พระพุทธเจ้าคิด PDCA ก่อน Deming เชื่อไหม?(2)


PDCA คือ อิทธิบาท 4 จริงไหม?

.......ทำไม อะไรทำให้ “สุดปฐพี” คิดว่า วงจรพัฒนาคุณภาพงานของดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง นั้น พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นมาก่อนเป็นเวลากว่า 2,484 ปี


.......เพราะหลักคำสอนเรื่อง อิทธิบาท 4 ของพระพุทธเจ้านั่นเอง คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ

1.    ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

2.    วิริยะ   ความพากเพียรในสิ่งนั้น

3.    จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

4.    วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

.......ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่า ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะทำได้ ถือเป็นกำลังใจเริ่มแรกที่ทำให้เกิดคุณธรรม ข้อต่อไปทุกข้อ

.......วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การกระทำที่ติดต่อไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง

.......จิตตะ หมายถึง ความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

.......วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

เมื่อนำ PDCA มาเทียบกับอิทธิบาท 4 มันคือเรื่องเดียวกันอย่างแยบคาย คือ

.......P–(Plan) คือ การวางแผนโดยมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน/กระบวนการ/วิธีการระยะเวลา บุคคลากรทรัพยากร / อุปกรณ์ / เครื่องมือ และงบประมาณ ทุกการวางแผนล้วนแต่ต้องเริ่มมาจาก ฉันทะ       ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น เช่น จะจีบสาวสักคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เราต้องรักผู้หญิงคนนั้นก่อนมิใช่หรือ ก่อนที่เราจะวางแผนจีบเธอ เพื่อให้เธอรักเรา เป็นต้น

 
.......D- (Do) คือ การปฏิบัติงานมีความเข้าใจ และทำตามแผนงานที่วางไว้ ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่าต้องมี วิริยะ คือความพากเพียร


.......C- (Check) คือ การตรวจสอบมีการติดตามผลและความก้าวหน้าของงานเก็บสถิติเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมิน และเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้ หรือ จิตตะ อันหมายถึง ความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว


.......A- (Act) คือ การดำเนินการนำผลของการปฏิบัติงาน พร้อมข้อมูลทางสถิติ มาประเมิน หรือวิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา นั่นเอง

.......“และนี่เป็นเพียงมุมมองของมนุษย์คนหนึ่งที่เคารพแนวคิดของพระพุทธเจ้าและศ.ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง บุคคลสำคัญทั้งสองของโลกที่สร้างหลักการทำงานอย่างมีคุณภาพสู่การทำงานอย่างมีคุณธรรม” สุดปฐพี เวียงสี

.......อย่างน้อย ผมอยากให้การกระตุกต่อมคิดนี้สะท้อนสู่ภาควิชาการว่า หลักการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องตามดูแต่ของฝรั่งแต่อย่างเดียว บางที ความรู้ แนวทางปฏิบัติอาจมาจากพระพุทธศาสนาหรือทุกศาสนาที่มีแนวทางการบริหารต่างๆมากมาย อันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตกผลึกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และความรู้บางอย่างอาจหาไม่ได้ในตำราวิชาการ แต่อาจพบพานจากการบริการวิชาการก็เป็นได้

.......“พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสรู้ในห้องเลคเชอร์ แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์มิใช่หรือ?”

 

.......“คราวหน้า ใครอยากเป็นนักขายตรงแบบ Multi Level marketing แบบมืออาชีพ ผมอยากจะบอกว่า พระพุทธเจ้าทำมานานแล้ว อีกเช่นเดิม”

หมายเลขบันทึก: 431477เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2011 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ...

  • พี่เคยพูดกับพ่อบ้านและลูกว่า ความจริงมีอีกหลาย ๆ อย่างที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในยุคของพระพุทธเจ้า พอมาเห็นทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเช่นที่คุณปฐพีบอก...นั่นคือ จริง ๆ แล้วในสมัยยุคของพระพุทธเจ้าเกิดอาจไม่ได้เรียกแบบอย่างตามทฤษฎีใหม่ที่เกิดขึ้น เรียกว่า ยุคเก่าก็มีดีอยู่ตัวในตัวนะค่ะ...อย่าได้ดูถูก แถมบางสิ่งบางอย่างยุคเก่าถ้าเปรียบเทียบแล้วดีกว่าทฤษฎีใหม่ ๆ และเกิดก่อนด้วยซ้ำค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ทำให้นึกถึงว่าเคยได้พูดคุยกันภายในครอบครัวบ้างแล้วค่ะ...ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้พูดคุยกันภายในครอบครัวของเราเท่านั้น ยังมีคุณปฐพีก็คิดเช่นครอบครัวพี่เหมือนกันค่ะ ขอบคุณค่ะ...

เป็นบัททึกที่ผมชอบอีกหนึ่งบันทึกในเช้าวันนี้ครับ

แจ่มมากครับ

เข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุณบันทึกดีๆ ครับ

เชิญชมบันทึกใหม่ครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/431814

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท