EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

พูมิช-ซัลเฟอร์ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำยางพาราจริงหรือ


พูมิชซัลเฟอร์ประกอบด้วย แร่พัมมิช 50 % ซัลเฟต (กำมะถัน) 7 % แคลเซียมคาร์บอเนต 12 % ฟอสฟอริก แอซิค 0.20 % แมกนีเซียมคาร์บอเนต 0.01 % เหล็ก 0.01 % สังกะสี 0.005 % และวัตถุปุ๋ย

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่น้อยซึ่งอาจกล่าวได้ว่าติด 1ใน 5อันดับต้นๆ พืชเศรษฐกิจของประเทศและเอเซียอาคเนย์  ซึ่งปลูกมากในแถบภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรตลอดถึงนราธิวาส ต่อมาได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคต่างๆ หันมาปลูกเพิ่มมากขึ้น อย่างภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น การที่เกษตรกรปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักประจำบ้านนั้นๆ สิ่งที่จำเป็นมากเป็นอันดับแรกคือต้องการปริมาณ เปอร์เซ็นต์ของน้ำยาง สำหรับราคาจะถูกควบคุมโดยกระดานน้ำมันในตลาดโลก (สำหรับประเทศไทยอิงตลาดกลางสิงคโปร์) สิ่งเดียวที่กระทำได้คือการลดต้นทุนการผลิต ตัวอย่างเช่นส่งเสริมผลักดันให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์มาผสมเป็นปุ๋ยละลายช้า ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย ระบาย อุ้มน้ำได้ดี ปรับค่า pH ของดิน เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมให้แก่ต้นยางพาราโดยไม่ต้องหาซื้อมาเติมทีหลังเมื่อสายไป ที่สำคัญพูมิชซัลเฟอร์มีส่วนผสมที่เป็นซิลิก้า (ซิลิซิค แอซิด)ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ต้นยางพาราลดการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพืชและสามารถดูดซับตรึงธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน แอมโมเนีย ให้เป็นปุ๋ยละลายช้า รวมถึงสารพิษต่างๆ ที่มีผลโดยตรงแก่พืชได้อีกด้วย

เหตุผลที่แนะนำให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ในสวนยางพารา  

เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์เป็นหินแร่ภูเขาไฟ มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมหรือดินตายให้มีชีวิตชีวาเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลดปล่อย เคลื่อนย้าย เพิ่มธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ให้ต้นพืชได้อย่างสมดุล พูมิชซัลเฟอร์ประกอบด้วย แร่พัมมิช 50 %  ซัลเฟต (กำมะถัน) 7 % แคลเซียมคาร์บอเนต 12 % ฟอสฟอริก แอซิค 0.20 % แมกนีเซียมคาร์บอเนต 0.01 % เหล็ก 0.01 % สังกะสี 0.005 % และวัตถุปุ๋ย ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารต่างๆ ต่อไปนี้

  • ซิลิซิค แอซิค ( H4SiO4)  : ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการเข้าทำลายของแมลง ไร รา ศัตรูโรค  * หากกรณีใส่ทางดิน ช่วยเพิ่มซิลิก้าในดิน ตรึงสารพิษไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช และช่วยอุ้มน้ำป้องกันดินแห้ง
  • แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ) : ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด  ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม  ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ  ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ  เช่น  กรดออกซาลิก  ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen) ส่งเสริมการเกิดปมที่รากในพืชตระกูลถั่ว
  • แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3 ) : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เช่น Carboxylase  ช่วยสร้างเม็ดสี (pigments)  และสารสีเขียว  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช  ร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน   ในการดูดฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช
  • ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในการสังเคราะห์แสง  สร้างแป้งและน้ำตาล  ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค  ช่วยให้พืชแก่เร็ว  ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด  และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น
  • ซัลเฟต (So42- ): ช่วยการเจริญเติบโตของราก  เป็นส่วนประกอบของสารประกอบหลายชนิดเช่น วิตามินบี 1 และ บี 3 กรดอะมิโน Cystine สารระเหยซึ่งให้กลิ่นเฉพาะตัวในพืช เช่น หอม กะหล่ำปลี มัสตาร์ด ช่วยสร้าง คลอโรฟีลล์และช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง  เพิ่มไขมันในพืชและควบคุมการทำงานของแคลเซียม
  • เหล็ก  (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟีลล์  และของ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ  ช่วยสร้างโปรตีนส่งเสริมให้เกิดปมที่รากถั่วและช่วยดูดธาตุอาหารอื่น
  • สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน  คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์หลายชนิดเช่น Carbonic anhydrase Alcoholic dehydrogenase เป็นต้น ช่วยให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติมีส่วนการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและมีผลต่อการแก่และการสุดของพืช

และข้อดีที่กล่าวนี้ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจถามหานำไปใช้เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ปรับค่า pH ในดิน ช่วยสร้างเพิ่มจุลินทรีย์ในดินพร้อมๆ กับเพิ่มธาตุอาหารหลักอย่าง N P K  ที่ใส่เป็นปกติอยู่แล้ว หากจำแนกข้อดี -ข้อเสียของการนำพูมิชซัลเฟอร์มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ย ปุ๋ยสูตรหรือปุ๋ยอินทรีย์

ข้อดี 

-         ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี

-         ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง

-         สามารถสร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย

-         ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์

ข้อเสีย

-         การจัดการมากขึ้น คือต้องนำพูมิชซัลเฟอร์มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ย ปุ๋ยสูตร อัตรา 1 : 1 ส่วน หรือปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 : 2 ส่วน

นอกเหนือจากคุณสมบัติของธาตุอาหารแล้วพูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย ซึมผ่านน้ำง่าย ระบายน้ำได้ดี แก้ดินเหนียวจัด แห้งแน่นแข็ง ไล่เกลือออกจากเนื้อดิน เพิ่มออกซิเจนในดิน พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหาผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ได้ที่คุณเอกรินทร์  ช่วยชู โทร. 081-3983128

หมายเลขบันทึก: 426832เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท