การสอนพลศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


การสอนพลศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การสอนพลศึกษา

ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง[1]

 

                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยนั้น เป็นปรัชญาการดำเนินชีวิตที่มุ่งสร้างความสมดุล และไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท          ซึ่งมีความสอดคล้องกับการดูแรรักษาสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของมนุษย์ด้วย ที่จะดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้

 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การสอนพลศึกษา เพื่อดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ

โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาเป็นสื่อ

1. พอประมาณ 

คือ  การรู้ตน ทำสิ่งใดก็ตามให้พอเหมาะพอสมกับฐานะอัตภาพ

  1. ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการตามวัย    ดูแลรักษา       สุขภาพกายและจิตใจของตนเองได้
  2. ผู้เรียน สำรวจตนเองด้านการกิน อยู่ หลับนอน ออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมตามสภาวะของสุขภาพที่จะเอื้ออำนวย
  3. ผู้เรียน เรียนรู้และเข้าใจถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย ทั้งที่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุ หรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายตนเองก็ตาม
  4. ผู้เรียน ปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเป็นไปตามกติกา ระเบียบสังคม
  5. ผู้เรียน รู้ถึงความบกพร่อง เกณฑ์สมรรถภาพทางกายที่เป็นอยู่ ควรได้รับการพัฒนาเสริมสร้างให้ คงสภาพ หรือการดำรงอยู่ของชีวิตที่ยืนยาว

 

 

 

ตาราง(ต่อ)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การสอนพลศึกษา เพื่อดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ

โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาเป็นสื่อ

2. มีเหตุผล 

คือ  ใช้สมอง สติปัญญา คิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมและดีที่สุด สำหรับตนที่จะนำพาการดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องและนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

  1. ทางด้านสุขภาพและจิตใจยังมีการหลงเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีกหลายเรื่อง ดังนั้นผู้เรียนต้องใช้สมอง สติปัญญา พิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง อย่างมีเหตุผล เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ตามหลักวิชาการ หรือทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้

 

3. มีภูมิคุ้มกัน

   ในตัวที่ดี

คือ ความไม่ประมาทในการที่จะกระทำสิ่งใดๆ ก็ตาม ต้องหามาตรการป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง

  1. สอดคล้องกับความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน       ที่ต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ที่เกี่ยวข้องและรู้ถึงเหตุได้ชัด ด้านสุขภาพร่างกาย การออกกำลัง ต้องคำนึงถือความปลอดภัย เป็นสำคัญ ตั้งแต่สำรวจความพร้อมของร่างกาย      มีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยเดิมหรือไม่ ถ้ามีต้องปรึกษาแพทย์ก่อน หรือตรวจสอบชุดเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับกีฬาหรือการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ การตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ให้อยู่ในสภาพพร้อม    ใช้งาน ไม่เกิดอันตราย

                รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านอุบัติเหตุ

       จากการจราจร     ความปลอดภัยในการประกอบ

       อาชีพ โรคที่เกิดจากการทำงาน สิ่งดังกล่าวมาแล้ว

       ทั้งหมด ต้องมีภูมิคุ้มกัน    คือ    ตั้งอยู่บนความ

       ไม่ประมาท

 

 

 

ตาราง(ต่อ)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การสอนพลศึกษา เพื่อดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ

โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาเป็นสื่อ

เงื่อนไขที่สำคัญ

1. ความรู้

คือ  มนุษย์เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และตลอดชีวิต ซึ่งจะทำให้มีความรอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง  ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย ๆ โดยต้องลงมือศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะลงมือทำจริง

 

ปลูกฝัง สร้างเจตคติที่ดีด้านคุณลักษณะ (Trait)         สุขนิสัย (Habit) ที่มีอนามัย (Hygiene) เพื่อการรักษาสุขภาพกายและจิตใจ ให้ดำรงอยู่ในสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บรวมทั้งอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข อันมีความหมายตรงกับ   สุขภาพ (Health) อีกทั้งยังตรงกับจุดมุ่งหมายของ     การศึกษาแห่งชาติ ที่มุ่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข เพื่อการเป็นพลเมืองดีและ   พลเมืองโลก

 

2.  คุณธรรม

คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่น รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือสังคม หรือผู้ด้อยโอกาส เมื่อเรามีมากกว่าหรือพอที่จะช่วยเหลือได้ โดยไม่ลำบากยากเข็ญ

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคมให้อยู่อย่างมีความสุข โดยใช้คุณธรรมความดีงามนำหน้า เพื่อการใช้ชีวิตอยู่ในกฎ กติกา ระเบียบของสังคม เมื่อนำมาเทียบเคียงกับการจัดพลศึกษาในสถานศึกษาให้แก่      ผู้เรียน พบว่า มีการสอดแทรกและบูรณาการที่เกี่ยวกับการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีน้ำใจนักกีฬา มีความสมัครสมานสามัคคี เล่นกีฬาและออกกำลังกายตามกฎ กติกา ระเบียบวิธีปฏิบัติ รวมทั้งการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ผู้เรียน   ด้านการมีวินัย ความรับผิดชอบ ซื้อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา บริการผู้อื่นด้วยจิตใจที่เป็นสาธารณะ (Service mind) เป็นต้น

 

 

สรุป

                 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข      หากพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว การจัดพลศึกษา และสุขศึกษาในสถานศึกษาได้เห็นทั้งความสอดคล้องสัมพันธ์กันในระดับรายวิชา  อาทิ  พลศึกษาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ    พลศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต    ความปลอดภัยในการทำงาน ครอบครัวศึกษาและเพศศึกษา    นันทนาการเพื่อสุขภาพ        รายวิชาดังกล่าว   จะถูกถ่ายทอดสู่ผู้เรียนให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์       สุขนิสัยที่มีอนามัย  รู้จักดูแลรักษาสุขภาพ       รักการออกกำลัง      มีจิตใจที่เป็นสาธารณ      ให้ความช่วยเหลือบุคคลเพื่อสังคม    สิ่งเหล่านี้ สังคมไทยยังมีความต้องการอีกมาก    ทำให้เห็นภาพการมีความเอื้อเฟื้อ เอื้ออาทรต่อกัน  และการสร้างสมานสามัคคีในหมู่คณะ ทีมงาน อันก่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน

 



                [1] พิศณุ  ทองเลิศ,  การสอนพลศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง.  วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ

หมายเลขบันทึก: 428945เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2011 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท