ทำให้ดู อยู่ให้เห็น (1) การตรงต่อเวลา


เรื่องนี้ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกับสำนึกเรื่องเวลา (sense of time) ของคนไทยหรือเปล่า

เยาวชนไทยจำนวนมากที่เคยชินกับการไปถึงห้องเรียนสายตั้งแต่อยู่มหาวิทยาลัย พอจบไปทำงาน ยังปรับความเคยชินไม่ได้ เข้าประชุมสาย 5 นาที ถูกเจ้านายยกนาฬิกาข้อมือขึ้นดู มองหน้าเขา แล้วพูดอย่างสุภาพว่า "คุณสาย 5 นาทีครับ" บางคนก็เปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่บางคนก็ต้องลาออกไปทำงานอื่นเพราะปรับตัวไม่ได้

เรื่องนี้ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกับสำนึกเรื่องเวลา (sense of time) ของคนไทยหรือเปล่า เนื่องจากแต่ก่อนเรานัดกันกว้างๆ เช่น เช้า เที่ยง (เพล) เย็น จึงอาจต้องใช้เวลาเพื่อปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่

ผมแนะนำให้นักศึกษาที่เรียนวิชาศึกษาทั่วไปบางวิชา (เช่น วิชาการรู้จักตนเอง ที่คล้ายๆ กับวิชามนุษย์กับการพัฒนาตนในมหาวิทยาลัยทั่วไป) ทำโครงงาน "การไปถึงที่นัดหมายก่อนเวลา 5 นาทีเสมอของข้าพเจ้า" เมื่อปฏิบัติตามโครงงานนี้แล้ว มักพบตนเองกลายเป็นคนใหม่ ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง (แฟน, เพื่อน, ที่ทำงาน, ห้องเรียน ฯลฯ) เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ชีวิตก็มีความสุขขึ้น

ผมเห็นว่าครูบาอาจารย์ ถ้าไม่เบื่อกับการอบรมสั่งสอนเยาวชน หมั่นอบรมเขาด้วยความอดทน ทำไปเรื่อยๆ เท่าที่ทำได้ ศิษย์คนไหนทำได้ก็จะได้อานิสงส์ด้วยตนเอง ใครทำไม่ได้ก็เป็นกรรมของเขาเอง ชีวิตก็เจริญได้ยาก 

ที่สำคัญคือครูบาอาจารย์อย่างเราต้อง "ทำให้ดู อยู่ให้เห็น" ด้วย การอบรมสั่งสอนนั้นจึงจะมีพลัง

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
18 มี.ค.2554

หมายเลขบันทึก: 431729เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2011 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยคะอาจารย์
ความตรงต่อเวลา เป็นสิ่งบ่งชี้หนึ่งของความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง

ขอบคุณและเห็นด้วยกับคุณ CMUpal "ความตรงต่อเวลา เป็นสิ่งบ่งชี้หนึ่งของความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท