นไปเพื่อโยคะ" 


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431782เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2011 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท