beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า "วิชาชีวิต"<๒> กระเป๋าหาย


ในจำนวนผู้ลงเรือ 40 คน ไม่มีกระเป๋าใครหาย มีของเราคนเดียว ต้องถือว่าโชคดี

   เรื่องกระเป๋าหายนี้ เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดินทางไปจังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2553 เรื่องย่อๆ มีดังนี้

   เช้าวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ผมจัดกระเป๋า ๒ ใบ

  1. ใบที่ ๑ จะนำมาวางไว้หน้าเคาน์เตอร์โรงแรม เพื่อทางผู้จัดทัวร์จะได้ขนกระเป๋าขึ้นรถบัส แล้วจะนำมาคืนเราเมื่อเรากลับจากทะเล
  2. ใบที่ ๒ จะให้พวกเรานำติดตัวเป็นสัมภาระลงเรือไปเที่ยวทะเล และไปพักที่เกาะไหง

   ผมนำกระเป๋าใบที่สองติดตัวไปด้วย ลงเรือไปดำน้ำดูปะการัง ไปลอดถ้ำมรกต แล้วก็ไปพักค้างคืนที่เกาะไหงรีสอร์ท

   เช้าวันที่ 10 ธันวาคม 2553 เวลาประมาณ 7 โมงเช้า มีโทรศัพท์จากไกด์ทัวร์ ชื่อคุณโจ โทรมาจากจังหวัดกระบี่ บอกว่ากระเป๋าของผมติดไปกับทัวร์ของเขา เขาบอกว่าไม่สะดวกที่จะมาคืนที่โรงแรมที่ตรัง และบอกว่าจะหาวิธีคืนให้ผมไม่ต้องเป็นห่วง

   ตอนที่ผมรับโทรศัพท์นั้น ผมไม่ได้วิตกกังวลอะไร ยังบอกกับเพื่อนร่วมห้องว่า ถ้าเราไปบอกผู้จัดเขาคงวิตกกังวลกับเรื่องนี้

   ตอนเช้าไปทานข้าว ไปบอกเรื่องนี้กับผู้จัด ผู้จัดก็มีความวิตกกังวลจริงๆ จะช่วยติดตามกระเป๋าให้ โดยให้โทรไปบอกที่โรงแรมที่พักให้ติดต่อทัวร์อีกคณะหนึ่งให้นำกระเป๋ามาคืนที่โรงแรม...แต่ผมก็บอกว่าไม่ต้องห่วง ผมจัดการได้

   หลังจากกลับมาจาก Trip นั้นแล้ว ผมนำเรื่อง "กระเป๋าหาย" มาเล่าให้นิสิตฟัง ใน Part ของวิชาชีวิต ที่ผมเบียดเบียนเนื้อหาส่วนหนึ่งจากการสอน "วิชาการ" ที่เป็นวิชาชีพ คือ วิชาการเลี้ยงผึ้ง

   วิชาชีวิตของผม คือ การสอดแทรก "วิธีคิด" ของผมลงไปกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งนำมาเล่าเป็นตัวอย่างให้นิสิตได้เรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ของผมซึ่งถอดออกมาจากวิธีคิดกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวผู้สอน

    เรื่อง "กระเป๋าหาย" ผมแตกวิธีคิดออกเป็น ๓ ประเด็นด้วยกัน คือ

  1. การคิดบวก
  2. การบริหารความเสี่ยง Risk mannagement
  3. อิทัปปัจจยตา
  4. 

ประเด็นที่ ๑  เรื่อง การคิดบวก คือ คิดว่า ในจำนวนผู้ลงเรือ 40 คน ไม่มีกระเป๋าใครหาย มีของเราคนเดียว ต้องถือว่าโชคดี เพราะเราจะได้มีโอกาสเรียนรู้พฤติกรรมตนเองจากวิธีคิดของเรา

    อีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อกระเป๋าเราหาย ตอนที่เราได้ฟังเรื่องราวจากคนที่โทรมาบอกเรา "ให้เราหยุดคิดก่อน อย่าเพิ่งโทษใคร" เราลองมองหาความบกพร่องของเราก่อนว่า เหตุใดกระเป๋าจึงหาย พบว่า เรานำกระเป๋าไปวางไว้ผิดที่ และเราประมาทไม่ได้ติดตามกระเป๋าของเราไปตอนที่ถูกนำไปขึ้นรถ

ประเด็นที่ ๒  เรื่อง การกระจายความเสี่ยง กระเป๋าของเรา ๒ ใบ เมื่ออยู่บนบกย่อมต้องเสี่ยงกับการสูญหาย เมื่อลงทะเลอาจจะเปียกน้ำได้ เราก็จัดกระเป๋ากระจายความเสี่ยง โดยเอกสารสำคัญ ต้องมีการสำเนาไว้ หรือจดหมายเลขอ้างอิงเอาไว้ ของมีค่าก็จัดแบ่งให้กระจายไปทั้ง ๒ กระเป๋า เพราะเราไม่รู้ล่วงหน้าว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นกับเรา

ประเด็นที่ ๓  เรื่อง อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นจึงไม่มี เป็นเรื่องราวของการสืบผลไปหาเหตุ....ผมบอกนิสิตว่า "ตอนเราเกิดมา มาตัวเปล่า และกำมือ แต่ตอนเราตายไป เรามีเสื้อผ้าติดตัว และนอนแบมือ" (ขอไม่เล่ารายละเอียด)

   กระเป๋าของเราได้มาฟรี เสื้อผ้าก็เก่าแล้วเตรียมจะบริจาค เอกสารเราก็มีสำเนาอยู่ ดังนั้น ของต่างๆ เหล่านี้ไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้นกระเป๋าของเราที่หายไป เมื่อมันไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น มันก็ไม่หาย...เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น

   ความทุกข์ทั้งหลายมันเกิดจากใจของเรานั่นเอง ดังนั้นเราต้องฝึกวิธีคิดเพื่อที่จะไม่ให้เกิดทุกข์...

   สิ่งที่ผมสอน นิสิตจะฟังด้วยใจที่ใคร่ครวญ เพราะผมมีวิธีสอนที่ทำให้นิสิตต้องคิดตามผมนั่นเอง....(ติดตามต่อในบันทึกต่อไปใน seris เดียวกัน)

หมายเหตุ เรื่องเล่า "กำไร จากกระเป๋าหาย" นิสิตการเลี้ยงผึ้ง 2/2553

หมายเลขบันทึก: 429290เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ อ.สมลักษณ์

ชอบอีกแล้ว พอได้อ่านบันทึกแนวนี้ ได้เห็นแนวทางการปฏิบัติที่หนูต้องบอกว่า หากเราไม่ได้เรียนรู้วิธีการคิดจากผู้ใหญ่ บางทีเด็กๆ ก็จะคิดไปตามอารมณ์ โดยลืมมองมุมที่มีเหตุผลและตั้งสติในการแก้ปัญหา

ว่าแต่ สรุปแล้วได้กระเป๋าคืนไหมคะ อยากรู้อ่ะค่ะ ^_^

เรียนน้องมะปราง

  • ติดตามเฉลยที่บันทึกถัดไป <Link>

กระเป๋าเดินทางสมชื่อเลยนะครับ

ขออนุญาตถามเรื่องหยุดคิดในประโยคที่ว่า "ให้เราหยุดคิดก่อน อย่าเพิ่งโทษใคร"

หยุดคิดในที่นี้คือ Stop thinking (หยุดการคิด) หรือ Stop to think (หยุดเพื่อคิด) ครับ?

ขอบคุณครับ

เป็นอย่างหลังครับ Stop to think หยุดเพื่อที่จะคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท