โครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียน by Unyaparn


การพัฒนาคิดวิเคราะห์ ด้วยมัลติมีเดีย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

ชื่อรายงาน : การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา ด้วยมัลติมีเดีย บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แนวคิดในการพัฒนาตน ในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

ปัญหา  : นักศึกษาไม่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ สภาพปัญหา และนำแนวคิดทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมของตนเองได้

สาเหตุ   

                    1.  การจัดการเรียนการสอน เรื่องแนวคิดในการพัฒนาตน มีลักษณะบรรยายที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดเนื้อหามากกว่าการเน้นกระบวนการคิด

                    2.  การทดสอบมุ่งเน้นที่เนื้อหามากกว่าการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา                 

               3.  ขาดสื่อทางคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

วัตถุประสงค์

                    เพื่อพัฒนาความสามารถคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา ด้วยมัลติมีเดียบนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แนวคิดในการพัฒนาตน ในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน  

วิธีการวิจัย

                    1.  กลุ่มเป้าหมาย  นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน ในภาคเรียนที่ 2/2552 จำนวน 1 หมู่เรียน นักศึกษา 20 คน

                    2.  วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้

                          2.1  ชื่อนวัตกรรม : มัลติมีเดีย บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง แนวคิดในการพัฒนาตน ในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน จำนวน 3 หน่วย ดังนี้

                                2.1.1  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิค ของอีแวน พาฟลอฟ

                                2.1.2  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ของบี.เอฟ.สกินเนอร์

                                2.1.3  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ ของอัลเบิร์ต แบนดูร่า

                          2.2  แผนการสอน  เรื่องแนวคิดในการพัฒนาตน

                          2.3  เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล

                                  2.3.1  มัลติมีเดียบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

                                  2.3.2  แบบทดสอบวัดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา

                                  2.3.3  แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษา

                    3.  วิธีการรวบรวมข้อมูล

                           3.1  ทำการทดสอบก่อนเรียน(Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดด้านการคิดวิเคราะห์

                           3.2  ชี้แจงให้นักศึกษาทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้มัลติมีเดียตามแนวคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่าย

                           3.3  ศึกษาเนื้อหาในบทเรียน ด้วยมัลติมีเดียตามแนวคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่าย

                           3.4  หลังจากเรียนครบทุกหน่วยเนื้อหาในมัลติมีเดียแล้ว จึงทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดด้านการคิดวิเคราะห์ชุดเดิม

                                         3.5  เก็บข้อมูลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยมัลติมีเดีย ด้วยแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษา

                    4.  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                        4.1 วิเคราะห์ความสามารถคิดวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบคะแนนคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียน

                        4.2 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษา หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยมัลติมีเดียตามแนวคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่าย

                        5.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                                5.1 ความสามารถคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยมัลติมีเดียหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                                5.2 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด                         

สรุปและสะท้อนผล

  การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  เป็นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์มีคะแนนการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียน

และผู้เรียนแสดงความคิดเห็นในแง่บวก โดยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสามารถและความสนใจ การออกแบบมัลติมีเดีย การออกแบบหน้าจอ  รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา  รูปภาพประกอบ การถาม-ตอบ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว  และการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมกันคิดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ และสนับสนุนการเสาะแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา ทำให้สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ และยังเป็นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 430321เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2011 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมากค่ะ...

เรื่องน่าสนใจดี  ใช้กลุ่มเป้าหมาย  20 คนเหรอ  ทำฉบับสมบูรณ์เลยไหม๊เนี้ย

คุณพิกุล กลุ่มเป้าหมาย 20 คน เน้นศึกษาการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ส่วนเล่มมีแล้วจร้า

ได้เคยอ่านงานวิจัยฉบับนี้บ้างแล้วค่ะ ดีมาก เยี่ยม...มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท