รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

วันมาฆบูชา วันอัศจรรย์ทางพระพุทธศาสนา


Wallpaper : ดอกไม้ที่สวน

วันสำคัญทางศาสนาถือเป็นอีกวันหนึ่งที่ทุกคนในครอบครัว

ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน  ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันเพื่อสร้าง

ความสุขและความอบอุ่นในครอบครัว 

รวมทั้ง   นำหลักธรรมมาเป็นแนวทางปฏิบัติโดยการนำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล 

การทำบุญใส่บาตร   ในตอนเช้า  ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรมและฟังพระธรรมเทศ

ในตอนเย็นพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัด 

วันมาฆบูชา หมายถึงการบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)

นับเป็นวันพิเศษที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะในวันนี้นอกจากเป็น

วันเพ็ญเดือนมาฆะแล้วยังเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ ซึ่งประกอบด้วยความพิเศษ ๔ ประการ

ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต"นั่นคือ 

เป็นวันที่ พระสงฆ์  จำนวน  ๑,๒๕๐  รูป  มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกัน   โดยมิได้

นัดหมาย  พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ  คือ ได้รับการอุปสมบทจาก

พระพุทธเจ้า  และล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖  จึงเป็นการเกิดเหตุการณ์

อัศจรรย์เป็นครั้งแรกและเป็นเพียงครั้งเดียวในสมัยพุทธกาลเมื่อพระองค์

ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่และทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันกรุงราชคฤห์ ก่อนเข้าพรรษาที่ ๒ 

 (หลังจากตรัสรู้ ๙  เดือน)

ด้วยเหตุนี้  พระพุทธเจ้าจึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะแสดงโอวาทปาติโมกข์ 

อันเป็นการประกาศหลักการ  อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนา

ให้นำไปใช้ได้ในทุกสังคม  ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปคือ  ให้ละความชั่วทุกชนิด

ทำความดีให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส  ซึ่งหลักธรรม   คำสอนดังกล่าวจะเรียกว่า

เป็นธรรมนูญแห่งพุทธศาสนา หรือหัวใจของพุทธศาสนาก็ได้ 

ดังนั้น  โอวาทปาติโมกข์   จึงชี้ชัดถึงความเป็นสมณะและบรรพชิตในพระพุทธศาสนาที่

แตกต่างจากศาสนาอื่นอันเป็นรากฐานที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน 

   สำหรับในประเทศไทยนั้นพิธีบูชาเนื่องในวันมาฆบูชาเริ่มมี เป็นครั้งแรก

ในรัชสมัยของพร ะบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔ 

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์ทรงปรารภถึงความสำคัญของวันมาฆบูชาว่า   

 มีเหตุการณ์สำคัญ ๔ ประการ ที่เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต เกิดขึ้นในวันมาฆบูชาจึงเห็น

สมควรที่พุทธศาสนิกชน   จะได้ทำการบูชาเพื่อระลึกถึงความสำคัญของวันดังกล่าว

    โดยโปรดให้มีการประกอบพระราชกุศลในเวลาเช้าด้วยการนิมนต์พระสงฆ์เจริญ

พระพุทธมนต์  และฉันภัตตาหาร   ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

ในเวลาค่ำพระองค์จะเสด็จออกฟังพระสงฆ์ทำวัตรเย็น  สวดโอวาทปาติโมกข์

และทรงจุดเทียนเรียงรายตามราวรอบพระอุโบสถ  จำนวน ๑,๒๕๐  เล่ม 

พระภิกษุเทศนาโอวาทปาติโมกข์ พระสงฆ์จำนวน ๓ รูป สวดมนต์รับเทศนา เป็นเสร็จพิธี
 
   ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม-เกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕ 

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระองค์ทรงนำพิธีบูชาเนื่องในวันมาฆบูชาไปประกอบใน

สถานที่อื่น ๆ  นอกพระบรมมหาราชวัง ในคราวเสด็จประพาสต้น    เช่น  บางปะอิน

พระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง  เป็นต้น 

ประชาชนได้นำเอาพิธีบูชาเนื่องในวันมาฆบูชาไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง

และสืบมาจนถึงปัจจุบัน  แนวทางที่พึงปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนเนื่องในวันมาฆบูชา

  

 
     ๑.  ให้ทาน  ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรในช่วงเช้าหรือเพล  บริจาค

ทรัพย์ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ยากไรและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    ๒.  รักษาศีล  สำรวมระวังกายและวาจาด้วยการรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ พร้อมทั้ง

บำเพ็ญเบญจธรรมสนับสนุน 

   ๓.  เจริญภาวนา บำเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์และปฏิบัติธรรม

และวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน  ๔    

    เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชาแล้ว   

ก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักธรรม  เกิดความศรัทธาและ

รู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดีได้อย่าง  

ถูกต้องและมีความสุขตลอดไป

 
อ้างอิง : วารสารวัฒนธรรมไทย ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ หน้า ๑๒-๑๓  

หมายเลขบันทึก: 426805เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2011 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

พี่คิมเตรียมตัวไปทำบุญวันพรุ่งนี้แล้วค่ะ  หลังจากทำบุญก็จะปฏิบัติธรรมกับแม่ขาวที่วัดสักพักหนึ่งค่ะ ตอนบ่ายมีแขกจากโกทูโนว์ค่ะ

อนุโมทนาสำหรับสิ่งดีๆ ที่นำมาเสนอให้พวกเราได้สัมผัสและอ่าน  ขอฝากเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมด้วย "มาฆบูชา: รักแท้นั้นไซร้อยู่ใกล้แค่ใจเรา" ใน http://gotoknow.org/blog/true-love/426710

สวัสดีค่ะครูนายIco48

  • ภาพงดงามมากค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะที่นำมาฝากกันในวันสำคัญเช่นนี้
  • มีความสุขมาก ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะพี่คิมIco48

  • พี่คิมคะ ครูตาลตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อทำอาหาร เตรียมตักบาตร และไปทำบุญที่วัดเช่นกันค่ะ
  • อนุโมทนาบุญกับพี่คิมด้วยนะคะ ขอให้มีความสุขกับการทำบุญและปฏิบัติธรรมนะคะ

สวัสดีค่ะแม่แอ้มกับแม่กุ้งIco48

  • ครูอิงคิดไม่ออกเลยอ่ะค่ะ ว่าเม้นท์ว่าอย่างไร
  • แวะเข้าไปค้นหาในบันทึกของน้องแล้ว ไม่เจอค่ะ
  • หรือว่าน้องลบไปแล้ว
  • ถ้ายังไง ก็ขออภัยนะคะ ที่คอมเม้นท์ไม่ถูกใจ หรือไม่ตรงประเด็น
  • ขอดูหน่อยได้มั้ยคะว่า พี่ครูอิงเม้นท์ว่าอย่างไร จะได้อธิบายได้ถูกต้อง
  • ขอบพระคุณน้องมากนะคะ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน และบอกกล่าวให้ทราบ
  • ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อิงจันทร์

  ร่วมทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส ในวันมาฆะบูชาค่ะ

  ขอบคุณสาระดีๆที่นำมาฝากค่ะ

                

 

 

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะIco48

  • ขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่แวะมาทักทาย
  • และฝากลิงค์ไว้  ด้วยความยินดี และ อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

ไหว้พระ ตั้งจิต ถือมั่น ทำดีในวันนี้ และทุกๆวันครับ

สวัสดีค่ะน้องอุ้มIco48

  • อิ่มบุญอิ่มใจในวันมาฆบูชานะคะ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ

ครับ เข้ามาเยี่ยมชม มีความรู้มากมาย ขอบคุณคับ

  • สวัสดีครับพี่อิง
  • มาเยี่ยมทีไรได้ความรู้กลับไปทุกที ทั้งเพลงก็เพราะ ความหมายดีครับ
  • ตอนเช้าพาครอบครัวไปใส่บาตร ผู้คนมากมาย น่าชื่นใจที่คนในมหาลัย สนใจใส่บาตรทำบุญกันล้นหลาม
  • มาบอกพี่อิงด้วยว่าผมเขียนบันทึกใหม่ เนื่องในวันมาฆบูชาด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณIco48Peter p

  • ค่ะ  ขอบพระคุณที่แวะมาทักทายกัน
  • ขอให้มีความสุข อิ่มบุญอิ่มใจ ในวันมาฆบูชานะคะ

สวัสดีค่ะคุณประทีปIco48

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาทักทาย
  • มีความสุขเสมอ ๆ ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์นะคะ

สวัสดีค่ะแม่แอ้มIco48

  • แวะไปอธิบายไว้แล้วที่บันทึกของแม่แอ้มนะคะ
  • หวังว่าคงสบายใจ และมีความสุขกับครอบครัวที่อบอุ่น
  • อิ่มบุญ อิ่มใจ กับการทำบุญ  อนุโมทนาด้วยนะคะ

   คุณครูแต่ก่อนพระพุทธศาสนาของเรานั้นตอนก่อนหน้านี้ที่จะมีวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุ ๖๐ รูปว่า เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประกาศพรหมจรรย์ฯ แต่ก่อนใช้คำว่าพรหมจรรย์ พอหลังจากที่ตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน เมื่อพระมากันมากๆ พระพุทธเจ้าก็เลยถือเอาโอกาสนี้ แสดงหลักคำสอนที่เป็นหัวใจศาสนา เรียกกันว่า โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นคำตรัสในรูปคาถา สามคาถาครึ่ง คาถาคือรูปแบบแห่งคำประพันธ์ในภาษาบาลี เป็นคำที่กลั่นกรองมาดีแล้ว เพราะฉะนั้นคาถาพุทธพจน์จึงเป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์พร้อมทั้งอรรถ(ความหมาย) พยัญชนะ(ตัวหนังสือ)

     คาถาก็คล้ายกลอนแปดบ้านเรา คาถาหนึ่งมี่สี่บาท ๘ พยางค์เป็น ๑ บาท ๔ บาทเป็น ๑ คาถา มีวิธีกำหนดอยู่ นับเรื่อยไป จนเป็นภาณวาร สุดท้ายเป็นขันธ์ ดังที่เราได้ยิน แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ที่จริงก็ย่นย่อลงในโอวาทปาฏิโมกนี้แล

   และบาทสุดท้ายที่ตรัสในโอวาทปาฏิโมกข์ มีคำนึงว่า "เอตํ พุทฺธานสาสนํ" แปลว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ผู้รู้ทั้งหลาย)  คำว่า "พุทธานสาสนํ" นี่แล จึงกลายมาเป็นชื่อเรียกว่า พระพุทธศาสนา ในที่สุด

     กล่าวถึงพระอรหันตขีณาสพ ๑,๒๕๐ รูปนั้น ถ้าจะมองในเรื่องราวเหตุที่พอจะเป็นไปได้ ท่านเหล่านั้นความจริงเคยเป็นนักบวชนอกพุทธศาสนามาก่อน ธรรมเนียมของนักบวชเหล่านั้น (วันธรรมสวนะ เราก็เอาเยี่ยงอย่างนักบวชที่มีอยู่ก่อน มาเป็นแบบ) เมื่อถึงวันเพ็ญ เขาจะมาประชุมกันสาธยายหลักคำสอน หรือประชุมกันบูชายัญ หรือทำพิธีกรรมบางอย่างของแต่ละลัทธิ เมื่อถึงวันมาฆะ ก็เลยมารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า นี่พูดถึงเรื่องเหตุผล ความจริงพระที่มาในตอนนั้น มีมากกว่า ๑,๒๕๐ รูป แต่จำนวนหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป เป็นจำนวนเต็ม ง่ายต่อการจดจำท่านพระอรรถกถาจารย์จึงบอกไว้เช่นนั้น ในท้องเรื่องธรรมบทมีปรากฏลักษณะนี้เป็นพื้น เช่นว่านิมนต์ พระสงฆ์มีประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ไปฉันในวันพรุ่ง

......มาเยี่ยมคุณครูแต่เขียนมากไปหน่อย ตามนิสัยชอบพูดชอบจา ขอให้คุณครูมีสุขภาพแข็งแรงนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท