สพฐ.เปิดรับฟังความเห็นครู ก่อนยุบ600โรงเรียนขนาดเล็ก


โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า120คนจะถูกยุบรวม

สพฐ.เปิดรับฟังความเห็นครู ก่อนยุบ600โรงเรียนขนาดเล็ก

รองเลขาสพฐ.เผยมีโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 600 แห่ง อาจถูกยุบทิ้ง เหตุขาดครู นักเรียนน้อย อีกกว่า1.2 หมื่นแห่ง นักเรียนต่ำกว่า120คนจะถูกยุบรวม พร้อมนำความเห็นจากทุกภาคเข้าที่ประชุม สพฐ.อีกครั้ง เพื่อแก้ไขปรับปรุงร่างระเบียบให้เหมาะสมก่อนบังคับใช้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับ ร่างระเบียบและร่างประกาศ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบรวม ยุบเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ...และร่างประกาศคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ...ที่โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ของภาคอีสาน เข้ารับฟังกว่า 200 คน 

นายชินภัทร ภูมิรัตน รองเลขาธิการ สพฐ. เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้งหมด 32,340 โรงเรียน โดยการจัดการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี คือตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น สพฐ.ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ดำเนินการ แต่ยังร่วมกับภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในพื้นที่

เด็กทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับคือ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องได้เรียนหนังสือ โดยตั้งเป้าตัวเลขเด็กเรียนในภาคบังคับม.ต้นและเข้าเรียนม.ปลายให้สูงขึ้น 100% ในปี 2551 นี้

สำหรับการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้นพบว่า ขณะนี้มีตัวเลขโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีเด็กนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ทั่วประเทศอยู่ทั้งหมด 12,289 โรงเรียน และมีโรงเรียนที่คาดว่าจะถูกยกเลิกประมาณ 600 แห่ง ที่มีเด็กเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่มีครู ขาดงบประมาณ อาคารเรียนชำรุด และอื่นๆ

"การจะยุบหรือไม่ยุบโรงเรียนนั้น จะต้องคำนึงถึงโอกาสของผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่คุณภาพและประสิทธิภาพก็จะต้องพิจารณาเช่นกัน และต้องเป็นความยินยอมพร้อมใจของท้องถิ่น และชุมชนด้วย ไม่อยากจะให้ระเบียบมาเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา แต่อยากจะเอื้ออำนวยให้เด็กทุคนได้มีโอกาสเรียนหนังสือ จึงอยากจะมาจัดรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อรับฟังว่า ร่างระเบียบฯและร่างประกาศฯ ทั้ง 2 ฉบับนั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือควรจะปรับปรุงอย่างไร" นายชินภัทร กล่าว 3

โดยความคิดเห็นทั้งหมด ที่มีการนำเสนอจากทั่วทุกภูมิภาค จะมีการนำเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกครั้ง เพื่อแก้ไขปรับปรุงร่าง และประกาศทั้ง 2 ใหม่ เพื่อให้เหมาะสม ก่อนจะมีการนำไปใช้ต่อไป

ข่าวโดย : สพฐ.
5 กรกฎาคม 2549 16:31 น.


แสดงความคิดเห็น

เห็นด้วยในการยุบรวม เพื่อเป็นการรักษามาตรฐาน การเรียนการสอน และเพื่อให้ได้รับความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา แต่ต้องมีแผนรองรับ และต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ ในการจะยุบโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง

๑.       ที่ตั้ง ชุมชน  ความห่างไกลจากที่เรียนใหม่

๒.     มองอัตรากำลังของครูที่มีอยู่ ในเรื่องตำแหน่งการโยกย้าย

๓.     เมื่อยุบแล้วเรื่องการเดินทาง สถานที่เรียนใหม่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการยุบรวมก็เห็นด้วยในหลักการ แต่ถ้าไม่มีแผนรองรับที่ดี สิ่งที่ทำลงไปจะมีประโยชน์อะไร เท่ากับสร้างปัญหาเดิมๆ ให้เกิดขึ้น

(แสดงความคิดเห็นโดยส่วนตัวนะครับ ซึ่งอาจจะไม่ถูกทั้งหมด ใครคิดเห็นยังไงช่วยออกความคิดเห็นด้วยครับ)

หมายเลขบันทึก: 43125เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้อย่างเสียอย่างความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท