ความเสมอภาคในพุทธศาสนา


                            ความเสมอภาคในพุทธศาสนา

       ตอนนี้เห็นข่าวสารมากมาย  ไม่ว่าจะประเทศใดต่างก็เรียกร้องความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค  เพราะพวกเขารู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามและกดขี่มาเนิ่นนาน  โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ย่อมต้องมีความต้องการความเป็นอิสระ เท่าเทียมเสมอภาคกัน  แต่เมื่อเห็นใครต่อใครก็เรียกหาความเสมอภาค  ก็จึงทำให้คิดว่า "ความเสมอภาคมีอยู่จริงหรือ"

       ความเสมอภาค  คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับ หรือการใช้การบริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระเบียบเดียวกัน  ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐ ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งได้

       เมื่อคำนิยามความหมายว่าความเสมอภาคดังนี้ เราก็ลองหันมามองดูว่าประชาชนเราได้รับสิทธิในการได้รับบริการดุจเดียวกันหรือไม่  เราก็เห็นได้ชัดว่าในสังคมตามเป็นจริงในปัจจุบันยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่มาก คนมีฐานะหน้าตาในสังคมได้รับการปฏิบัติอีกประเภทหนึ่ง คนยากคนจนตาสีตาสาก็ได้รับการปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง จึงไม่แปลกที่จะมีใครเรียกร้องสิทธิเสมอภาคอย่างทุกวันนี้

       ด้านความเสมอภาคในพระพุทธศาสนานั้นจะเห็นได้ชัดเจน เช่น การคัดค้านเรื่อง “วรรณะ” ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งแบ่งมนุษย์ในสังคมออกเป็น 4 ชนชั้นตามกำเนิด โดยแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร แต่ละวรรณะต้องแต่งงานกันเองภายในวรรณะของตนเท่านั้น การแต่งงานข้ามวรรณะจะไม่ได้รับการยอมรับ ลูกที่ออกมาจะเป็นพวกนอกวรรณะที่เรียกว่า “จัณฑาล หรือ หริชน” ซึ่งในสังคมของชมพูทวีปจะรังเกียจพวกจัณฑาลมาก ถือว่าเป็นตัวกาลกิณี หากพวกจัณฑาลเดินผ่านหน้าบ้านจะต้องนำนมโคมาล้างพื้นเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร แต่พระพุทธศาสนามิได้แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะมาจากวรรณะใดก็สามารถปฏิญาณตนเป็นพุทธมามะกะ และสามารถบวชในพระบวรพระพุทธศาสนาได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ พบว่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน (ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู) มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่ประมาณ 10 ล้านคน ชาวพุทธในอินเดียที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุคปัจจุบันก็คือ ดร.บาบา สาเหบ อัมเบดการ์ (B.R. Ambedkar) ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งประกาศตนเป็นพุทธมามะกะเมื่อปี 2499 พร้อมชาวอินเดียกว่า 300,000 คน ที่เมืองนาคปุระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในวรรณะศูทรและจัณฑาล ที่ต้องการหลีกหนีจากระบบวรรณะซึ่งยังฝังรากลึกอยู่ในค่านิยมของชาวฮินดู นับเป็นจุดเปลี่ยนอันทำให้พระพุทธศาสนาที่สูญสิ้นจากอินเดียไปกว่าพันปี ได้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยพระธรรมที่ยึดหลักความเสมอภาคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

       

กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก

กิจฉัง มัจจานะชีวิตัง การดำรงชีวิตอยู่นั้นแสนยาก

กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง การได้ฟังพระสัทธรรมนั้นแสนยา

กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นแสนยาก

(ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

คำสำคัญ (Tags): #ความเสมอภาค
หมายเลขบันทึก: 427669เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเยี่ยมท่านมหาครับ เงียบไปนานเลยนะ สบายดีนะครับ หนาวมากไหมปีนี้ที่เชียงใหม่

กราบนมัสการครับพระอาจารย์พอดีที่ผ่านมางานยุ่งมากๆ ครับเลยไม่ค่อยมีเวลาเข้ามานะครับ ขอบพระคุณนะครับที่แวะมาเยี่ยมครับ  ตอนนี้ที่เชียงใหม่เช้า ๆ ยังหนาวอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท