การบริหารคุณภาพทั่วทุกด้านทั้งองค์การ TQM


ความเป็นมาของระบบการบริหารคุณภาพ TQM

             Dr.Deming และ Dr.Juran  ได้เข้ามาสอนถึงหลักการพัฒนาคุณภาพให้ญี่ปุ่นในช่วง ค.ศ.1950 - 1955

ญี่ปุ่นได้พัฒนาแนวคิดและหลักการของ Dr.Deming และ Dr.Juran ขึ้นมาเป็นกลุ่มกิจกรรมคุณภาพ (QCC) และใช้อย่างแพร่หลายในปี 1960 เป็นต้นมา

ต่อมาในปี ค.ศ.1965  ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การที่เรียกว่า Company Wide Quality Control - CWQC ขึ้นมาใช้

10 ปีต่อมา ญี่ปุ่นมีความสามารถในการเพิ่มผลผลิตเหนือกว่าสหรัฐ ฯ เป็นเวลา 20 ปี (ค.ศ.1970-1990) และเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับ 1 ของโลกในช่วงทศวรรษ 1980 -1990 

นอกจากกลุ่มกิจกรรมคิว ซี แล้ว ลัทธิไคเซ็นที่พัฒนาขึ้นมา จากคำสอนของ Dr.Deming ที่ว่าให้มีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวงจรไม่มีการหยุดนิ่งยังถูกปลูกฝังให้คนญี่ปุ่น 

ญี่ปุ่นได้นำแนวคิดของ Dr. Deming& Dr.Juran มาพัฒนาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานของตนจนทำให้สามารถพัฒนาประเทศให้มีขีดความสามารถสูงสุดของโลก

ชาวอเมริกันสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ญี่ปุ่นสามารถบริหารงานและพัฒนาอุตสาหกรรมจนก้าวล้ำหน้าสหรัฐได้  ทั้ง ๆ ที่

   - คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทำงานหนักกว่าคนอเมริกัน

   - เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีของญี่ปุ่นก็ไม่ได้เหนือกว่าสหรัฐฯ เลย

ในปี 1980 Dr.Deming ได้รับเชิญให้มาพูดในรายการทีวีที่ชื่อว่า “If Japan Can, Why Can’t We” Dr.Deming มีความเห็นว่า   สาเหตุที่สหรัฐฯ แพ้ญี่ปุ่น เพราะความบกพร่องของระบบบริหารของสหรัฐฯ ที่ยังเป็นการบริหารแบบตะวันตก  และเน้นหลักลำดับขั้น การออกคำสั่งและครอบงำความคิดของลูกน้อง

ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้วิธีการระดมสมองจากพนักงานทุกคน  เน้นการทำงานเป็นทีม (Team Work)  โดยยึดความพึงพอใจของลูกค้าเป็นเป้าหมาย

            หลังจากนั้นการบริหารคุณภาพจึงถูกจุดประกายขึ้นมาทั้งในองค์การภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

ในปี 1981  ประธานาธิบดีโรนัล  รีแกน ได้กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ในวันสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งว่า “รัฐบาลเองคือปัญหา” (Government is the problem)  เป็นการเตือนให้ภาครัฐต้องปฏิรูป

             ในปี 1983 ประธานาธิบดีรีแกนได้กล่าวในที่ประชุมที่ทำเนียบขาวว่า “ความสามารถในการเพิ่มผลผลิต (Productivity) คือความท้าทายความเจริญก้าวหน้า และขีดความสามารถในการแข่งขัน ของสหรัฐอเมริกาในอนาคต”

               สาเหตุที่สหรัฐสู้ญี่ปุ่นไม่ได้เพราะความถดถอยของการเพิ่มผลผลิต ที่เกิดจากระบบการบริหารที่ล้าสมัย  วิสัยทัศน์สั้น    เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ   ดงนั้นการเพิ่มผลผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

Productivity หรือ ผลิตภาพการผลิต คืออะไร ?

            ผลิตภาพการผลิตหมายถึง  อัตราส่วนระหว่างผลผลิตที่ได้รับกับปริมาณทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการทำงานนั้น

                ผลิตภาพการผลิต                          ผลผลิต(ผลงาน)ที่ได้รับ

                (Productivity)             =               ปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป

                                                                  ( แรงงาน เวลา วัตถุดิบ เงิน )

            การวัดผลิตภาพการผลิตเป็นประจำอย่างเหมาะสมจะทำให้มองเห็นจุดบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขได้อย่างดี

การเพิ่มผลิตภาพการผลิต  หมายถึง  จำนวนผลผลิตหรือผลงานที่เพิ่มขึ้น ภายใต้การใช้แรงงาน และทรัพยากรบริหารอื่น ๆ เท่าเดิม

           การเพิ่มผลิต ภาพการทำงานจึงเป็นเรื่องของการหาวิธีการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นโดย         

       1.  แสวงหาวิธีการทำงานให้ได้มากขึ้นภายใต้การใช้ทรัพยากรเท่าเดิม หรือ

       2.  ทำอย่างไรจึงทำให้ได้งานเท่าเดิม แต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง

       การเพิ่มผลิตภาพการผลิต จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์การและขึ้นอยู่กับคุณภาพของแรงงานเป็นสำคัญ     การเพิ่มผลิตภาพการผลิต เป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานอย่างฉลาดมากขึ้น ไม่ใช่ทำงานหนักขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 428132เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • น่าสนใจมาก
  • Deming ได้นำเสนอ PDCA ในการบริหารใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท