nokky
นางสาว สุนันทา กลิ่นถาวร

ก้าวแรก...กับวิจัยในชั้นเรียน


การศึกษาวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มนักศึกษาที่มีบุคลิกภาพแบบพึ่งพิงผู้อื่น

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

โดย

นางสาวสุนันทา  กลิ่นถาวร นักศึกษาปริญญาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา

รหัส 539170100204

 

 

ชื่อรายงาน  การศึกษาวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มนักศึกษาที่มีบุคลิกภาพแบบพึ่งพิงผู้อื่นในรายวิชา  4122201  การประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

ปัญหา  :  จากการสอนนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1  ที่เรียนในรายวิชาการประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล  พบว่าเมื่อมอบหมายงานในนักศึกษาทำ  นักศึกษาไม่หัดคิดคำนวณด้วยตนเอง  รอลอกงาน / การบ้านจากผู้อื่นเพื่อส่งผู้สอน

สาเหตุ    

                    1.  นักศึกษาไม่สนใจขณะที่ผู้สอนสอน

                    2.  นักศึกษาไม่มั่นใจในการคิดของตนเอง

                    3.  นักศึกษาไม่ฝึกปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ 

เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่มีบุคลิกแบบพึ่งพิงผู้อื่น

วิธีการวิจัย

                1.  กลุ่มเป้าหมาย  นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมู่ 2  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2553    จำนวน  37 คน

                 2.  วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้ 

                          2.1  ชื่อนวัตกรรม  รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ด้วยเทคนิค Jigsaw                          จำนวน  3  ชุด/เรื่อง/หน่วย  ดังนี้

                                   2.1.1        การแปลงส่งโดยตรง

                                   2.1.2        การค้นหาในพจนานุกรม

                                   2.1.3        การคำนวณตำแหน่ง

                         2.2  แผนการสอน  เรื่อง   การประมวลผลแฟ้มแบบสุ่ม

                         2.3  เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล

                                  2.3.1        แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน

                                  2.3.2     แบบทดสอบก่อนเรียน

                                  2.3.3     แบบทดสอบหลังเรียน

                                  2.3.4     แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน

               3.  วิธีการรวบรวมข้อมูล 

                      3.1    ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน

                      3.2   นักศึกษาทำการเรียนรู้ตามรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ด้วยเทคนิค Jigsaw 

                      3.3   ผู้สอนเก็บข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน

                      3.4   นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน  และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนในรูปแบบนี้

                       3.5     เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการประเมินผลการวิจัย

                 4.  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 

                          การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                5.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 

                 จากผลการวิจัยพบว่า

                         5.1  ผลการทดสอบพบว่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าการทำแบบทดสอบก่อนเรียน

                         5.2  นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ด้วยเทคนิค Jigsaw 

                6. สรุปและสะท้อนผล

                   การจัดการเรียนการสอนที่มีรูปแบบ Jigsaw เป็นการฝึกให้นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และส่วนรวม เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

                   ดังนั้นการที่นักศึกษาได้เรียนรู้โดยวิธี Jigsaw จึงทำให้นักศึกษาสนใจและมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น  จึงทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น  และสามารถทำงานทำงานที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

หมายเลขบันทึก: 430067เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2011 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเป็นกำลังใจให้บันทึกมากขึ้นไปเรื่อยๆ

ขอบคุณค่ะคุณโสภณ  ก็ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

ทักทายค่ะ

น่าสนใจมากๆ อาจารย์หายไปนานเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท