การบ่มเพาะความรู้ เพื่อการพัฒนา ที่ถูก(แกล้ง)ลืม


ในกระบวนการทำงาน เรามักตั้งสมมติฐานว่า แค่ปฏิสนธิสมบูรณ์ดีแล้วก็ปล่อยเลย (แบบลูกกบลูกปลา) หรือพอคลอดดีแล้วก็ปล่อยเลย (แบบลูกจระเข้) ที่ในความเป็นจริงคนเราไม่ได้พร้อมขนาดนั้น

ในกระบวนถ่ายทอดเพื่อการนำไปสู่การจัดการความรู้นั้น

บุคลากรส่วนใหญ่

มักคาดหวังว่า

ผู้จำเป็นต้องใช้ความรู้ทุกคนที่ได้รับความรู้ไปแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย

แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการความรู้ต่างๆที่ได้รับมา

ไม่ว่าจะเป็น

  • ทรัพยากรพื้นฐาน
  • โครงสร้างพื้นฐาน
  • ความเข้าใจ
  • ความชัดเจน
  • ทักษะ
  • ความถนัด
  • ความมั่นใจ
  • ความกล้า
  • ความมุ่งมั่น และ
  • ความตั้งใจ

ที่เป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นใช้และพัฒนาความรู้ที่ดูว่าน่าจะเหมาะสมดีแล้ว

ยังไม่ต้องไปกล่าวถึงความรู้ที่ยังต้องนำมาปรับใช้ ที่ต้อง

  • ทดสอบ
  • ปรับเปลี่ยน
  • ลองใช้
  • ทำไปปรับไป
  • ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม
  • พัฒนาทักษะให้สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน
  • พัฒนาทรัพยากรพื้นฐานให้สามารถรองรับชุดความรู้ใหม่

ที่คาดว่าอาจต้องการ “พี่เลี้ยง” และ “กำลังใจ” คอยดูแล จนกว่าทั้งทักษะและจิตใจจะกล้าแข็งพอ

เฉกเช่นเดียวกับการเจริญของเด็กในครรภ์มารดา ที่ต้องอยู่ในสภาพที่ดี แม้คลอดมาแล้วก็ยังต้องประคบประหงมดูแลมาโดยลำดับ จนกว่าจะเติบใหญ่ หากินได้ด้วยตนเอง

แต่..

ในกระบวนการทำงาน เรามักตั้งสมมติฐานว่า แค่ปฏิสนธิสมบูรณ์ดีแล้วก็ปล่อยเลย (แบบลูกกบลูกปลา) หรือพอคลอดดีแล้วก็ปล่อยเลย (แบบลูกจระเข้) ที่ในความเป็นจริงคนเราไม่ได้พร้อมขนาดนั้น

จึงน่าจะกลับมาทบทวนว่าเราควรจะต้องประคับประคองให้แต่ละคนผ่าน

  • วิกฤติทางความคิด
  • วิกฤติทางทักษะ
  • วิกฤติทางเศรษฐกิจ
  • วิกฤติทางทรัพยากร และ
  • วิกฤติทางสังคม

ไปได้หรือยัง

ที่คาดว่าแต่ละคนคงจะพร้อมไม่เท่ากัน

แต่ก็ต้องระวัง....

  • ที่จะไม่ไปโอบอุ้มจนอ่อนแอ ไม่คิดจะหากิน หรือหากินเองไม่เป็น
  • คอยแต่อ้าปากขอแบบลูกนก

หรือ.....

  • สนับสนุนไปในจุดที่ทำเพียงเพื่อตัวเอง
  • กอดผลประโยชน์ไว้เพียงครอบครัวเดียว หรือกลุ่มเดียว 
  • ไม่คิด ไม่ยอมขยายผล หรือขยายผลไม่ได้

ที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อนในการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองให้อยู่รอด และเจริญก้าวหน้าในโลกแห่งการแข่งขันในปัจจุบัน

ประเด็นนี้ได้กลายเป็นขีดจำกัดที่สำคัญมากในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรในทุกระดับ

ไม่เว้นแม้แต่เครือข่ายปราชญ์ที่มีกลุ่มเริ่มต้นใหม่เปรยๆมากับผมว่า

  • ขาดการติดตามดูแล
  • ขาดกำลังใจ
  • ขาดการสนับสนุน ทั้ง
    • ความรู้ที่ต่อเนื่อง
    • ความรู้ที่จำเป็น และ
    • ปัจจัยที่เป็นปัจจัยวิกฤติของการพัฒนา

ทำให้การขยายผลการทำงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า วิ่งกลับไปกลับมา หรือวกวนอยู่ที่เดิม

มีการขยายผล และฝึกอบรมกันมากมาย แต่ผลที่ได้แตกต่างจากราคาคุยมากมาย

ที่คาดว่าจะเป็นข้อเสนอในแนวทางการปรับเปลี่ยนแผนและนโยบายเพื่อการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และเกษตรยั่งยืนในทุกรูปแบบ

เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นจริงต่อไป

  

หมายเลขบันทึก: 428155เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

            กระผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เต็มๆเลยครับผม เราฝ่าตรงนี้ไม่ได้กันส่วนมาก มันจึงมีแต่รูปถ่าย ที่หลังฉากและความเป็นจริง ไม่สวยงามเท่าที่ปรากฎในสื่ิอที่ออกมา สงสัยเราคงชอบโลกแห่งมายา มั้งครับ อิอิ

   ด้วยความเคารพครับผม

           นิสิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท