การบริหารเงินคืน 1% ของกลุ่ม เพื่ออนาคต


การบริหารเงินคืน 1%  ของกลุ่ม  เพื่ออนาคต

เงินคืน 1% ของโครงการพัฒนาชีวิตครู(ไม่ควรนำมาเป็นเงินเฉลี่ยคืน) ที่เกิดจากความร่วมมือสามฝ่ายจาก กระทรวงศึกษาธิการ  กลุ่มครูที่เป็นสมาชิกของโครงการ  และธนาคารออมสิน เป็นข้อตกลงที่ใช้สร้างเงื่อนไขให้ครูมีวินัยทางการเงินและเข้ามารวมกลุ่มกันด้วยกระบวนการพัฒนา ใช้เงินสัจจะเป็นจุดร่วม  ส่วนการยื่นขอรับความช่วยเหลือ (กู้เงินมาใช้หนี้)เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ครูทุกคนต้องการได้รับอย่างรวดเร็ว โดยต้องมีการพัฒนางานในหน้าที่ สร้างวินัยทางการเงิน ดูแลครอบครัวและอนาคต ควบคู่ไปกับการบริหารเงินและหน้สินที่ค้างชำระ

หลายกลุ่มมีปัญหา  เข้าไปบอกเล่าใน blogTodsapol ต้องขอเสนอแนะ ดังนั้น  ๑. ความจริงใจของสมาชิก ครู ที่เข้ามารวมกลุ่มกัน สำคัญที่สุด

(เอ๋ย  ... ไปช่วยเขาทำไม  ขนาดญาติๆเข้ายังไม่ช่วยเลย...  โธ่เอย..ครูก็คน ..มันก็มีความโลภน๊ะ....อย่าเอาตัวเข้าไปยุ่งเลยเรื่องเงินเดี๋ยวจะเดือดร้อน.... ช่วยเขาได้ก็ดีในวัน้นที่เขาจะได้เงิน  มาหาเราทุกวัน  แต่เมื่อได้รับแล้วบ้างก็ลืมมึงแล้วละ  ..บ้างก็คิดหวาดระเวงตึงมึงอีก... ????  สารพัดตำเตือนจากมิตร พี่ และผู้ใหญ่  แล้วครูที่เขาดี ๆ พลาดโอกาสล่ะ ...  )

๒. ประธานกลุ่ม  และคณะกรรมการกลุ่มต้องร่วมกันแก้ปัญหานี้ด้วยการส่งเงินสัจจะที่ค้างชำระให้เป็นปัจจุบัน  และคิดกิจกรรมที่ส่งผลต่องานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

ของกลุ่มผมที่ทำอยู่เพื่อความมั่นคง  

1. ใช้การกันเงินคืนหนึ่ง%ที่ได้แต่ละปี  หักเป็นเงินฝากสัจจะรายคนรายปีไว้ครบจำนวนเปิดเป็นบัญชีสำรองไว้เพื่อการฝากโอนเป็นรายเดือน  ไม่ต้องไปตามเก็บกันทุกเดือน

2. หักไว้เป็นเงินประกันความเสี่ยง 40 % (เพราะวันข้างหน้า  ใจคนคาดเดาไม่ได้ ว่าจะเชื่อใจได้มากเพียงไร)

3. หักไว้ 20 %  เป็นค่าดำเนินการของคณะกรรมการ  เลขา ประธาน ฯ

4. และ 40 % นำมาทำกิจกรรมร่วมกัน (ผมทำโครงการพัฒนาชีวิตครูสู่การปฏิรูปการศึกษา  เป็นโครงการต่อเนื่องและปรับกิจกรรมตามบริบท)

     ประธานกลุ่มและ/หรือตัวแทนที่สามารถประสานกับธนาคารได้นั้น  เป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด คือ  ต้องเสียสละ  รู้ข้อมูลของสมาชิกทุกคน  โปร่งใส และเป็นกัลญานมิตร

เมื่อใดที่ภถายในกลุ่มเริ่มมีความมั่นมั่นคง  ก็จงพิจารณาไปที่ "ผลประโยชน์"   เงินย่อมไม่เข้าใครออกใคร  และต้องระวังคนใกล้ตัวที่อาจเกิดมิจฉาทิฐิ  สร้างปัญหาให้ส่วนรวมเพราะความโลภและความไม่เข้าใจ  หรืออาจจะคิดโค่นอำนาจถ้าบริหารให้มีเงินเข้ามาเยอะๆ

ความดีที่ครูได้รับการปลดปล่อย  ของบูชาครู ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ครู เกษม  กลั่นยิ่ง  และครูอำนาจ  สุนทรธรรม   ที่จะลืมเสียไม่ได้คือ  ธนาคารออมสิน  และผู้บังคับบัญชาทุกระดับที่เห็นความสำคัญของโครงการพัฒนาชีวิตครู (ประเทศไทย)

หมายเลขบันทึก: 426883เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท