ความจริงใจ และความเข้าใจ คือหัวใจของการพัฒนา


คนที่คิดว่าตัวเองเข้าใจ แต่ ก็ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกับความเป็นจริง ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเป็นข้อมูลคนละชุดกัน

จากการทำงานในระยะหลายปีที่ผ่านมา ที่พบว่ามีข้อผิดพลาดของการทำงาน ในระดับที่ถือได้ว่า “ไม่สำเร็จ” นั้น

มักมีคนกล่าวว่า คนที่ทำงาน “ไม่มีความจริงใจ”

แต่เมื่อผมไปสัมผัสจริงๆ กลับพบว่า ส่วนใหญ่ “มี” ความจริงใจ แต่ไม่ทราบจะทำอย่างไร ให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ที่เมื่อประเมินจากการสัมภาษณ์ กลับพบว่าขาด “ความเข้าใจ” ในสถานการณ์ และเนื้องานที่ทำ

ที่ย้อนกลับมาเป็นอุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งของการทำงาน

แม้ยังมีคนที่คิดว่าตัวเองเข้าใจ แต่ ก็ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกับความเป็นจริง ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเป็นข้อมูลคนละชุดกัน

ดังนั้นความเข้าใจจึงมีที่มาจากความถูกต้องของชุดข้อมูลที่ได้รับ

เช่น

มีบุคคลทีมีชื่อเสียงท่านหนึ่งเคยกล่าวในที่สาธารณะว่า การทำนาไม่ไถนั้นต้องใช้ฟางคลุมจำนวนมาก อย่างน้อยต้อง ๑๘ ไร่ นำมาคลุม ๑ ไร่ ที่เป็นเรื่องที่ทำยาก ต้นทุนสูง ที่เป็นคนละประเด็นของการทำนาแบบไม่ไถที่ผมทำจริงๆ

หรือมีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิชาการเกษตรท่านหนึ่ง กล่าวในที่ประชุมว่า “การพัฒนาการกเกษตรโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นทำไม่ได้ในสภาพที่มีการแข่งขัน” ที่แสดงถึงความไม่เข้าใจในหลักการและแนวปฏิบัติของพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนทำให้เผลอพูดออกไปอย่างนั้น

ที่โดยทั่วไป อาจทำให้คนที่ไม่ทราบความจริงเข้าใจผิดไปด้วยได้โดยง่าย

ด้วยความเชื่อถือ หรืเคารพนับถือผู้พูดเหล่านั้น

ดังนั้นการพัฒนาความเข้าใจจึงต้องประกอบด้วย ความตั้งใจ และความรู้ที่มี ที่นำไปสู่การพัฒนาความรู้ ความสามารถ แะความเข้าใจ

และพื้นฐานดังกล่าว ยังต้องมาจากการพัฒนาความสามารถในการใช้ความรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอีกด้วย

ดังนั้นงานพัฒนาทั้งหลายที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ จึงต้องมีทั้ง

  • ความจริงใจ
  • ความเข้าใจ
    • ความตั้งใจในการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการทำความเข้าใจ และ
    • ใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งถูกชุด ครบชุด และครบถ้วน
    • ที่ยังต้องใช้หลักวิเคราะห์ที่ถูกต้องเหมาะสมอีกด้วย

จึงจะทำให้งานพัฒนาต่างๆ บรรลุล่วงไปด้วยดี

ผมเข้าใจอย่างนี้ และจะลองเสนอเป็นแผนการปฏิบัติ และแผนการติดตามประเมินผลการทำงานครับ

 

หมายเลขบันทึก: 428762เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท