ป่วยแน่นิ่งก็มีสุขได้


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Most locked-in patients happy' = "คนไข้ล็อค-อิน (นอนแน่นิ่ง - ขยับแขนขาไม่ได้ - ขยับหรือกระพริบตาได้) เกือบทั้งหมดมีความสุข, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ BBC ]
คนไข้น้อยคนมากๆ ในโลกนี้เป็นโรค "ล็อค-อิน" ซึ่งเป็นเหมือนติดคุกแบบพิเศษ คิดอ่านอะไรได้ แต่ขยับแขนขาไม่ได้-พูดไม่ได้ คล้ายกับถูกขังไว้ในคุกที่มองไม่เห็น ได้แต่ "นอนกับนอน", กระพริบตา, หรือกลอกลูกตา
.
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยลีจ เบลเยียม ทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้ 65 ราย (ตีพิมพ์ใน BMJ Open) พบว่า คนไข้ 72% บอกว่า มีความสุข, 68% บอกอยากฆ่าตัวตาย (แต่ยังไม่กล้าและไม่คิดทำจริงๆ), มีเพียง 7% ที่ต้องการให้คนอื่นช่วยฆ่าตัวตาย
.
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การศึกษานี้มีความลำเอียง (bias) สูงมาก เนื่องจากคนไข้ที่รู้สึกว่า ไม่มีความสุขปฏิเสธ หรือไม่ยอมร่วมการตอบแบบสอบถาม ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อย แต่ทำให้โลกทึ่ง เพราะคนที่แน่นิ่งแบบนี้น่าจะไม่มีความสุขเลย แต่กลับมีความสุขได้ตั้งหลายคน
.
การศึกษานี้พบว่า คนไข้ 55% กลับมาพูดได้บางส่วน, และอีก 70% ขยับแขนขาได้เป็นบางส่วน (ไม่เต็มร้อย)
.
อาจารย์นักฟิสิกส์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า คุณพ่อของท่านเป็นโรคนี้ สื่อสารกันได้ด้วยการให้กระพริบตา อาหารให้เป็นอาหารปั่นผ่านท่อ โดยคุณลูก (ท่านหนึ่งเป็นพยาบาล) 2 ท่านผลัดกันเลี้ยงพ่อได้ถึง 14 ปี ซึ่งน่าอนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่ง
.
ขอพูดถึงเรื่องเบลเยียมที่คณะวิจัยทำงานอยู่ คือ เป็นประเทศที่ไม่มีรัฐบาลนานที่สุดในโลก เนื่องจากประชากรครึ่งบนพูดภาษาเนเธอร์แลนด์-ครึ่งล่างพูดภาษาฝรั่งเศส นักการเมืองแบ่งแยกแตกต่างเป็น 2 ค่าย 2 สี (สงสัยอาจได้รับแรงบันดาลใจจากเมืองไทย)
.
ถ้าเรามองเมืองไทยว่า พวกหัวรุนแรงแบ่งเป็นค่ายเป็นสีแล้วปวดหัว, ขอให้ "เอาใจเขา (ชาวเบลเยียม) มาใส่ใจเรา (คนไทย) ว่า แบบเบลเยียมแตกกันจนไม่มีรัฐบาลจะปวดหัวขนาดไหน
.
ขอให้ชาวเบลเยียมและชาวไทยพ้นจาก "ทุกข์-โศก-โรค-ภัย-เวร" อันเกิดจากนักการเมือง และคนหัวรุนแรงยุยุง ส่งเสริมให้คนในชาติแตกกันเป็นหมู่ เป็นเหล่าแบบเรื้อรัง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
  • Thank BBC.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 28 กุมภาพันธ์ 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
 > [ Twitter ] 
หมายเลขบันทึก: 428971เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท