การบริหารธุรกิจ SMEs ในยุคที่โลกเปลี่ยน ณ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏุบุรีรัมย์


สวัสดีครับชาว Blog

ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554 นี้ ผมได้รับเกียรติจาก ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏุบุรีรัมย์ เชิญให้บรรยายให้กับผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มธุรกิจใหม่ในจังหวัดบุรีรัมย์ "โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่" รุ่นที่ 6 จำนวนประมาณ 50 คน

การเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ครั้งนี้ เป็นงานที่ต่อเนื่องจากงานในครั้งที่แล้ว คือ การมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรม SMEs Knowledge Center สัญจร จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับท่านที่สนใจงานในครั้งที่แล้วสามารถติดตามได้ที่  

http://gotoknow.org/blog/chirasmes/410594

 

สำหรับการบรรยายเรื่องการบริหารธุรกิจ SMEs ในยุคที่โลกเปลี่ยน ครั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของการเรียนรู้ร่วมกัน คือ

1. จุดประกายให้ทุกท่านเห็นความสำคัญและบทบาทของธุรกิจ SMEs ต่อสังคมไทย และเกิดพลังที่จะบริหารจัดการองค์กร ไปสู่ความเป็นเลิศ

2. เรียนรู้แนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ โดยเฉพาะเรื่องคน เพื่อนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ได้สำรวจ ค้นหาตัวเอง หาธุรกิจที่ตัวเองมีใจรัก/ชอบที่จะทำ เมื่อรักแล้วก็จะต้องมีความสามารถที่จะทำด้วย พยายามหาช่องว่าง (Gap) เพื่อเติมเต็มให้ไปสู่ความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้
4. สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน และปะทะกันทางปัญญาในวันนี้
5. เป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร

ขอขอบคุณท่าน รศ.โกวิท เชื่อมกลาง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ท่านสนับสนุนกิจกรรมที่มีประโยชน์เสมอมา ขอขอบคุณ ผศ.ดร.ประเสริฐ ภูเงิน ที่ให้เกีรยติให้การต้อนรับผมและคณะอย่างอบอุ่นและอยู่ร่วมแสดงความคิดเห็นให้การเรียนรู้ของพวกเราตลอดทั้งวัน ขอบคุณอ.พิศมัย ประชานันท์ ผู้อำนวยการสถาบัยวิจัยฯ ลูกศิษย์ปริญญาเอกของผม ขอบคุณ อ.สาวิตรี อกนิษฐ์เสนีย์ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฯ และทีมงานคุณปานและคุณก้อย ซึ่งจัดการสิ่งต่าง ๆ และดูแลผมและคณะเป็นอย่างดี.. ผมและทีมงานรู้สึกประทับใจมากครับ

 และสุดท้ายผมขอใช้ Blog นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันครับ และก็ได้นำภาพบรรยากาศการเรียนรู้มาฝากเช่นเคย การเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ต้อง "Work Hard and Play Hard" ครับ จึงจะทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุข

จีระ หงส์ลดารมภ์

 ...................................................................

ภาพบรรยากาศในการเรียนรู้

 

บรรยากาศ ในประสาทเมืองต่ำ และ เขาพนมรู้ง จังหวัดบุรีรัมย์

บรรยากาศ ตอนทานอาหารค่ำ ในร้านสองพี่น้อง

 

บรรยากาศที่พัก "ต้นไผ่รีสอร์ท"

หมายเลขบันทึก: 429606เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

การบริหารธุรกิจ SMEs ในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่เราจะเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้

ช่วงเช้า              

  • เน้นวิธีการเรียน (ให้เบ็ดตกปลา..ไม่ได้เอาปลามาให้)
  • เข้าใจภาพใหญ่ในระดับ Macro มาสู่ภาพเล็กจนถึงตัวเรา และธุรกิจ ของเรา
  • เน้นความเข้าใจในบริบทของจังหวัดบุรีรัมย์กับอนาคตของธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs
  • ได้สำรวจตัวเอง ค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และมองอนาคต

ช่วงบ่าย          

  • เรียนรู้จากกรณีศึกษา
  • เรียนรู้เรื่องกฎหมายที่สำคัญ ๆ สำหรับการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs
  • สรุปร่วมกัน

หลังจากฟัง Outline สิ่งที่เราจะเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้แล้ว

คำถามที่ 1       ประโยชน์ที่จะได้รับ คืออะไร?

คุณเขมสุดา

            อดีตเคยเป็นรับราชการเป็นอาจารย์เพิ่งจะ Early Retired และสนใจที่จะลงทุนทำธุรกิจ วันนี้คิดว่าคงจะได้รับประโยชน์โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ และคงจะได้สำรวจตัวเองเพื่อหาช่องว่างและอุปสรรค

อาจารย์จีระ

ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ เราต้องสำรวจตัวเองดูว่า..

  1. เราชอบสิ่งที่เราจะทำ/มีความรัก
  2. เรามีความสามารถที่จะทำ

คำถามที่ 2       คิดว่าจุดอ่อนของสิ่งที่เราจะเรียนในวันนี้ คืออะไร?

คุณสุดาพร

            เท่าที่ฟังรู้สึกว่าท่านอาจารย์จะใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากในกลุ่มนี้มีความหลากหลาย..อยากให้อาจารย์ช่วยแปลความหมายของคำภาษาอังกฤษให้เข้าใจด้วย

คำถามที่ 3       ตลอดทั้งวันที่จะเรียนรู้ด้วยกันคาดหวังอะไร?

คุณแมนศักดิ์

            อยากให้อาจารย์แนะนำวิธีการสำรวจตัวเอง เพราะอยากจะรู้จักตัวเองมากขึ้น และอยากได้ความรู้ในการบริหารจัดการ “คน”

ความคิดเห็นสุดท้ายในช่วงแรก

            มีความสนใจเรื่องคน ทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอนาคตคิดว่าเรื่องการเกษตรจะเป็นสิ่งที่สำคัญในอนาคต แต่เราต้องใส่องค์ความรู้เข้าไป

            ทำอย่างไรให้ความคิด ความรู้จะอยู่กับคนในท้องถิ่นให้เขาสามารถพึ่งตัวเองได้ อยู่ได้ด้วยตัวเอง

อ.จีระ เสริมว่า..                                                  

-                   เกษตร+ความรู้+วัฒนธรรม = มูลค่าเพิ่ม

-                   บุรีรัมย์ควรจะเน้นธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่ม

-                   วันนี้เราต้องช่วยกันทำให้บุรีรัมย์เป็นธุรกิจฐานความรู้ได้อย่างไร?

-                   ธุรกิจต่อเนื่องของบุรีรัมย์เกี่ยวกับกีฬา เช่น ของที่ระลึกควรจะเป็นของคนบุรีรัมย์

-                   การที่เรามีความรู้ที่ทันเหตุการณ์ มีคุณธรรม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น..จะทำให้เราอยู่รอดได้ในระยะยาว

Workshop

โจทย์: แต่ละกลุ่มสำรวจตัวเอง ดังต่อไปนี้

1. จุดแข็งทางธุรกิจ

2. จุดอ่อนทางธุรกิจ

3. บทเรียนในอดีตที่สำคัญ 5 เรื่อง

4. วิธีการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับปัจจุบันและอนาคต

กลุ่ม 7 – Teen

  • จุดแข็ง
    • มุ่งมั่น ขยัน
    • ใฝ่เรียนรู้
    • สร้างสรรค์ อดทน
    • คิดบวก
  • จุดอ่อน
    • ไม่จำ/ลืม
    • ขาดประสบการณ์
    • ขาดนวัตกรรม การต่อยอด
    • คิดใหญ่ทำใหญ่ เจ็บจริง เจ็บหนัก
    • ความกลัว คิดลบ
  • บทเรียนจากในอดีต
    • คิดเล็ก ทำใหญ่ (เกินตัว)
    • มองภาพใหญ่ ไม่ลงรายละเอียด
      • คิดน้อย ทำเลย ขาดการวางแผน
      • การทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่าย
        • คุณภาพลูกน้อง (สั่งอย่างไรทำเท่านั้น)
        • ขาดจิตสำนึกความรักองค์กร
        • คิดแล้วไม่ทำ กลัวความผิดพลาด
  • อนาคต
    • คิดใหญ่ ทำเล็ก (นกน้อยทำรังแต่พอตัว)
    • มองภาพกว้าง ลงรายละเอียดมากขึ้น (Macro – Micro)
    • ทำงานเป็นทีม
    • เพิ่มจิตสำนึกในการรักองค์กร
    • ทำ (ปฏิบัติจริง)

Comment

คุณชัยพร..

ชอบคำว่า  Macro ไปสู่ Micro และการโฟกัสในสิ่งที่เราจะทำเริ่มจากเล็ก ๆ แล้วค่อยขยาย ไปสู่การเติบโต ยั่งยืน

อาจารย์จีระ

เราต้องไป “เวอร์” ไปกับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง “เพ้อฝัน”

การนำเสนอมีระบบความคิด และ Format ที่ดี

ไม่มีเศรษฐีคนไหนที่รวยโดยไม่ทำการบ้าน คือ การศึกษา วางแผนอย่างรอบคอบ

การมองอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญ

กลุ่ม สวยไม่มีเหตุผล

1. จุดแข็ง

  • การบริการ
  • ทักษะ /เก่งเฉพาะเรื่อง
  • ช่องทางการตลาด+มูลค่าเพิ่ม

2. จุดอ่อน

  • ขาดความคิดสร้างสรรค์
  • ขาดการสร้างเครือข่าย
  • องค์ความรู้ เก่งเพียงเฉพาะเรื่อง

3. บทเรียนจากอดีต

  • ข้อมูล
  • การวางแผนการตลาด
  • ขาดความรู้ เรื่องกฎหมาย ภาษี
  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
  • นวัตกรรม มีอยู่แต่ใน Paper

4. การสร้างมูลค่าเพิ่ม ปัจจุบันและอนาคต

  • ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เช่น อินเตอร์เน็ต อบรม ฯลฯ
  • แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มธุรกิจด้วยกัน
  • เน้นสังคม ประเทศชาติ อยู่รอด

Comment

อาจารย์จีระ

  • หากทุกคนในห้องนี้เห็นตรงกันเรื่องการเปลี่ยนกรอบความคิดเรื่องการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ต้องพูดบ่อย ๆ
  • รัฐบาลไทยยังไม่สามารถสร้างให้คนไทยมีกรอบความคิด
  • การให้ความรู้กับ SMEs รัฐบาลต้องพยายามให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น
  • ถ้าเรามีโอกาสฉกฉวย สร้างมูลค่าเพิ่ม+CSR เราก็จะอยู่รอดได้ เพราะฉะนั้น สำหรับธุรกิจที่อยู่รอดแล้วเราต้องพยายามคิดต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม และก็ต้องคิดถึงความยั่งยืน สมดุลในสังคมของเราด้วยก็จะมีประโยชน์มาก

ผศ.ดร.ประเสริฐ ภู่เงิน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.ราชภัฏบุรีรัมย์

  • อยากให้ฝ่ายปกครอง ตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย และการปกครองส่วนท้องถิ่นคิดและสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้นคงจะเกิดประโยชน์มาก

คุณอาคม

  • เสนอแนวคิด “ธุรกิจคุณธรรม” คือ ทำธุรกิจโดยคิดกำไรแต่พอควร ไม่โลภ สังคมไทยน่าจะดีขึ้น

อาจารย์จีระ

  • เราต้องคิดตลอดเวลาว่าถ้าเรามีโอกาสเราต้องคิดที่จะขยาย

กลุ่มพนมรุ้ง

1. จุดแข็ง

  • มีความรู้พื้นฐานในการสร้างธุรกิจ (ธุรกิจครอบครัว)
  • มีฝีมือในการสร้างงาน มีผลงานประณีต
  • มีความคิดสร้างสรรค์ในชิ้นงาน

2. จุดอ่อน

  • เป็นธุรกิจที่ยังแคบ ยังไม่สามารถพัฒนาสู่ระบบสากล
  • ขาดการพัฒนา เรียนรู้ การส่งเสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า
  • จาดขวัญกำลังใจในการดำเนินธุรกิจ

3. ศักยภาพในการใช้ทักษะและวิธีการจากอดีต

  • ขาดการวางแผนธุรกิจ
  • มีทรัพยากรที่ดี แต่ยังไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ไม่มีความรู้เรื่องการตลาด
  • ขาดเงินทุนและนวัตกรรมในการทำธุรกิจ
  • ไม่ให้ความสำคัญเรื่องหีบห่อ บรรจุภัณฑ์

4. การสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต

  • ใช้แรงงานในท้องถิ่น
  • สร้างทักษะแรงงาน
  • ลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ
  • สร้างจุดเด่นของสินค้า
  • ประสานเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ

Comment

ดร.จีระ

-                   การเรียนรู้สำหรับตัวผมเอง คือ แก้ปัญหาในปัจจุบันให้ได้

-                   วาดอนาคตให้ออกว่าธุรกิจในอนาคต คือ อะไร

-                   รู้ กับ เรียนรู้ไม่เหมือนกัน

-                   เรียนรู้มาจากวัฒนธรรมของตัวเอง

-                   วันนี้อยากให้เราเริ่มสนใจการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม อ่านหนังสือมากขึ้น

-                   ทฤษฎีมหาสมุทรสีฟ้าควรจะเกิดขึ้นที่บุรีรัมย์

-                   วันนี้เราควรจะสำรวจดูว่า ธุรกิจใหม่ ๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้าของบุรีรัมย์ คืออะไร?

-                   แนวโน้มของโลกธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งจะออกมาในภาคบริการ และต้องทันสมัย เช่น

  • เศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • การแพทย์
  • การท่องเที่ยวกับกีฬา
  • ฯลฯ

-   ธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าสนใจของบุรีรัมย์

  • การท่องเที่ยวเชิงเกษตร/วัฒนธรรม
  • Event Organizer
  • ธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาและธุรกิจต่อเนื่อง
  • ฯลฯ

กลุ่มข้าวแห่งอนาคต

จุดแข็ง

-                   พันธุ์ข้าว 105 หอมมะลิ

-                   เครือข่าย

-                   ความรู้

จุดอ่อน

-                   การตลาด

-                   แหล่งผลิต

-                   การเก็บเกี่ยว

-                   การปลูก

-                   เกษตรกรไม่ได้รับการดูแล สนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง

อดีต

-                   ขาดองค์ความรู้ทางการตลาด การสร้าง Brand การต่อยอดธุรกิจ ห้องสมุดความรู้กินได้ (ของ กศน.)ที่อุบลเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

-                   ทัศนคติ

-                   ขาดโอกาส

-                   นโยบายรัฐ

-                   การแก้ปัญหา – ไม่ตรงประเด็น คนที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาไม่ได้เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง

อนาคต

-                   ฐานข้อมูล ระบบไอที ฯลฯ

-                   ค่านิยม

-                   รวมกลุ่ม

-                   ธรรมาภิบาล

-                   Brand

Comment

ดร.จีระ

-                   อย่าทิ้งข้อมูลในอดีตที่เราสะสมไว้

กลุ่ม The Brain

  1. จุดแข็ง

-                   คนในท้องถิ่นมีความอดทนกับงานทั้งยากและง่าย

-                   คนทำงานมีความอดทน (อายุ 40 ขึ้นไป)

-                   มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดี มีประสบการณ์ด้านการเกษตร

2. จุดอ่อน

-                   คนเชื่อคนง่าย

-                   มีความรู้น้อย

-                   คนในท้องถิ่นไม่อยากประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เพราะขาดความอดทน แต่หันไปประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรม

3. บทเรียนจากอดีต

-                   ไม่มีความรู้ในอาชีพอย่างลึกซื้ง ขาดการวางแผนธุรกิจ

-                   ต้องใช้หลักจิตวิทยาในการจูงใจคน

-                   ต้องมีการวางระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ลดความเสี่ยง

-                   มีความรัก ความชอบ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไป เพราะมีความใฝ่รู้

-                   มีการถ่ายทอดธุรกิจจากครอบครัวไปสู่รุ่นลูก และซึมซับประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก

4. การสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต

-                   ขยายเครือข่ายธุรกิจ โดยนำธุรกิจเผยแพร่ประโยชน์ผ่านองค์กรท้องถิ่น

-                   แปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม

-                   ใช้วัตถุดิบเหลือใช้จากการผลิ ต อุตสาหกรรม ให้เกิดประโยชน์อีก

-                   เสริมทักษะความรู้ของบุคลากร เพื่อให้เกิดศักยภาพ

-                   รู้จักหลักการครองใจคน ทำงานร่วมกันให้มีความยั่งยืน ด้วยความจงรักภักดีง

สิ่งที่ต้องพัฒนาตนเอง

1.  ต้องศึกษาหาความรู้ ในสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

2.  ต้องเป็นผู้รับฟังให้มากขึ้น

อานนท์ ทิพย์เหล็ก

ประกอบธุรกิจทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น และทำสวนไผ่ตงไต้หวัน

สิ่งที่ต้องการพัฒนาตนเอง

1. ต้องการขยายฟาร์มเห็นให้เติบโตยิ่งขึ้นและเพิ่มผลผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่น

2. ต้องการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

แมนศักดิ์ เทพคุ้ม

ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น (ทรัพย์สุวรรณฟาร์ม)

สิ่งที่ต้องพัฒนาตนเอง

1. ศึกษาหาตัวตนของตนเอง เพื่อพัฒนาธุรกิจ

2. ศึกษานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในธุรกิจ

พรศักดิ์ หมื่นเจริญ

สิ่งที่ต้องพัฒนาตัวเองในเรื่องทุนมนุษย์

1. เพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง เพิ่มองค์ความรู้

2. เสาแสวงหาสิ่งใหม่ๆ มองอย่างไรถึงจะสำเร็จ ทำอย่างไรถึงจะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

ศศินันท์ สุภาพูนสวัสดิ์

ร้าน US อะไหล่ จำหน่างอะไหล่การเกษตร

ทุนมนุษย์เกี่ยวกับธุรกิจบุรีรัมย์

1. ความสามารถที่มีอยู่ในอาชีพที่ทำและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

2. กลุ่มชมรมรวมตัวและทำให้สอดคล้องมากขึ้น จากกรพบกัน การศึกษาเชื่อมโยงในท้องถิ่น

เจ้าของกิจการอพราตเมนท์

ความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

1. จะใฝ่รู้ศึกษาหาความรู้อย่างสมำเสมอและต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

2.  นอกจากใฝ่ศึกษาแล้ว จะลงมือทำปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จและส่งเสริมให้คนในชุมชน สังคมได้ประโยชน์จากองค์ความรู้นั้น

ทำธุรกิจร้านกาแฟ The Coffee Maker

 

สิ่งที่ต้องพัฒนาตนเอง

1. คิดมากๆ คิดให้ดี แล้วค่อยลงมือทำ

2. ต้องขยันเรียนรู้ ศึกษาสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ทุนมนุษย์ที่คุณจะพัฒนาตัวเอง

1.  คิดถึงอดีตมากขึ้น และจดจำเพื่อทำให้เกิดอนาคตที่ตั้งใจไว้ว่า จะอยู่ร่วมกับชุมชนให้มีความสุข

2. ฟัง ค้นคว้า พูดคุยให้มากขึ้น และลงมือทำให้เกิดจริงให้ได้

ปทุมรัตน์ คะริบรัมย์

ทำธุรกิจเกี่ยวกับสปา

ทุนมนุษย์ที่มีคือความยากจน

1.ทำให้เรากล้าที่จะหาโอกาส

2. กล้าที่จะเรียนรู้และเข้าสู่สังคมและสุ้ที่จะเปิดตัวเอง

ฮุด ประเสริฐสวัสดิ์

ตำแหน่งผู้ช่วยผลิต

ทุนมนุษย์ งานตุ๊กตามดินเผาในรูปแบบเป็นของตัวเอง

ในอนาคตจะขายกิจการให้เติบโตขึ้น ผลิตงานให้ตรงเป้าหมายกับตลาดและผู้บริโภค

ทุนมนุษย์เกี่ยวกับ จ.บุรีรัมย์ที่จะพัฒนาตัวเอง 2 เรื่อง

1. ทัศนคติ องค์ความรู้

2. เครือข่ายธุรกิจ

รังสรรค์ ฉะอังรัมป์

ทุนมนุษย์เกี่ยวกับ จ.บุรีรัมย์ที่จะพัฒนาตัวเอง 2 เรื่อง

1. ทัศนคติ องค์ความรู้

2. เครือข่ายธุรกิจ

ญาณาวดี ดัดธุยาวัตร

ตำแหน่นักพัฒนาชุมชน

สำรวจตัวเองว่าต้องการอะไร รู้จักตัวเอง ตัวตนมากกว่านี้

ความรู้ ประสบการณ์

รัตติมา มณีราชกิจ

อาชีพ ฟาร์มสุกร (ทายาทธุรกิจ)

ทุนมนุษย์ที่ดีกว่าเดิมในการพัฒนาตัวเอง 2 เรื่อง

1. ใฝ่รู้อยู่เสมอ ในการพัฒนาตัวเอง 2 เรื่อง

2. กล้าคิด กล้าทำ (อย่างรอบคอบ)

ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศ

ประกอบธุรกิจ รีสอร์ท

สิ่งที่จะพัฒนาตนเอง

1. แสวงหาความรู้เพิ่มเติม และสร้างความกระตือรือร้นมากกว่านี้

2. ฝึกภาษาอังกฤษเพิ่มเติม เพื่อให้แสวงหาความรู้ได้ง่ายขึ้น (อ่านผลงานวิจัยต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น)

ประภาวัลย์ ไชยบุระ

สิ่งที่จะพัฒนาธุรกิจตนเอง

นำ Worshop ไปปรับปรุงคือ จัดเรียบเรียงข้อมูลตั้งแต่อดีตมาจัดหาความสำคัญและนำไปปฏิบัติให้จริงจังและนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้และเป็นตัวช่วยเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อมาประเมินและวิเคราะหืเพื่ออนาคตให้ได้

ธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไหมพื้นบ้าน

ทุกสิ่งอย่าง สิ่งแรกก้าวแรกที่ต้องเปลี่ยนและสร้างคือ วิธีคิด มุมมอง ความก้าวหน้าในแนวทางธุรกิจ ท้ายสุด คือเงิน

อ้อมจิตร ยิวารัมย์

-การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย

-Pecket

ทุนมนุษย์ ทำธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา

1 มีฝีมือ มีทักษะในการประกอบธุรกิจ ผลิตเองได แต่หลายงานได้ช้า เพราะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนปั้นบ่อยๆ

2. มีโอกาสทำตลาด แต่ขาดเงินทุนประสานอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายไม่ชัดเจน (ลูกค้า) แต่มีงานเป็นเอกลักษณ์ อยากมี Brand แต่ก็เป็นไปได้ยาก เพราะเป็นศิลปะที่ไม่ตายตัว

ตุ๊กตาดินยิ้ม

ขอคำ

นักวิชาการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์เขต 1

ทุนมนุษย์บุรีรัมย์

1. มนุษย์บุรีรัมย์มีศักยภาพ ทุนมนุษย์ในรูปแบบซ่อนเร้น สร้างชิ้นงานได้อย่างประณีต และมีต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถนำมาแปลงเป็นสินค้าและบริการได้มากมายหลากหลายรูปแบบ

2. มนุษย์บุรีรัมย์ ยังมองไม่เห็นว่าตนเองมีทุนมนุษย์อยู่ในตัว ทำให้มองข้ามความสามารถของตนเอง แต่เมื่อมีคนมองเห็น และนำไปเพิ่มศักยภาพ ทุนมนุษย์บุรีรัมย์ จะเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจอีกมากมาย

พัฒนาตัวเอง

1. บุคลิกภาพ

2.  หาความร้เกี่ยวกับ IT ให้มากขึ้น

 

วิภาวดี โสมเกษตรินทร์

ทุนมนุษย์ สิ่งที่จะพัฒนาตนเองให้ดีกว่าเดิม

1. เป็นนักเรียนรู้ ทุกๆศาสตร์

2. ค้นหาวางแผน แนวทางธุรกิจ ท่องเที่ยว วัฒนธรรม กายและใจให้เป็นรูแปบบ Model ที่สมบูรณ์แบบ

3. พัฒนาการทำงาน เป็นีมให้กับองค์กร

4. พัฒนาทักษะ ภาษา อังกฤษ จีน เวียดนาม

5. ทักษะ การใช้ ไอที social network ในการเชื่อมโยงงาน

 

ขอขอพระคุณ ผู้จัดที่ ให้ NEC ผู้เริ่มก้าวแรกของธุรกิจได้มีโอกาสเรียนรู้องค์ความรู้ที่สามารถกระตุ้นจิตวิญญาณ ให้เป็นผู้ประกอบการได้ ขอบพระคุณ อย่างมากๆ สำหรับทีมงาน และศ.ดร.จีระ ที่ท่านพยายามสร้างแนวการเรียนที่คนไทย ควรได้ทุกๆ ระดับ และมากๆๆ

กัญญาญัติ เกลื้องไชสา

สิ่งที่จะพัฒนาตัวเอง

1. ความใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล

2. ความรู้ รอบรู้ ความมีมนุษย์สัมพันธ์

อาชีพตัวแทนค้าส่งบุหรี่ โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

รองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลสะพานทราย บุรีรัมย์

1. ต้องค้นหาตัวตนที่แท้จริง

2 เรียนรู้ตลอดชีวิต ควบคู่กับลมหายใจ

ผู้ประกอบการขายปุ๋ยอินทรีและชื้อผลผลิตของสมาชิกแพงกว่ารัฐ

1 รณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเป็นกลางในสิ่งที่เป็นไปได้ เช่น ปุ๋ย อินทรีย์ ใช้นำการผลิตข้าวปลอดสารและเป็นข้าวอินทรี 100% เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย ภายใต้ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับสมาชิกขององค์กรทุกคนให้มีศักยภาพพัฒนาด้วยการผลิตขั้นพื้นฐาน และรวบรมผลผลิตของกลุ่มองค์กรจัดแปรรูปจัดจำหน่ายให้ครบวงจร ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยสันติ

นักบริหารงานคลัง

ธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์  ทุนมนุษย์ในธุรกิจบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าจะพัฒนาตนเอง ดังนี้

1. จะเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยการอ่านให้มากฟังให้มา คิดให้มาก เพื่อต่อยอดธุรกิจ

2. จะค้นหาความเป็นตนเองว่าตนเองชอบอะไรในธุรกิจนี้ ทำธุรกิจนี้เพื่ออะไร

 

1 มีธุรกิจรับซื้อข้าเปลือก

2. ปัจจุบันอยากต่อยอดการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเดิม

ทำใช้เอง ในนาข้าว และอยากให้ประชาชนในพื้นที่ทำนาเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ

ทุนมนุษย์

1 อยากพัฒนาคน ความหลากหลายของคน 8K's 5K's มีหรือยัง

2 อยากพัฒนาองค์กร Core Value การทำงานเป็นทีม

เพื่อความเป็เลิศ ด้าน CSR ความสมดุลของชีวิต

- อยากพัฒนาธุรกิจของผมให้เป็นดังทฤษฎีให้ได้

- ชอบอาจารย์ พูด สอน สั้น ตรงประเด็น เกิด IDEA

* ธุรกิจ ปุ๋ยอินทรีย์ (นวัตกรรมสารนาโนเทคโนโลยี) ให้เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ 100 % ส่งตลาดในบุรีรัมย์ ให้ได้ 100% นำไปสู่การส่งออกตลาดต่างประเทศให้ได้

 

สวัสดีค่ะ ท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง

            หนึ่งสัปดาห์แล้วนะคะสำหรับการที่ท่านอาจารย์ได้ให้เกียรติมาบรรยายเพื่อเปิดโลกทัศน์สำหรับเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการให้กับผู้เข้าอบรมในโครงการ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) รุ่นที่ 6 จัดโดยศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ท่านอาจารย์คงจะได้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ประกอบการรุ่นนี้จากการผู้เข้าอบรมได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดทั้งในห้องบรรยาย และจากการที่ผู้เข้าอบรมได้ส่งคำตอบมาทาง chiraacademy แล้วนะคะ ในฐานะที่ดิฉันได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์จากห้องเรียนปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รู้สึกภูมิใจมาก ๆ ที่ท่านอาจารย์ได้สละเวลาที่มีค่ายิ่งของท่าน เพื่อเดินทางมาให้ความรู้ในฐานะกูรูด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาประเทศในปัจจุบันและอนาคต

            ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (คณะผู้บริหาร นำโดย รศ.โกวิท  เชื่อมกลาง อธิการบดี ผศ.ดร.ประเสริฐ  ภู่เงิน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ผู้จัดการ UBI และทีมงาน) ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์และทีมงานทุกท่านที่ทำให้ชาวราชภัฏบุรีรัมย์ และชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ใช้ทุนทางปัญญาที่มีอยู่และจะพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำสรรสร้างให้เกิดทุนอื่น ๆ (Social Capital / Ethical Capital / Digital Capital / Creativity Capital / Innovation Capital / Cultural Capital )ซึ่งจะส่งผลให้เกิด Sustainability Capital นั่นเอง และลูกศิษย์คนนี้ และชาว UBI ทุกคน จะรอให้การต้อนรับท่านอาจารย์และคณะในการมาให้ความรู้ในครั้งต่อ ๆ ไปนะคะ...จากศิษย์          นวัตกรรมการจัดการ มรภ.สวนสุนันทา

 

ผมขอขอบคุณอาจารย์พิสมัย ลูกศิษย์ป.เอกของผม ที่ทำให้ผมได้รู้จักศูนย์บ่มเพาะ SMEs ผมได้เรียนรู้จากการเเลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองกับเจ้าของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีหลายอย่างที่น่าสนใจ

นอกจากนั้นผมต้องขอขอบคุณท่านอธิการบดี รศ.โกวิท เชื่อมกลาง ที่มาเปิดงาน และผศ.ดร.ประเสริฐ ภู่เงิน รองอธิการบดีที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่างตั้งเเต่ตันจนจบครับ

อาจารย์พิสมัยได้ให้ผมไปเปิดเวทีเพื่อพเพิ่มศักยภาพให้ SMEs ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว เเละผมจะทำงานที่บุรีรัมย์อย่างต่อเนื่องครับ

                                                                              จีระ หงส์ลดารมภ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท